วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
โวเดียมกับอาหารแปรรูป
โซเดียมกับอาหารแปรรูป
แฟ้มภาพ
การบริโภคโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียต่อสุขภาพ การบริโภคโซเดียมสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอัมพาต
อาหารทุกอย่างมีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งหากผ่านการเติมเกลือเพื่อแปรรูป หรือถนอมอาหารก็จะทำให้ปริมาณโซเดียมในอาหารนั้นเพิ่มสูงขึ้น โซเดียมถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทั้งเป็นสารปรุงแต่งรส ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นานขึ้น เช่น ผงฟู ผงกันบูด ผงชูรส
ตัวอย่างปริมาณโซเดียม ก่อน – หลัง แปรรูป
ไข่ต้ม ก่อนแปรรูป จะมีโซเดียมเฉลี่ย 80 มิลลิกรัม แต่หลังแปรรูปเป็นไข่เค็ม จะมีโซเดียมเฉลี่ย 380 มิลลิกรัม
ปริมาณโซเดียมในอาหารแปรรูป
-
แหนม 100 กรัม โซเดียม 990 มิลลิกรัม
-
เนื้อแดดเดียว 100 กรัม โซเดียม 1,514 มิลลิกรัม
-
ปลาสลิดทอด 100 กรัม โซเดียม 1,694 มิลลิกรัม
-
หมูแผ่น 100 กรัม โซเดียม 1,592 มิลลิกรัม
-
กุนเชียง 100 กรัม โซเดียม 1,303 มิลลิกรัม
-
ไส้กรอก 100 กรัม โซเดียม 680 มิลลิกรัม
-
ผักกาดดอง 100 กรัม โซเดียม 1,498 มิลลิกรัม
-
มะม่วงแช่อิ่ม 100 กรัม โซเดียม 504 มิลลิกรัม