หน้าฝนนี้ เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ไข้เลือดออก อันตรายถึงชีวิต

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
image

หน้าฝนนี้ เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ไข้เลือดออก อันตรายถึงชีวิต

(5 ก.ค.67) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตคลองสามวา ลงพื้นที่สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ณ ชุมชนต่างๆ ในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

สำหรับภารกิจการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทางฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จะลงพื้นที่สำรวจฯ ในทุกๆ วัน หมุนเวียนสลับปรับเปลี่ยนไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อต้องการให้ประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องของภัยอันตรายจากยุงลาย

ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา พร้อมทั้งแจกเอกสารประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามมาตรการ 5 ป. 1 ข. ดังนี้

>>> ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
>>> เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
>>> ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร
>>> ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
>>> ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และลงมือทำทันที
ขัด ขัดล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ

และหากพบผู้ป่วยไข้เลือดออก โปรดแจ้งฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตคลองสามวา โทร. 0 2548 0325 (จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 16.00 น.)

การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย มีประสิทธิภาพลดความหนาแน่นของยุงได้ประมาณ 3-5 วัน เท่านั้น หากพ่นสารเคมีบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นจะทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมี ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ

#ปลอดโรค #ปลอดภัยดี
#ยุงลายภัยร้ายใกล้ตัว
#ไข้เลือดออกป้องกันได้
#ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย