ฝ่ายทะเบียน
การขอเลขหมายประจำบ้าน
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง ( ถ้ามี )
3. หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน ( ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2)
4. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งรื้อบ้าน
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งเกิด
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง ,บิดา ,มารดา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้า
3. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งตาย
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี) กรณีตายในท้องที่และใบชันสูตรพลิกศพจากโรงพยาบาล
3. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
4. บันทึกประจำวันแจ้งความคนตาย (กรณีไม่มีหลักฐานรับรองการตาย)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การขอตรวจคัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3. บัตรประจำตัวทนายความหรือใบอนุญาตเป็นทนายความ (กรณียื่นขอในฐานะทนายความ)
4. กรณีขอคัดของบุคคลอื่น ต้องมีหนังสือมอบหมายจากบุคคลที่จะขอคัดนั้น พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะขอคัดและลายเซ็นต์รับรอง
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งย้ายเข้า
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่
3. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4. กรณีเจ้าบ้านไม่ได้เป็นผู้แจ้งให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมให้เจ้าบ้านเซ็นต์ยินยอมในใบแจ้งย้ายตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งย้ายออก
กรณีย้ายตนเองซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง (ตนเอง)
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งย้ายออก
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งย้ายออกผู้อื่น
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. กรณีผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าบ้านให้นำบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านมาแสดงด้วย พร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การแจ้งย้ายปลายทาง
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า (กรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน
คุณสมบัติของผู้ขอมีบัตรประจำตัว
- มีสัญชาติไทย
- อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- มีชื่อในทะเบียนบ้าน
การขอมีบัตร
กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรก
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- สูติบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย เช่น ใบสุทธิ หนังสือเดินทาง เป็นต้น
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- กรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 1 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
- กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรกโดยมีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ใช้หลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา หากถึงแก่ความตายให้นำใบมรณบัตรของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแสดง
กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- กรณีเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ใช้หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้
- กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดใช้สูติบัตร
- เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
กรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น หรือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทางกรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาที่ต่างประเทศ
- กรณีไม่มีหลักฐานแสดงการเป็นผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร
- หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี)
- เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
หลักฐานที่แสดงว่าพันจากสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือเดินทางและเอกสาร
ที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ หรือหนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
กรณีเป็นบุคคลซึ่งได้รับสัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- กรณีได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติเป็นไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยหรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติไทย
- กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรกโดยมีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ใช้หลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา หากถึงแก่ความตายให้นำมรบัตรของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแสดง
- หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี)
- เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
การขอมีบัตรใหม่
กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
กรณีบัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- หลักฐานทางราชการที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา หนังสือเดินทาง เป็นต้น หากไม่มีให้พาเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลายเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
การขอเปลี่ยนบัตร
กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
กรณีเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วันนับแต่วันที่แก้ไขรายการในทะเบียนบ้านเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
กรณีเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านและบัตรเดิมยังไม่หมดอายุ
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
- หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ฯลฯ
คุณสมบัติผู้ขอมีบัตร
- อายุตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์
- มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ
- บัตรประจำตัวเดิม (กรณีบัตรหมดอายุ ชำรุด หรือขอเปลี่ยนบัตร)
- เอกสารราชการอื่น เช่น ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวใบตอบรับการสำรวจ
ค่าธรรมเนียม : 60 บาท ยกเว้นการทำบัตรครั้งแรกของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุครอบ 5 ปีบริบูรณ์ หรือเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ หรือบัตรเดิมหมดอายุ สูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือวันที่มีการแก้ไขรายการชื่อตัว-ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิดในเอกสารทะเบียนราษฎร
การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐาน
- กรณีดำเนินการด้วยตนเอง ใช้บัตรประจำตัวของเจ้าของรายการบัตร
- กรณีมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
- กรณีผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงขอคัดรายการบัตรของบุคคลอื่น
- บัตรบัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
- เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับรายการบัตร
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 10 บาท
การจดทะเบียนสมรส
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส
3. พยานบุคคล 2 คน (อายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
5. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน
6. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) บิดา – มารดา ต้องมาให้ความยินยอม
การจดทะเบียนหย่า
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า, ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน, ข้อตกลงการหย่า
4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
การจดทะเบียนรับรองบุตร
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร
3. สูติบัตรของบุตร เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล ของบิดา มารดา และบุตร (ถ้ามี)
4. มารดาและบุตรต้องมาลงชื่อให้ความยินยอม
5. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้จดบันทึก
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้จดบันทึก
3. เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกที่เป็นต้นฉบับพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย
รับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสารให้
4. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
5. กรณีบุคคลอื่นดำเนินการแทนให้นำหนังสือมอบหมาย ซึ่งต้องมอบหมายผ่านสถานทูตและบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบหมายมาแสดงด้วย
จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับและบุตรบุญธรรม
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
3. หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจากศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีที่บุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและคู่สมรสของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมพร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับและบุตรบุญธรรม
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอม
พร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน
การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง ต้องมีชื่ออยู่ในเขตคันนายาว
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์
บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา)
4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง
5. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การขอตั้งชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อสกุล
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอตั้งชื่อสกุล (ต้องมีชื่ออยู่ในเขตคันนายาว)
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน(มารดา)
4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีใบสมรสมาแสดง
5. หลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี)
การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบุตร (บุตรต้องมีชื่ออยู่ในเขตคันนายาว)
3. สูติบัตรของบุตร ( ฉบับจริง )
4. ผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน และให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
5. บันทึกการหย่า ( คร .6) เพื่อแสดงว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด ( ถ้ามี )
6. หลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้านาม จาก “ น . ส .” เป็น “ นาง ” ของมารดา กรณีไม่เคยจดทะเบียนสมรส
7. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี )
การร่วมชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอร่วมชื่อสกุล
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอร่วมชื่อสกุล(ต้องมีชื่ออยู่ในเขตคันนายาว)
3. หนังสืออนุญาตให้ใช้ชื่อสกุลร่วมจากเจ้าของชื่อสกุล(ช.6/1)
4. หลักฐานอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล ใบสำคัญการสมรส-หย่า