♦♦♦♦♦♦คลินิกสุขภาพจิต♦♦♦♦♦♦


หน้าที่และความรับผิดชอบ
1.ด้านปฏิบัติ
          1.1  ประเมินพัฒนาการโดยดำเนินการคัดกรอง ประเมิน ส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนสรุปปัญหาพัฒนาการ วางแผนให้ความช่วยเหลือ แนะนำผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามระดับความสามารถจัดทำโปรแกรมฝึกเด็กที่บ้านสำหรับผู้ปกครอง เยี่ยมบ้านร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขในรายที่มีปัญหาพัฒนาการรวมถึงการจัดทำบันทึกพัฒนาการเด็กรายบุคคลและส่งต่อในรายที่มีปัญหาซับซ้อน
          1.2 ประเมิน สำรวจ วิเคราะห์ สภาวะสุขภาพจิต ด้วยวิธีทางจิตวิทยา และสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตในระดับเบื้องต้นกับกลุ่มเป้าหมาย
          1.3 ให้คำปรึกษา แนะนำ  ปรับพฤติกรรม ฟื้นฟูสภาวะทางจิต สังคม อารมณ์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจยอมรับปัญหาของตนเอง ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม วิธีการปรับตัว หรือวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสม
          1.4 ส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไข้ปัญหาพฤติกรรม สุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเครื่องมือและกระบวนการทางจิตวิทยาเบื้องต้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
          1.5 สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการวางแผนพัฒนาการปฏิบัติงาน
2. ด้านการวางแผน
          วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานหรือโครงการของหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านประสานงาน
          ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานหรือส่วนราชการเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
4. ด้านบริการ
          4.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ทางจิตวิทยา วิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความเข้าใจ หรือใช้ในการดำเนินชีวิต
          4.2 เยี่ยมติดตามเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชนในทุกกลุ่มวัยร่วมกับทีมวิชาชีพ
          4.3 ร่วมถ่ายทอด ฝึกอบรม องค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านจิตวิทยา จัดทำแผนการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของนักเรียน นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป
 
คลินิกสุขภาพเด็กดี
เปิดให้บริการทุกวัน อังคาร และ พฤหัสบดี เวลา 13.00 น. - 16.00 น.
วันอังคารให้บริการเด็กอายุ 2 เดือน – 1 ปี, วันพฤหัสบดีให้บริการเด็กอายุ 1 ปีครึ่ง – 4 ปี
การให้บริการ       
        1. คัดกรองสุขภาพเด็กเบื้องต้น และให้ความรู้เรื่องโภชนาการ
        2. ตรวจเช็กการได้รับรับวัคซีน และฉีดวัคซีน
        3. คัดกรองพัฒนาการเด็กที่คลินิกสุขภาพเด็กดี
        4. ประเมินพัฒนาการเด็ก ตลอดจนสรุปปัญหาพัฒนาการและวางแผนให้การช่วยเหลือดูแลร่วมกับผู้ปกครอง
        5. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามระดับความสามารถและให้คำแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง
            หมายเหตุ : กรณีเด็กมีพัฒนาการล่าช้า แนะนำผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นเวลา 1 เดือน หากในกรณีที่ส่งเสริม               พัฒนาการเด็ก 1 เดือนแล้วเด็กมีพัฒนาการล่าช้าอยู่ นักจิตวิทยาทำการนัดหมายครั้งต่อไป  เพื่อประเมินพัฒนาการโดยการ
           ใช้คู่มือ TEDA4I
        6. จัดโปรแกรมฝึกเด็กที่บ้านสำหรับผู้ปกครอง
        7. เยี่ยมบ้านเด็กในรายที่มีปัญหา
        8. จัดทำบันทึกพัฒนาการเด็กรายบุคคล
        9. ส่งต่อในรายที่มีปัญหาซับซ้อน