ตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานเขตคลองสามวา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ระยะครึ่งปีงบประมาณ

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
image

ตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานเขตคลองสามวา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ระยะครึ่งปีงบประมาณ

(13 พ.ค.67) เวลา 13.30 น. นายสมหวัง ชัยประกายวรรณ์ ผู้อำนวยการเขตคลองสามวา ให้การต้อนรับนายศรชัย โตวานิชกุล ประธานกรรมการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 คณะที่ 3 และคณะกรรมการตรวจติดตามฯ ในการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานเขตคลองสามวา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ระยะครึ่งปีงบประมาณ) โดยมีนายธนัฐจ์กร ภิรัฐพงศ์ธนากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคลองสามวา นายพีรวัส พูนวิทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคลองสามวา หัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องโสณมัย 1 สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

สำหรับการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระยะครึ่งปีงบประมาณ)

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพผลการดำเนินงาน (Perfomance Base) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร (Function Base) ร้อยละความสำเร็จในการเพิ่มสวน 15 นาที ร้อยละของเงินที่ได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครเมื่อเทียบกับวงเงินที่ได้รับจัดสรร ร้อยละความสำเร็จในการทำความสะอาดท่อระบายน้ำบริเวณถนนสายรอง ตรอก ซอย ประสิทธิภาพของการขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (Joint KPIs) ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชน กรณีร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ของกรุงเทพมหานคร ประสิทธิภาพของการดำเนินภารกิจตามนโยบายผู้บริหารหรือภารกิจพิเศษ (Agenda Base) การแก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ระดับความสำเร็จของสภาพแวดล้อมที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมลดลง ร้อยละความสำเร็จของการนำเข้าข้อมูลในระบบนำเข้าข้อมูลแผนผังชุมชน (One Map)

องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (Innovation Base) ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ซึ่งได้เสนอโครงการสร้างชุดข้อมูลระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กและพัฒนาจุดจอดรถเพื่อบริการประชาชนในพื้นที่เขตคลองสามวา

องค์ประกอบที่ 3 ศักยภาพในการดำเนินการของหน่วยงาน (Potential Base) ศักยภาพในการดำเนินการของหน่วยงาน ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว โดยการส่งเสริมให้ประชาชนรับบริการผ่านระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม

องค์ประกอบที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ ของประชาชนผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ของสำนักงานเขต ร้อยละความสำเร็จ ประสิทธิภาพการแก้ไข ปัญหาข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ ของประชาชน ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue