วิสัยทัศน์  (Vision)

  เขตคันนายาว จะเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามมาตรฐานผังเมือง มีสิ่งแวดล้อม 
คุณภาพชีวิต ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการทีดี มีความปลอดภัย และสร้างความพึงพอใจสูงสุดในการให้บริการ  


เป้าหมาย (goal)
พัฒนาเขตคันนายาว  สู่การเป็นเมืองน่าอยู่ 

พันธกิจ (Mission)
          1. พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้สวยงาม ที่อยู่อาศัยสะอาด ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ดี มีความปลอดภัย
          2. พัฒนาชุมชน ประชาคมเมืองให้เข้มแข็ง
          3. พัฒนาคุณภาพชีวิต ปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรมของสังคม
          4. เสริมสร้างอาชีพ เพื่อยกระดับฐานะครอบครัว
          5. สนับสนุน ส่งเสริม จรรโลงศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิม ภูมิปัญญาและรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
          6. สร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนในการให้บริการ 


คำขวัญประจำเขตคันนายาว
 การเกษตรมากมี              ของดีชุมชน
เที่ยวยลสวนสยาม              สนามกอล์ฟเล่นกีฬา
ศูนย์การค้าขนาดใหญ่         ขับสบายใจถนนวงแหวน   

ประวัติความเป็นมา    

วันที่ 13 ธันวาคม 2515 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 จัดตั้ง "กรุงเทพมหานคร" และกำหนดเปลี่ยนการเรียกขานจาก "อำเภอ" เป็น "เขต" ประกอบด้วย 24 เขต เขตบางกะปิเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 แบ่งพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานครเป็น "เขต" และ "แขวง" มี24 เขตปกครอง เหมือนเดิม "แขวงคันนายาว" เป็นเขตหนึ่งของเขตบางกะปิ ("เขต" เป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร และเรียก "นายอำเภอ" ว่า "หัวหน้าเขต") พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ให้มี "สำนักงานเขต"  เป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร โดยมี "ผู้อำนวยการเขต" เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ

        ภายในสำนักงานเขตปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้เปลี่ยนแปลงเขตปกครอง โดยแบ่งพื้นที่เขตบางกะปิออก เพิ่มเป็นเขตใหม่อีก 2 เขต คือ เขตลาดพร้าว และเขตบึงกุ่ม ทำให้ "แขวงคันนายาว" เป็นแขวงหนึ่งของเขตบึงกุ่มแต่เนื่องด้วยสภาพพื้นที่เขตต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วควบคู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการพัฒนาด้านโครงข่ายคมนาคมขยายตัวออกกว้างไหลเข้าสู่พื้นที่ว่าง มีการกระจายตัวของประชากรและสาธารณูปโภคเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของเขตให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตปกครอง โดยแยกพื้นที่ของ "แขวงคันนายาว" รวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม และพื้นที่บางส่วนของแขวงจรเข้บัว  เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น "เขตคันนายาว" มีพื้นที่จำนวน 28.72 ตารางกิโลเมตร เปิดให้บริการประชาชนเป็นครั้งแรกในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540  ณ  ที่ทำการชั่วคราวชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา โดยให้บริการถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2552
 



ปัจจุบัน สำนักงานเขตคันนายาว ได้ย้ายที่ทำการ ตั้งอยู่เลขที่ 
9 ซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5  แขวงคันนายาว 
เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร  10230 


แขวงคันนายาว
ขนาดพื้นที่ 14,271 ตร.ม. (14.271 ตร.กม. )

แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ         ติดต่อกับ แขวงบางชัน  เขตคลองสามวา
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ แขวงบางชัน เขตคลองสามวาและแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี
ทิศใต้            ติดต่อกับ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ แขวงรามอินทรา  เขตคันนายาว

แนวเขตการปกครองของแขวงคันนายาว 

ทิศเหนือเริ่มจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนน

คู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงตามแนว

คลองคู้บอนฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนว

คลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวคลองกะโหลกฝั่งเหนือ

และแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออกเริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวคลองกะโหลกฝั่งเหนือ  

และแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออก ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางชัน 

ฝั่งตะวันออก  สิ้นสุดที่จุดบรรจบคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ

ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ  สิ้นสุดที่จุดบรรจบ

ระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู้ขนานกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันตกเริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคอลงแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู่ขนาน

ถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนคู่ขนาน

ถนนกาญจนาภิเษก ฟากตะวันตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนน 

คู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ


 
แขวงรามอินทรา
ขนาดพื้นที่  14,449 ตร.ม. (14.449 ตร.กม. )

แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ          ติดต่อกับ แขวงท่าแร้ง  เขตบางเขน
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ แขวงคันนายาว  เขตคันนายาว
ทิศใต้              ติดต่อกับ แขวงสะพานสูง  เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ แขวงคลองกุ่ม และแขวงนวลจันทร์  เขตบึงกุ่ม


