การกำหนดพื้นที่บริหารจัดการจุดอ่อนน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร
การปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น และครอบคลุมจุดอ่อนน้ำท่วมที่สำคัญโดยใช้ “ระบบพื้นที่ปิดล้อมย่อยบริหารจัดการน้ำท่วม (Sub Polder System)” จำนวน 20 พื้นที่ (340.802 ตารางกิโลเมตร) ดังนี้
1. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมดอนเมือง อนุสรณ์สถาน พื้นที่ 37.640 ตารางกิโลเมตร
2. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมแจ้งวัฒนะ พื้นที่ 35.778 ตารางกิโลเมตร
3. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมรัชดาภิเษก พหลโยธิน แยกเกษตร พื้นที่ 36.760 ตารางกิโลเมตร
4. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมลาดพร้าว บางกะปิ นวมินทร์ พื้นที่ 42.017 ตารางกิโลเมตร
5. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนพหลโยธิน สนามเป้า พื้นที่ 26.500 ตารางกิโลเมตร
6. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนเพชรบุรี จากทางรถไฟถึงถนนอโศกมนตรี พื้นที่ 9.540 ตารางกิโลเมตร
7. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนทหาร พระรามที่ 6 คลองสามเสน พื้นที่ 6.423 ตารางกิโลเมตร
8. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมพระรามที่ 5 คลองผดุงกรุงเกษม คลองสามเสน พื้นที่ 6.423 ตารางกิโลเมตร
9. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมรามคำแหง พื้นที่ 11.444 ตารางกิโลเมตร
10. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนพระจันทร์ รอบสนามหลวง ถนนท้ายวัง พื้นที่ 8.692 ตารางกิโลเมตร
ถนนหน้าพระลาน
11. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนจันทร์ เซนต์หลุยส์ สวนพลู ทุ่งมหาเมฆ พื้นที่ 25.253 ตารางกิโลเมตร
12. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมพระรามที่ 1 พื้นที่ 11.660 ตารางกิโลเมตร
13. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนสุขุมวิทฝั่งเหนือ พื้นที่ 22.595 ตารางกิโลเมตร
14. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนสุขุมวิทฝั่งใต้ ศรีนครินทร์ พื้นที่ 40.357 ตารางกิโลเมตร
15. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมตลิ่งชัน ฉิมพลี มุ่งมังกร สวนผัก พื้นที่ 3.600 ตารางกิโลเมตร
16. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมเพชรเกษม พื้นที่ 8.750 ตารางกิโลเมตร
17. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนบางบอน 1 (เขตบางบอน) พื้นที่ 0.813 ตารางกิโลเมตร
18. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนบางขุนเทียน (เขตบางขุนเทียน) พื้นที่ 2.490 ตารางกิโลเมตร
19. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนประชาอุทิศ (เขตทุ่งครุ) พื้นที่ 3.326 ตารางกิโลเมตร
20. พื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมถนนสุวินทวงศ์ (เขตมีนบุรี) พื้นที่ 0.741 ตารางกิโลเมตร
สำหรับจุดอ่อนน้ำท่วมที่อยู่นอกพื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วมย่อยให้ใช้วิธีการแก้ไขเป็นจุดโดยไม่กำหนดพื้นที่บริหารจัดการน้ำท่วม
ขั้นตอนการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำฝน มีแผนดำเนินการดังนี้
1. ระบบระบายน้ำ มีองค์ประกอบคือ
- ระบบคูคลอง ได้แก่ การสร้างเขื่อนกันดินริมคลอง ท่อลอดตามแนวคลอง ขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหลทำความสะอาด คู คลอง เป็นต้น
- ระบบท่อระบายน้ำ ได้แก่ การก่อสร้างปรับปรุงท่อระบายน้ำ และทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เป็นต้น
