บุหรี่เป็นอันตรายต่อปอดอย่างไร?
ที่มา : จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข ประจำเดือนพฤษภาคม 2562
การสูบบุหรี่สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด” เมื่อสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนต้นทั้งหมด ตั้งแต่ จมูก คอหอย หลอดลม คอ ไปจนถึงระบบการหายใจในทรวงอก ทางเดินหายใจส่วนปลาย และลงลึกไปที่ปอด
ซึ่งในปอดแต่ละข้างจะบรรจุไปด้วยถุงลมเล็ก ๆ ปริมาณมหาศาลข้างละประมาณ 2 ล้านถุง เพื่อรับออกซิเจนมาเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย
โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer)
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปอดและการเสียชีวิตมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดทั่วโลก การสัมผัสควันบุหรี่มือสองที่บ้านหรือในที่ทำงานยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด การเลิกสูบบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ การเลิกบุหรี่นาน 10 ปี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดลงได้ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic respiratory disease)
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการก่อตัวของเมืองที่เต็มไปด้วยหนองในปอด ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดตอนไอและเจ็บปวดอันเกิดจากการหายใจลำบาก
ความเสี่ยงในการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสูงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากควันบุหรี่จะทำให้พัฒนาการของปอดช้าลงเป็นอย่างมาก บุหรี่ทำให้โรคหอบหืดยิ่งแย่ลง ซึ่งส่งผลต่อชีวิตประจำวันและก่อให้เกิดความพิการ การเลิกสูบบุหรี่ก่อนกำหนด เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการชะลอการลุกลามของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและทำให้อาการของโรคหอบหืดดีขึ้น
ช่วงคาบเกี่ยวชีวิต (Across the life-course)
ทารกที่ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มือสองอันเกิดจากการสูบของมารดาในมดลูก เด็กเล็กที่สัมผัสกับควันบุหรี่มือสองมีความเสี่ยงต่อการเกิดและการกำเริบของโรคหอบหืด โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ และการติดเชื้องทางเดินหายใจส่วนล่าง ทั่วโลกมีเด็กประมาณ 165,000 คน เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบ อันเกิดจากการติดเชื้องทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากควันบุหรี่มือสอง วัยผู้ใหญ่ยังคงได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง เนื่องจากการติดเชื้องทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยเด็กซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญ
วัณโรค (Tuberculosis : TB)
ทำลายปอดและลดการทำงานของปอด ซึ่งจะรุนแรงขึ้นถ้ามีการสูบบุหรี่ องค์ประกอบทางเคมีของควันบุหรี่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคที่แฝงอยู่ ซึ่งประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้องทั้งหมด กรณีเป็นวัณโรคประกอบกับผลกระทบด้านสุขภาพปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการและการเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญ
มลพิษทางอากาศ (Air pollution)
ควันบุหรี่เป็นมลพิษทางอากาศในอาคาร มีสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด โดยกว่า 70 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง แม้ว่าควันอาจจะมองไม่เห็นและไม่มีกลิ่น แต่ก็สามารถอยู่ในอากาศได้นานถึง 5 ชั่วโมง ทำให้ผู้ที่สัมผัสกับควันบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคมะเร็งปอด โรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ และทำให้การทำงานของปอดลดลง