งานเภสัชกรรม
งานเภสัชกรรม
งานเภสัชกรรม
ชื่อหน่วยงาน งานเภสัชกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา
โทรศัพท์ 0-2548-0495-8
ผู้ประสานงาน นางศิลวรา เจริญกุล ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการ
โทรศัพท์ 0-2548-0495-8 ต่อ 15
1. บริบท งานเภสัชกรรมเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา ในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 16.00 น. และนอกเวลาราชการ เวลา 16.00 น. – 20.00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุขอันได้แก่ ห้องปฏิบัติการพยาบาล , อนามัยโรงเรียน , วางแผนครอบครัว เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขได้แก่ ศูนย์สาขาและศูนย์สุขภาพชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านวิชาการ ให้ข้อมูลด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้มารับบริการและบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครชุมชน อาสาสมัครโรงเรียน ตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในศูนย์บริการสาธารณสุข เกี่ยวกับการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ถูกต้อง ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เป็นต้น
2. ขอบเขต งานเภสัชกรรมศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา ประกอบด้วยงาน 7 ด้าน ดังต่อไปนี้
ชื่อหน่วยงาน งานเภสัชกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา
โทรศัพท์ 0-2548-0495-8
ผู้ประสานงาน นางศิลวรา เจริญกุล ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการ
โทรศัพท์ 0-2548-0495-8 ต่อ 15
1. บริบท งานเภสัชกรรมเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา ในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 16.00 น. และนอกเวลาราชการ เวลา 16.00 น. – 20.00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุขอันได้แก่ ห้องปฏิบัติการพยาบาล , อนามัยโรงเรียน , วางแผนครอบครัว เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขได้แก่ ศูนย์สาขาและศูนย์สุขภาพชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านวิชาการ ให้ข้อมูลด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้มารับบริการและบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครชุมชน อาสาสมัครโรงเรียน ตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในศูนย์บริการสาธารณสุข เกี่ยวกับการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ถูกต้อง ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เป็นต้น
2. ขอบเขต งานเภสัชกรรมศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา ประกอบด้วยงาน 7 ด้าน ดังต่อไปนี้
- งานด้านบริหารเวชภัณฑ์
- เบิกยาและเวชภัณฑ์จากกองเภสัชกรรมให้เพียงพอต่อการใช้สำหรับจ่ายให้กับผู้ป่วยและแผนกต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุข
- จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยจัดเรียงยาตามประเภท ตามหมวดหมู่ ให้เป็นระเบียบ สะอาด ถูกสุขลักษณะและเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- มีการตรวจสอบวันหมดอายุของยาและเวชภัณฑ์ ตรวจสอบยาที่มีอัตราการใช้น้อยหรือไม่มีการเคลื่อนไหว ดำเนินการแลกเปลี่ยนโอนยา ป้องกันการสูญเสียยาเนื่องมาจากยาหมดอายุ
- จัดทำบัญชีการเบิกยาและเวชภัณฑ์จากกองเภสัชกรรมรวมทั้งบัญชีการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนและศูนย์สาขา
- จัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์เพื่อทำรายงานประจำเดือน
- งานด้านบริการเภสัชกรรม
- จ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้แก่ผู้มารับบริการภายในศูนย์บริการสาธารณสุข
- ตรวจสอบความถูกต้องของยาและเวชภัณฑ์ก่อนส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ให้คำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ป่วยทั้งในคลินิกโรคทั่วไป คลินิกป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
- เบิกจ่ายและจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในศูนย์บริการสาธารณสุข เช่น งานทันตกรรม,ห้องปฏิบัติการพยาบาล, ห้องชันสูตรโรค เป็นต้น
- จัดเตรียมยาสำหรับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ รวมทั้งการจ่ายยาให้แก่ผู้มารับบริการในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
- เบิกจ่ายและจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ให้แก่ศูนย์สาขา
- เบิกจ่ายและจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ให้แก่ศูนย์สุขภาพชุมชนและอาสาสมัครในพื้นที่รับผิดชอบ
- เบิกจ่ายและจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนหรือหน่วยงานราชการในพื้นที่ ซึ่งขอความอนุเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์
- รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านบริการเพื่อทำรายงานประจำเดือน
- งานด้านบริบาลเภสัชกรรม
- ตรวจสอบ วิเคราะห์และแก้ไขใบสั่งยาในส่วนของ Medication Error (ME) และ Drug Related Problem (DRP)
- ให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยตามเกณฑ์คัดกรอง (Drug Counselling ) ในคลินิกโรคทั่วไป รวมทั้งคลินิกป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ (PP)
- มีการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่บ้าน (PHC) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะมารับบริการด้วยตนเองที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเนื่องจากเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือทุพพลภาพ มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง โดยจะออกเยี่ยมร่วมกับทีมพยาบาลเยี่ยมบ้าน
- งานคุ้มครองผู้บริโภค
- เผยแพร่ความรู้และจัดบอร์ดเกี่ยวกับยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอางและเคมีภัณฑ์ต่างๆ ที่มีใช้หรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
- แจ้งปัญหาที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเหล่านั้น
- จัดเก็บข้อมูลงานคุ้มครองผู้บริโภคและทำรายงานประจำเดือน
- งานด้านสาธารณสุขมูลฐาน
- จำหน่ายยาสามัญประจำบ้านและยาสมุนไพรในมุมขายยาให้แก่ผู้มารับบริการ พร้อมคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องยาและสมุนไพรแก่อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขโรงเรียน
- นิเทศงานศูนย์สาขาและศูนย์สุขภาพชุมชน
- งานด้านวิชาการและเภสัชสนเทศ
- ให้ข้อมูลการใช้ยาแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มโดยให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ถูกต้อง ข้อควรระวังในการใช้ยา อาการข้างเคียงจากการใช้ยา รวมทั้งการเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง
- ให้คำแนะนำข้อมูลด้านยาและเวชภัณฑ์แก่บุคลากรสาธารณสุขตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในศูนย์บริการสาธารณสุข
- จัดนิทรรศการ จัดบอร์ดและแจกแผ่นพับเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาและสมุนไพรแก่ผู้มารับบริการภายในศูนย์บริการสาธารณสุข
- เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องยาและสมุนไพร กรณีมีการจัดอบรมต่างๆ ทั่วไป
- งานด้านการผลิตและบรรจุยา
- ผสมหรือปรุงยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ต้องปรุงเสร็จใหม่ๆ เช่น Special Mouth Wash , Normal Saline เป็นต้น
- การแบ่งบรรจุยาล่วงหน้าสำหรับยาที่ใช้เป็นประจำและมีอัตราการใช้คงที่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดยา