งานสังคมสงเคราะห์
ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเวลาราชการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 
โทรสอบถามเพิ่มเติม 0-2548-0496 ต่อ 29 งานสังคมสงเคราะห์

งานสังคมสงเคราะห์
งานสังคมสงเคราะห์ให้บริการด้านคำปรึกษาและการช่วยเหลือ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการที่ถูกทอดทิ้ง ถูกล่วงเกินทางเพศ ขาดผู้ดูแลและการใช้สิทธิตามกฎหมายนักเรียนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา หรือประชาชนที่ประสบปัญหาสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ ติดยาเสพติด ติดเชื้อโรคเอดส์ ตลอดจน ปัญหาครอบครัวปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม
                        
การให้ความช่วยเหลือ
ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดบริการ ประสานงานส่งต่อ ในกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ประสบปัญหาอื่นๆทั้งกาย จิต และสังคม ด้านสิทธิและสวัสดิการ เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิคนพิการ สิทธิผู้สูงอายุ
  • ช่วยเหลืออาหารทางการแพทย์ กลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ
·         ช่วยเหลือนมผง ในเด็กแรกเกิด – 3 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ
·         ช่วยเหลือนมผงแก่เด็กที่มารดาติดเชื้อ HIV
·         ช่วยเหลือนมผงสตรีที่ตั้งครรภ์ (ขาดสารอาหาร, น้ำหนักน้อย, ความเข้มข้นของเลือดต่ำ)
·         พิจารณาส่งต่อเพื่อรับการบำบัดรักษากรณีต้องรักษาต่อเนื่อง
·         ส่งต่อเพื่อขอรับการช่วยเหลือกายอุปกรณ์สำหรับคนพิการ
·         ส่งต่อเพื่อรับบริการ ลดภาวะเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
·         จัดหาสถานที่และบริการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก สตรี ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำทารุณหรือถูล่วงเกินทางเพศ
·         จัดหาแหล่งสนับสนุนการประกอบอาชีพ และการเสริมรายได้ให้แก่ ผู้มีปัญหาเศรษฐกิจส่งต่อหน่วยงานที่จัดหางานกรณีว่างงาน
·         ช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการศึกษา ให้สามารถศึกษาต่อไปได้ตามความสามารถ
·         ช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ
·         ช่วยให้ผู้ที่ขาดสิทธิทางกฎหมายเข้าถึงบริการของรัฐได้ตามสิทธิพึงได้รับ เช่น การขึ้นทะเบียนคนพิการ เป็นต้น
·         ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านกับสหวิชาชีพ เพื่อประเมินสภาพปัญหาในกลุ่มผู้ป่วยพิการ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถมาพบแพทย์ได้
·         จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหา
บริการให้คำปรึกษา
  • ด้านสุขภาพ เช่น การขาดสารอาหารความพิการ เจ็บป่วยเรื้อรัง ติดยาเสพติด โรคเอดส์ เป็นต้น
  • ด้านจิตใจ เช่น มีภาวะเครียด หรือมีความวิตกกังวล เป็นต้น
  • ด้านปัญหาขาดการดูแล ถูกทอดทิ้ง หรือถูกกระทำทารุณ
  • ด้านปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
  • ด้านปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ การงานและอาชีพ
  • ด้านปัญหาการใช้สิทธิทางกฎหมายในการใช้บริการของรัฐ เช่น การเข้าเรียนในโรงเรียน การขึ้นทะเบียน
คนพิการ การใช้สิทธิด้านการรักษาพยาบาล เป็นต้น

                       

1. สนับสนุนด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การงานและสิทธิตามกฎหมายที่พึงจะได้รับและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการต่างๆทางสังคมและจัดหาครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวสำหรับผู้พิการ
       
                             
     

2. การให้ความรู้ เกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ กับผู้รับบริการในช่วงเช้าก่อนเข้าตรวจพบแพทย์
    
 
บุคลากรในงานสังคมสงเคราะห์