แนวเขตการปกครองของแขวงรามอินทรา 

ทิศเหนือเริ่มจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนรามอินทรา

ฟากใต้กับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออก

ตามแนวคลองตาเร่ง ฝั่งเหนือบรรจบกับแนวคลอง     

ลำชะล่าฝั่งตะวันตก ไปทางทิศเหนือตามแนวคลอง

ลำชะล่าฝั่งตะวันตก บรรจบกับแนวคลองหกขุด ( คลองจระเข้บัว ) 

ฝั่งเหนือ ไปทางทิศทางตะวันออกแนวคลองหกขุด (คลองจระเข้บัว) 
 
ฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวคลองคู้บอนฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวัน
ตกเฉียงใต้ตามแนวคลองคู้บอนฝั่งตะวันออก วกไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ 

สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวขอบทาง

ถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก  เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ

บรรจบกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษก

ฟากตะวันตก ทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนน

คู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก    สิ้นสุดที่จุด

บรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟาก

ตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนคู่ขนาน

ถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก กับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ 

ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ 

สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออก
            
ทิศตะวันตกเริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนว

คลองกุ่มฝั่งตะวันออก บรรจบกับแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้ 

ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้

บรรจบกับแนวคลองรหัสฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองรหัสฝั่งตะวันออก 

บรรจบกับแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก 
                    
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก

ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออกบรรจบกับจุดบรรจบ

ระหว่างแนวคลองลำชะล่ากับแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือ 

ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือบรรจบกับ
                    
แนวคลองบางชวดด้วนฝั่งตะวันออก 

ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองชวดด้วงฝั่งตะวันออก 
                     
บรรจบกับขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้

สิ้นสุดที่จุดจบระหว่างแนวถนนรามอินทราฟากใต้ กับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือ
  
  


เส้นทางที่ 1 จากถนนรามอินทรามาจากหลักสี่-ขึ้นสะพานข้ามแยก
เข้าถนนรัชดารามอินทรา-เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคู่ขนาน
ถึงสำนักงานเขตระยะทางประมาณ 3.8 กม. 

เส้นทางที่ 2 จากถนนรามอินทรามาจากมีนบุรี-เลี้ยวซ้ายเข้าถนน
รัชดารามอินทรา-เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคู่ขนานถึง
สำนักงานเขตระยะทางประมาณ 3 กม.

เส้นทางที่ 3 จากถนนเสรีไทย-เข้าถนนสวนสยาม-เข้าถนนรามอินทรา
เข้าถนนรัชดารามอินทรา-เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคู่ขนาน
ถึงสำนักงานเขตระยะทางประมาณ 7.5 กม.

เส้นทางที่ 4 จากถนนรัชดารามอินทรามาจากถนนนวมินทร์-ขึ้นสะพาน
ข้ามแยกถนนวงแหวน - กลับรถใต้สะพานข้ามแยก
เลี้ยวซ้ายเข้าถนนคู่ขนานถึงสำนักงานเขตระยะทางประมาณ 6 กม. 

เส้นทางที่ 5 จากถนนเสรีไทยมาจากบางกะปิ-เลี้ยวซ้ายเข้าถนน
คู่ขนาน-กลับรถใต้สะพานคลองครุ-เข้าถนนคู่ขนาน
อีกด้านสำนักงานเขตระยะทางประมาณ 2 กม.


โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
          เปิดสอนระดับ อนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6  โทรศัพท์ 02-517-0728
         
โรงเรียนจินดาบำรุง
          เปิดสอนระดับ อนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6  โทรศัพท์ 02-510-5423
          
ศูนย์บริการสาธารณสุข/โรงพยาบาล
ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 คันนายาว  โทรศัพท์ 02-379-8911-2
          โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (สังกัดกรมการแพทย์)  โทรศัพท์ 02-517-4270-9       
          โรงพยาบาลสินแพทย์ (เอกชน)  โทรศัพท์ 02-948-5380-90
โรงพยาบาลอินทรารัตน์ รามอินทรา กม.9 (เอกชน)  โทรศัพท์ 02-481-5555

ศาสนสถาน
วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (บางชัน)
วัดคลองครุ (ปัฐวิกรณ์)
วัดบุญศรีมุนีกรณ์
มัสยิดยัมอียะตุ้นมุสลีมีน (สุเหร่าแดง)
มัสยิดอลัเอาว์ก๊อฟ
คริสตจักรนาซารีน
         
สถานีตำรวจ-ดับเพลิงในพื้นที่เขตคันนายาว
           สถานีตำรวจนครบาลโคกคราม  โทรศัพท์ 02-509-0377 ,02-944-5928-30
           สถานีตำรวจนครบาลคันนายาว  โทรศัพท์ 02-510-9791 ,02-510-9826
           สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม  โทรศัพท์ 02-374-9700
           สถานีตำรวจนครบาลบางชัน  โทรศัพท์ 02-517-1717 ,02-518-1510
           สถานีตำรวจดับเพลิงและกู้ภัยบางชัน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.  โทรศัพท์ 02-517-2919-20

บ้านหนังสือ
ชุมชนแสงอรุณ  โทรศัพท์ 02-540-3190
หมู่บ้าน บก.ทหารสูงสุด  โทรศัพท์ 02-510-6332