การให้บริการของฝ่ายเทศกิจ

หน้าที่ของเทศกิจ 
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 81 ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเขตกรุงเทพมหานคร ในเรื่องต่างๆ นาประการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร (ม.89) งานเทศกิจจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลและบังคับการ ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจในการดำเนินการจับกุมและเปรียบเทียบปรับ มีอำนาจยึดหรืออาศัย รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง 
“ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร” หมายถึง กฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2523 ฯลฯ หรือมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตามข้อบัญญัติได้ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนั้น จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ 
“กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร” หมายถึง กฎหมายอื่น ๆ ที่มิใช่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และเป็นกฎหมายที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ฯลฯ เป็นต้น ติดต่อกัยฝ่ายเทศกิจ ดังนี้ 

1. การชำระค่าเปรียบเทียบปรับ 

2. บัตรประจำตัวประชาชน 

3. เงินค่าเปรียบเทียบปรับ 

4. การร้องเรียนด้วยตนเอง 

5. บัตรประจำตัวประชาชน

บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 

1. เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ไม่ดูแลรักษาความสะอาดทางเท้าที่ติดอยู่กับอาคารหรือบริเวณอาคาร ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท 

2. เจ้าของตลาดไม่ดูแลรักษาความสะอาดทางเท้าที่อยู่ติดกับตลาด ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท 

3. ผู้ครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของตลาด ไม่รักษาความสะอาดบริเวณตลาดที่ตนครอบครอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

4. ผู้ใดรับมอบจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร หรือเจ้าของตลาด ไม่รักษาความสะอาดทางเท้าหรือบริเวณตลาด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

5. เจ้าของหรือผู้ครอบครองปล่อยปละละเลยกระถางต้นไม้บนทางเท้าที่ตนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้เหี่ยวแห้งหรือรกรุงรัง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

6. เจ้าของหรือผู้ครอบครองปล่อยปละละเลย ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในกระถางต้นไม้หรือในบริเวณที่ดินของตน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

7. อาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใด ๆ บนถนนหรือในสถานสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

8. อาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใด ๆ บริเวณทางน้ำที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศห้ามไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

9. โฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศ หรือแผ่นปลิวในที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับหนังสืออนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

10.ขึด เขียน พ่นสี หรือกระทำการใด ๆ ซึ่งข้อความภาพ หรือรูปรอยใด ๆ ที่กำหนดติดกับถนนที่ต้นไม้ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ติดกับถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

11.เจ้าของรถซึ่งใช้บรรทุกสัตว์ กรวด หิน ดิน เลน ทราย สิ่งปฏิกูลมูลฝอย หรือสิ่งอื่นใด ไม่ป้องกันให้เกิดสิ่งดังกล่าวตกหล่น รั่วไหล ปลิว ฟุ้งกระจายลงบนถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

12.เจ้าของรถซึ่งใช้บรรทุกสัตว์ กรวด หิน ดิน เลน ทราย สิ่งปฏิกูลมูลฝอย หรือสิ่งอื่นใด ไม่ป้องกันทำให้น้ำรั่วไหลลงบนถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกน 10,000 บาท 

13.ปล่อยสัตว์ นำสัตว์ หรือจูงสัตว์ เข้าไปในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศห้ามไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

14.ล้างรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนถนน หรือสถานสาธารณะและทำให้สกปรกเปรอะเปื้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

15.ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของถนนเป็นสถานที่ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลง ต่อเติมหรือติดตั้งอุปกรณ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ล้อเลื่อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

16.การกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ทางเท้าชำรุดเสียหาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

17.จอดหรือขับขี่รถยนต์หรือล้อเลื่อนทางเท้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

18.ทิ้ง วาง หรือกองซากรถยนต์บนถนน หรือสถานสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท 

19.ตั้ง วาง วัตถุใด ๆ บนถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

20.ปรุงอาหารขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ นอกบริเวณประกาศผ่อนผัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

21.ใช้รถยนต์หรือล้อเลื่อนเป็นที่ปรุงอาหาร เพื่อขายหรือจำหน่ายบนถนน หรือในสถานสาธารณะนอกบริเวณประกาศผ่อนผัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

