ค่าภาษี
  ฝ่ายรายได้
  1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
     - รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
  2.ภาษีป้าย
     - รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
  3.ภาษีบำรุงท้องที่
     เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
     - ใบเสร็จรับเงินจากการชำระภาษีครั้งสุดท้ายของทุกรอบระยะเวลาภายใน 4 ปี ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน หากยังไม่เคยได้รับการประเมินให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
     - ใบแจ้งเตือนการชำระเงินที่ส่งไปตามที่อยู่ของผู้เสียภาษี
     - หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน

ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
  - ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  125  ประเภท
  - ขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร
  - ขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง
  - ขอหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
  - ชำระค่าธรรมเนียมตลาดเอกชน
  - ชำระค่าธรรมเนียมสุสานและฌาปนสถาน
  - ชำระค่าธรรมเนียมจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ
  ฝ่ายโยธา
  - ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ตัดแปลงรื้อถอนอาคาร
  - ขออนุญาตทำการในที่สาธารณะ เช่น เชื่อมท่อระบายน้ำ ตัดคันหินทางเท้า ฯลฯ
  - ซื้อแบบประกวดราคา

วิธีการชำระเงิน
 1.สามารถชำระได้โดย
    1.1 เงินสด
    1.2 เช็ค โดย
                    จ่าย “กรุงเทพมหานคร” หรือ Bangkok Metropolitan Administration
                    เช็คขีดคร่อม และขีด “หรือผู้ถือ/ตามคำสั่ง”
                    เป็นเช็คหักบัญชีสำนักเดียวกันกับกรุงเทพมหานคร
                    ไม่สามารถรับเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าได้ และมีกำหนดไม่เกินหกเดือนนับจากวันที่ลงในเช็ค
                    จำนวนเงินในเช็คต้องไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระ จำนวนเงินตัวเลขและตัวอักษรถูกต้องตรงกัน
                    กรณีผ่อนชำระให้นำใบผ่อนชำระเงิน หรือไปเสร็จรับเงินที่ชำระงวดก่อนมาแสดง
  1.3 ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเครดิตประเภท Visa และ Master ของสถาบันการเงินทุกแห่ง (ค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของยอดชำระเงิน/รายการ)
  1.4 ชำระเงินผ่านบัตร ATM  หรือ Visa Debit ของธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) (ค่าธรรมเนียม 10 บาท/รายการ)
 2.นำใบนำชำระเงินมาที่ศูนย์บริการ One Stop Service กดบัตรคิวและรอชำระเงินที่ช่องบริการ 4
 


ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.เงินสด
2.เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นต์สั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ใช้เช็คนั้น หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ
3.หนังสือค้ำประกันธนาคารภายในประเทศตามที่กำหนด
4.พันธบัตรรัฐบาลไทยเป็นจำนวนเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาพัสดุที่ตกลงซื้อหรือจ้างในคราวนั้น

การขอถอนหลักประกันซอง
เมื่อทราบผลการประมูล ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกขอถอนหลักประกันซองคืนได้โดยดำเนินการดังนี้ 
1.กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
-ทำหนังสือถึงฝ่ายที่ดำเนินการขอถอนหนังสือค้ำประกันของธนาคารคืน
-คณะกรรมการประมูลตรวจสอบยืนยันว่าให้คืนหลักประกันซองได้
-ฝ่ายที่ดำเนินการ เสนอผู้อำนวยการเขตอนุมัติให้คืนหลักประกันซองและแจ้งฝ่ายการคลัง
-รับหนังสือค้ำประกันคืนที่ฝ่ายการคลัง
2.กรณีเป็นเงินสดหรือเช็ค
-ทำหนังสือถึงฝ่ายที่ดำเนินการ พร้อมแนบต้นฉบับในเสร็จรับเงินมาด้วย 
-คณะกรรมการประมูลตรวจสอบยืนยันว่าให้คืนหลักประกันซองได้
-ฝ่ายที่ดำเนินการแจ้งฝ่ายการคลังเพื่อทำการตั้งฎีกาถอนเงินจากธนาคาร
-รับเงินประกันคืนที่ฝ่ายการคลัง
  สำหรับผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง หน่วยงานจะคืนหลักประกันซองให้หลังจากวันทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว

การขอถอนหลักค้ำประกันสัญญา
เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการตามสัญญาเรียบร้อยและหมดภาระผูกพันแล้ว ให้ขอถอนหลักประกันสัญญา โดยดำเนินการดังนี้
1. ทำหนังสือขอถอนหลักประกันสัญญายื่นต่อฝ่ายที่ดำเนินการซื้อ/จ้าง แจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
    - กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสดหรือเช็ค ต้องแนบต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมาด้วย
    - กรณีหลักประกันสัญญาเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากเงินสดหรือเช็ค ให้สำเนาเอกสารหลักฐาน เช่น หนังสือค้ำประกันของธนาคารมาด้วย 
2. ฝ่ายที่ดำเนินการซื้อ/จ้างตรวจสอบและรับรองว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการตามสัญญาเรียบร้อย พ้นภาระผูกพันต่อหน่วยงาน แล้ว ส่งเรื่องให้ฝ่ายการคลัง
3. ฝ่ายการคลังทำการตรวจสอบ แล้วดำเนินการดังนี้
    - หลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เจ้าหน้าที่จะมอบต้นฉบับคืนให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง กรณีที่หน่วยงานมีความจำเป็นต้องเก็บต้นฉบับหลักประกันสัญญาไว้ไม่สามารถคืนให้ได้ เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือแจ้งต่อธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง พ้นภาระผูกพันในการค้ำประกันสัญญาเรื่องดังกล่าวแล้ว
    - หลักประกันสัญญาเป็นเงินสดหรือเช็ค ฝ่ายการคลังทำการตั้งฎีกาถอนเงินจากธนาคาร 
    - รับเงินประกันคืนที่ฝ่ายการคลัง


เอกสารที่จะต้องนำไปยื่น
 1.ใบเสร็จรับเงิน
 2.ใบกำกับภาษี (ถ้ามี)
 3.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ
 4.กรณีมอบหมายบุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
       ทำหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรตามกฎหมาย 
       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ (เจ้าของบัตรรับรองสำเนา)
       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ (เจ้าของบัตรรับรองสำเนา)
       สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ที่กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

แบบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบเบิกค่าการศึกษาบุตร
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ใบขอรับเงินทุนสนับสนุนการศึกษาบุตร
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

แบบหนังสือค้ำประกัน(งานประมูลซื้อ)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(งานประมูลจ้าง)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกันสัญญา
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบใบเสนอราคา
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบบัญชีเอกสารส่วนที่ 1
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบบัญชีเอกสารส่วนที่ 2
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
บัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
บัญชีรายชื่อผู้มีอำนาจควบคุม(ถ้ามี)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบสัญญาซื้อขาย
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบสัญญาจ้าง
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือมอบอำนาจ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

(update 15 ม.ค. 58)
 
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันซอง)ประกวดราคาสำหรับการจัดจ้าง
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันซอง)ประกวดราคาสำหรับการจัดซื้อ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันสัญญา)ซื้อขาย
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันสัญญา)จ้าง
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินค่าพัสดุล่วงหน้า)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินค่าจ้างที่ปรึกษาล่วงหน้า)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินประกันผลงาน)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินค่าพัสดุก่อนการตรวจรับ)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
แบบหนังสือค้ำประกัน(หลักประกันการรับเงินค่าจ้างก่อนการตรวจรับ)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

(update 24 ม.ค. 60)