หัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561
image
ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
รูปภาพ : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์


หัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด ผลที่ตามมาก็คือกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย  
 

สาเหตุการเกิดหัวใจวายหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
 
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (หัวใจวาย)
อาการนำที่สำคัญที่ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์
โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางรายอาจมีสุขภาพปกติแข็งแรงดี แต่อยู่ๆ ก็มีอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่สำคัญที่สุดที่สามารถสังเกตได้ เช่น
  • เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
  • เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
  • มีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
  • วิงเวียน หน้ามืด
  • ชีพจรเต้นเร็ว
 
หากพบอาการผิดปกติข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อย่าละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้โดยเด็ดขาด 
การตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (หัวใจวาย)
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
หลังจากแพทย์วินิจฉัยจนแน่ใจว่าผู้ป่วยเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจริง แพทย์จะทำการฉีดสีเพื่อให้ตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันแสดงในฟิล์มเอกซเรย์ แล้วจึงทำการเปิดหลอดเลือดโดย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ซึ่งเป็นวิธีการใส่สายสวนเข้าไปยังร่างกายผู้ป่วยที่บริเวณขาหนีบหรือที่แขนเพื่อเข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจึงขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนที่ติดอยู่ที่ปลายสายเพื่อดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดและทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกไป ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบันแพทย์มักใช้การดูดลิ่มเลือดและใส่ขดลวดร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยไปอุดตันบริเวณส่วนปลายของหลอดเลือด


 
 
ในกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้นแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจเพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตันทำให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