22.ขายหรือจำหน่ายสินค้าที่บรรทุกรถยนต์ หรือจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนถนนหรือในสถานสาธารณะที่จัดไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

23.ผู้อยู่ในรถยนต์หรือผู้ขับขี่ หรือผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซื้อสินค้าที่ขายหรือจำหน่ายบนถนนหรือในสถานสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

24.จูง ไล่ หรือต้อนสัตว์ลงในทางน้ำ ซึ่งติดประกาศห้ามไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

25.เท หรือทิ้งกรวด หิน ดิน เลน ทราย หรือเศษวัตถุก่อสร้างลงในทางน้ำหรือกองไว้ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้วัตถุดังกล่าวไหล หรือตกลงในทางระบายน้ำ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

26.เจ้าของร้าน อาคาร ซึ่งจัดสถานที่บริการลูกค้าได้ขณะเดียวกันไม่ต่ำกว่า 20 คน ไม่จัดส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

27.เจ้าของสถานที่บริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซสำหรับยานพาหนะ ไม่จัดส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

28.ทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอย หรือสิ่งอื่นใดในบริเวณที่ได้ปลูกหญ้าหรือต้นไม้ ซึ่งราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

29.โค่นต้นไม้ ตัด เด็ด หรือกระทำการใดที่น่าจะเป็นอันตรายต่อต้นไม้ในที่สาธารณะหรือสถานสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

30.ปล่อยหรือจูงสัตว์เข้าไปในสถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ได้ปลูกหญ้า หรือต้นไม้ และปิดประกาศ หรือปิดป้ายห้ามไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

31.ถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะลงในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

32.เท ปล่อย หรือระบายอุจจาระหรือปัสสาวะจากอาคารหรือยานพาหนะลงในทางน้ำ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

33.บ้วน หรือถ่มน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก เท หรือทิ้งสิ่งใด ๆ ลงบนถนน หรือบนพื้นรถ หรือพื้นเรือโดยสาร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

34.ทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในที่สาธารณะนอกภาชนะที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

35.ทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอยลงบนที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

36.ปล่อยปละละเลยให้ที่ดินของตนมีสิ่งปฏิกูลมูลฝอยที่อาจมองเห็นได้จากที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

37.เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูล น้ำโสโครก หรือสิ่งอื่นใดลงบนถนน หรือในทางน้ำ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

38.เท หรือระบายอุจจาระ/ปัสสาวะจากอาคาร หรือยานพาหนะลงในทางน้ำ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

39.ทำให้โคมไฟ ป้าย ศาลาที่พัก ม้านั่ง ส้วม หรือสิ่งใด ๆ ที่ราชการทำไว้เพื่อสาธารณะชนเกิดความเสียหาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

40.ปีน ป่าย นั่ง หรือขึ้นไปบนรั้วกำแพงต้นไม้ หรือสิ่งค้ำยันต้นไม้ในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

41.ยืน นั่ง หรือนอนบนราวสะพานสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

42.นอนในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

43.เล่นว่าว ฟุตบอล ตะกร้อ หรือกีฬาบนถนนในที่สาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของที่สาธารณะที่มีประกาศห้ามไว้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

44.ติด ตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งใด ๆ ในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ใช่การวางไว้เพียงชั่วคราว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

45.ติด ตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งใด ๆ ที่อาคารในลักษณะสกปรกรุงรัง หรือไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

46.เจ้าของอาคารซึ่งตั้งอยู่ในระยะ 20 เมตร จากขอบทางเดินรถที่มีผิวจราจรกว้างไม่ต่ำกว่า 8 เมตร ปล่อยให้อาคารนั้นสกปรก ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

47.ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามเข้า หรือคงอยู่ในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 

48.ผู้ขับขี่รถทำให้มูลสัตว์ กรวด หิน ดิน เลน ทราย มูลฝอย หรือน้ำมันตกหล่น ปลิว ฟุ้ง กระจาย หรือรั่วไหลลงบนถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท 

หมายเหตุ : “ถนน” หมายความรวมถึง ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนเป็นทางสัญจร