โรคลมแดด ฮีทสโตรก

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566
image

ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน

โรคลมแดด (Heat Stroke) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้รู้สึกเพลีย วิงเวียนศีรษะ

การกระสับกระส่าย หน้ามืด หรืออาจรุนแรงจนถึงจนถึงขั้นหมดสติ

.

ข้อควรระวัง

อยู่ในห้องอับ ลมไม่ถ่ายเท

ทำงานหนัก ไม่หยุดพัก

ใส่เสื้อผ้าหนา สีมืด ไม่ระบาย

ดื่มน้ำน้อย ร่างกายขาดน้ำ

.

ข้อปฏิบัติ

อยู่ในที่มีอากาศปลอดโปร่ง ลมถ่ายเทถึง

ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือทำงานหนัก

สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี

ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น

.

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังฮีทสโตรกเมื่ออยู่กลางแดดจัด

ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ

ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

ผู้ที่มีภาวะอ้วน

ผู้ที่มีโรคประจำตัว

ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

.

วิธีการช่วยเหลือผู้ที่เกิดอาการลมแดด

นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก

เทน้ำเย็นราดบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด

ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัว

รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ 

โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ สายด่วน 1669

.

ด้วยความห่วงใยจากกรุงเทพมหานคร