วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กฎหมายค้ำประกันใหม่ที่ควรรู้
กฎหมายค้ำประกันที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20 มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมานี้ หลายคนยังไม่รู้ว่ากฎหมายใหม่ที่ว่านี้ มีผลอย่างไรบ้างกับชีวิตของเรา
กฎหมายค้ำประกันใหม่ มีผลทำให้ ต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองสิทธิและความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในภาระหนี้สินแทนลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบโดยที่ผู้ค้ำประกันไม่รู้เลยว่าลูกหนี้ไม่ได้จ่ายเงิน พอรู้ตัวอีกทีก็พบว่าหนิ้สินนั้นเพิ่มขึ้นมากมายก่ายกองกว่าตอนแรกเยอะเลย หรือกรณีสัญญาที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ผลทำให้เจ้าหนี้จะเรียกเงินจากฝ่ายไหนก่อนก็ได้
แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ ผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองดังนี้
– การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข (เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการค้ำประกันบุคคล) ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น (จะต้องระบุว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบใน วงเงินไม่เกินเท่าไร)
– กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ (สัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่มีผลใช้บังคับ ผลคือเจ้าหนี้จะต้องไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน จนก็กระทั่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วจึงค่อยมีเรียกร้องกับผู้ค้ำประกัน)
– กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ (จะกำหนดสัญญานอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบไม่ได้)
– เพิ่มเติมหน้าที่ของเจ้าหนี้ให้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ (ผลคือเวลาลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วัน เพื่อที่ผู้ค้ำฯจะชำระหนี้ เพื่อไม่เกิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัด โดยที่ผู้ค้ำฯไปเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ภายหลัง หากไม่แจ้งผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบ)
– ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ (ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็มีผลถึงผู้ค้ำประกัน แต่ถ้าเป็นผลเสียแก่ผู้ค้ำจะใช้บังคับไม่ได้ )
– กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว (ผลคือ การขยายเวลาการชำหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำฯ มิฉะนั้นผู้ค้ำจะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำทันที)
สำหรับกฎหมายใหม่นี้ ก็คงจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดีแต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเงิน บรรดาลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน ก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวกันไป
Download
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ (แก้กฎหมายเรื่องค้ำประกัน)
Update 13/7/58
กฎหมายค้ำประกันใหม่ มีผลทำให้ ต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองสิทธิและความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในภาระหนี้สินแทนลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบโดยที่ผู้ค้ำประกันไม่รู้เลยว่าลูกหนี้ไม่ได้จ่ายเงิน พอรู้ตัวอีกทีก็พบว่าหนิ้สินนั้นเพิ่มขึ้นมากมายก่ายกองกว่าตอนแรกเยอะเลย หรือกรณีสัญญาที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ผลทำให้เจ้าหนี้จะเรียกเงินจากฝ่ายไหนก่อนก็ได้
แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ ผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองดังนี้
– การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข (เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการค้ำประกันบุคคล) ต้องกำหนดรายละเอียดของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน รวมทั้งจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญานั้น (จะต้องระบุว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบใน วงเงินไม่เกินเท่าไร)
– กำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ (สัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่มีผลใช้บังคับ ผลคือเจ้าหนี้จะต้องไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน จนก็กระทั่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วจึงค่อยมีเรียกร้องกับผู้ค้ำประกัน)
– กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติลักษณะค้ำประกันเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ (จะกำหนดสัญญานอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบไม่ได้)
– เพิ่มเติมหน้าที่ของเจ้าหนี้ให้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และผลกรณีเจ้าหนี้มิได้บอกกล่าว และกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ (ผลคือเวลาลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วัน เพื่อที่ผู้ค้ำฯจะชำระหนี้ เพื่อไม่เกิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัด โดยที่ผู้ค้ำฯไปเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ภายหลัง หากไม่แจ้งผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบ)
– ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้กระทำการใดๆ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้ข้อตกลงที่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันเป็นโมฆะ (ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็มีผลถึงผู้ค้ำประกัน แต่ถ้าเป็นผลเสียแก่ผู้ค้ำจะใช้บังคับไม่ได้ )
– กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อันมีกำหนดเวลาแน่นอน หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และห้ามกำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าให้ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะเป็นประกันหนี้นั้นต่อไป แม้ว่าเจ้าหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แล้ว (ผลคือ การขยายเวลาการชำหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำฯ มิฉะนั้นผู้ค้ำจะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำทันที)
สำหรับกฎหมายใหม่นี้ ก็คงจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดีแต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเงิน บรรดาลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน ก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวกันไป
Download
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ (แก้กฎหมายเรื่องค้ำประกัน)
Update 13/7/58