- ระบบสูบน้ำ ได้แก่ สถานีสูบน้ำ บ่อสูบน้ำ และการติดตั้งเครื่องสูบน้ำต่าง ๆ เป็นต้น
- ระบบประตูระบายน้ำ ได้แก่ ประตูระบายน้ำถาวรและทำนบกั้นน้ำต่าง ๆ เป็นต้น
2. การกำหนดลำดับความสำคัญ แบ่งลำดับความสำคัญ
- ระดับ A ลำดับความสำคัญสูงเป็นระบบที่อยู่ในบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วม ที่สำคัญ
- ระดับ B ลำดับความสำคัญปานกลางเป็นระบบที่อยู่ในบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วม ทั่วไป
- ระดับ C ลำดับความสำคัญต่ำ เป็นระบบที่อยู่ในพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมที่ อาจมีปัญหาน้ำท่วมเมื่อมีฝนตกหนัก
3. เป้าหมายของการเตรียมการ
- ลำดับความสำคัญ “A” ให้แล้วเสร็จใช้งานได้ภายในเดือนเมษายน
- ลำดับความสำคัญ “B” ให้แล้วเสร็จใช้งานได้ภายในเดือนกรกฎาคม
- ลำดับความสำคัญ “C” ให้ดำเนินการมากที่สุดเท่าที่จะมีโอกาสกระทำได้
4. โครงการเตรียมการ
- โครงการ / กิจกรรมตามงบประมาณหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างประจำปี
- โครงการเปิดทางน้ำไหลในคูคลอง
- โครงการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
- โครงการเตรียมระบบประตูระบายน้ำและทำนบกั้นน้ำ
- โครงการปรับปรุงเสริมระบบระบายน้ำกลางปี
แผนปฏิบัติการประจำวัน เพื่อป้องกันน้ำท่วมเนื่องจากฝน
1. การปฏิบัติการปกติประจำวัน
- หน่วยปฏิบัติการแก้ไขน้ำท่วม ดำเนินการทำความสะอาดท่อระบายน้ำและ คูคลองรวมทั้งเสริมมาตรการเตรียมการปฏิบัติการต่าง ๆ
- หน่วยควบคุมระดับน้ำ ปฏิบัติการลดระดับน้ำขั้นต้นที่กำหนด
- หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ออกปฏิบัติการแก้ไขปัญหาตามคำสั่ง และคำร้องเรียนของประชาชน
- หน่วยซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำ ปฏิบัติการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ตามปกติ
- หน่วยตรวจสอบติดตามผลต่าง ๆ ตรวจสอบสภาพการเตรียมการ และรายงานผลศูนย์ปฏิบัติการฯ ติดตามสภาพอากาศและระดับน้ำ รายงานสรุปสถานการณ์ประจำวันให้ทุกหน่วยทราบทุกวันเวลา 09.00 น. และ 14.00 น.
2. การปฏิบัติการเมื่อได้รับแจ้งเตือนเกี่ยวกับฝน เมื่อเรดาร์ตรวจพบกลุ่มฝนในพื้นที่จังหวัดใกล้กรุงเทพมหานครและมีแนวโน้มจะเคลื่อนที่เข้ากรุงเทพมหานคร หน่วยงานเตรียมปฏิบัติการดังนี้
- ศูนย์ปฏิบัติการฯ แจ้งเตือนสภาพอากาศ กลุ่มฝนที่ตรวจพบแนวโน้มและความรุนแรงของฝนให้หน่วยต่างๆ และผู้บริหารศูนย์ฯ ทราบเป็นระยะๆ พร้อมทั้งตรวจสอบระดับน้ำและการเดินเครื่องสูบน้ำทุกจุด
- หน่วยควบคุมระดับน้ำ เดินเครื่องสูบน้ำ ลดระดับน้ำลงถึงระดับขั้นต่ำ ที่กำหนดเตรียมพร้อมรับสภาพฝน
- หน่วยเคลื่อนที่เร็วแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เคลื่อนย้ายกำลังเข้าจุดปฏิบัติการที่กำหนดหรือจุดที่ได้รับแจ้งเตือนที่คาดว่าฝนตกหรือจะมีปัญหา
3. การปฏิบัติการเมื่อฝนตก
- ศูนย์ปฏิบัติการฯ ติดตามสภาพความรุนแรงของกลุ่มฝน แนวโน้ม ทิศทางจากเรดาร์ตรวจฝน และตรวจสอบปริมาณฝนตกจาก “ระบบตรวจวัดข้อมูลอัตโนมัติ” แล้วรายงานให้หน่วยปฏิบัติต่าง ๆ และผู้บริหารศูนย์ฯ ทราบเป็นระยะทุก 15 นาที จนกว่าฝนหยุดตกกลับสู่สภาวะปกติ
- ศูนย์ปฏิบัติการฯ ประสานข้อมูลข่าวสาร แนวทางปฏิบัติ รวมทั้งคำสั่งปฏิบัติการให้หน่วยปฏิบัติการต่างๆ
- หน่วยควบคุมระดับน้ำ ยังคงปฏิบัติการเต็มที่จนกระทั่งควบคุมระดับน้ำ ให้ลดลงถึงค่าระดับที่กำหนด
- ศูนย์ปฏิบัติการฯ สรุปสภาพน้ำท่วม ปริมาณฝน และผลการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมต่อผู้บังคับบัญชา
- หน่วยติดตามผล รายงานสภาพปัญหาน้ำท่วมและความคิดเห็น
ที่มา : แผนปฏิบัติการและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2557