โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการเป็นมหานคร คือ ความสามารถในการติดต่อกับเขตพื้นที่อื่นๆ ในหลายระดับ ทั้งในระดับประเทศ ทวีปเอเชีย และทั่วโลก ซึ่งกรุงเทพฯ และรัฐบาลได้ร่วมกันผลักดันให้ภาค
มหานครมีศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่งเทียบเท่ากับมหานครอื่นๆ ของโลก โดยลงทุนกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การก่อสร้างทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชน การขยายส่วนต่อเชื่อมทางพิเศษให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดใกล้เคียงโดยรอบ และมีแผนพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมขนส่งประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการพัฒนา
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ถูกจัดเป็นอันดับที่ 16 ของโลกในด้านจำนวนผู้โดยสาร (อันดับ 4 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และเป็นอันดับ 19 ในด้านปริมาณการขนส่งสินค้า (อันดับ 9 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
          จากการจัดอันดับคุณภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ มีจุดอ่อนในเรื่องคุณภาพของโครงข่ายถนน และโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากกรุงเทพฯ  มีสัดส่วนพื้นที่ถนนกับพื้นที่เมืองทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำ และระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างระบบขนส่งมวลชนบนรางก็ยังอยู่ในช่วงการดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง จึงยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีนักเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองต่างๆ ในทวีปเอเชีย
          จากข้อมูลสภาพปัจจุบันและการจัดอันดับด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ ยังมีบริการในด้านดังกล่าวด้อยกว่ามหานครอื่นๆ ในทวีปเอเชียค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภค ดังนั้น จึงได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาให้กรุงเทพฯ มีค่าดัชนี
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ซึ่งจะเทียบเคียงได้กับมหานครชั้นนำอย่างโซล เวลลิงตัน โอคแลนด์ และเซินเจิ้น โดยผ่านการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่ 1 “พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการเพื่อการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค” โดยให้ความสำคัญกับด้านการขนส่งและสื่อสาร ที่จะช่วยเพิ่มค่าดัชนีในด้านโครงข่ายถนน ระบบขนส่งมวลชน และระบบโทรคมนาคม ซึ่งเป็นจุดอ่อนของกรุงเทพฯ เป็นอย่างมากในปัจจุบัน
 
 
ที่มา : แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) กรุงเทพฯ มหานครแห่งความน่าอยู่อย่างยั่งยืน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การจัดอันดับด้านคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานโดย The Economist Intelligence Unit (EIU)
 
เมือง ค่าดัชนี (ร้อยละ) เครือข่ายถนน ขนส่งมวลชน คมนาคมระหว่างประเทศ อาคารบ้านเรือน พลังงาน น้ำ    ระบบ
โทรคมนาคม
สิงคโปร์ 100 4 4 4 4 4 4 4
เมลเบิร์น 100 4 4 4 4 4 4 4
ซิดนีย์ 100 4 4 4 4 4 4 4
ฮ่องกง 96 3 4 4 4 4 4 4
โอซาก้า 96 4 3 4 4 4 4 4
โตเกียว 96 4 3 4 4 4 4 4
โซล 93 3 3 4 4 4 4 4
เวลลิงตัน 93 4 3 4 4 4 4 4
โอคแลนด์ 89 3 3 3 3 4 4 4
เซินเจิ้น 89 2 2 4 4 3 4 3
กวางเจา 82 3 2 4 4 4 3 3
ไทเป 79 3 2 4 3 3 2 4
กัวลาลัมเปอร์ 77 3 1 4 4 3 2 3
เซี่ยงไฮ้ 77 2 2 3 4 3 4 3
เทียนสิน 77 2 2 3 4 3 4 3
กรุงเทพฯ 64 1 2 3 3 3 4 2
มะนิลา 62 2 1 3 2 3 3 3
ที่มา : EIU Urban Livability Survey, 2006.
การจัดอันดับด้านคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานโดย EIU แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯ ถูกประเมินที่ระดับคะแนนร้อยละ 64 ในขณะที่ค่ากลางของเมืองต่างๆ ในทวีปเอเชียมีระดับคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 75 แสดงว่าจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพฯ เพื่อให้สามารถสนับสนุนวิสัยทัศน์การเป็นมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย
 
ที่มา : แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) กรุงเทพฯ มหานครแห่งความน่าอยู่อย่างยั่งยืน