'เกาต์' โรควัยเก๋าที่ต้องรู้

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561
image

ที่มา: เดลินิวส์
รูปภาพ : สสส.(http://www.thaihealth.or.th)

\'เกาต์\' โรควัยเก๋าที่ต้องรู้  thaihealth

          ปัจจุบันพบผู้ป่วย "โรคเกาต์" ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง มีผู้ป่วยจำนวนมากเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานและเป็นอันตรายต่อชีวิต

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง กนกรัตน์ นันทิรุจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบ ที่ปวดเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่รู้จักกันมานาน ถือได้ว่าเป็นโรคที่เก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ และก็ยังพบว่าเป็นปัญหาโรคข้อที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคเกาต์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรฐานความเป็นอยู่ อาหาร สภาวะทางโภชนาการที่ดี เกินความพอดีในยุคปัจจุบัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์มากขึ้น เช่น การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีน มาก หรือพืชผัก ผล ไม้หรือน้ำผลไม้บาง ชนิด หรือแอลกอ ฮอล์ ก็มีส่วนกระตุ้นการสร้างกรดยูริกในร่าง กาย ซึ่งหากรับประทาน เข้าไปมาก ๆ ก็ทำให้กรดยูริกในร่างกายสูงได้เช่นกัน

          "สาเหตุโรคเกาต์ เกิดจากภาวะกรดยูริก (Uric acid) ในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยภาวะกรดยูริกสูงหมาย ถึงระดับกรดยูริกมากกว่า 7 มก. ในเพศชาย และ 6 มก. ในเพศหญิง โรคเกาต์พบบ่อยในชายวัยกลางคนขึ้นไป หรือหญิงในวัยหมดประจำเดือน"

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง กนกรัตน์ กล่าวว่า โรคเกาต์ขึ้นได้ในหลายอวัยวะ ได้แก่ ข้อ ผิวหนัง และไต อาการที่พบบ่อยที่สุด คืออาการทางข้อ ได้แก่ ข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงและฉับพลันทันทีทันใด ข้อที่เป็นจะบวมขึ้น มีสีแดงรอบ ๆ ข้อ หากคลำดูจะพบว่าอุ่นกว่าข้อเดียวกัน ในข้างตรงข้าม ข้อที่อักเสบในช่วงแรก มักเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า หากทิ้งไว้นาน โดยไม่ได้รับการรักษา อาจมีการอักเสบที่ข้ออื่นได้ด้วย เช่น ข้อเข่า ข้อศอก ข้อมือ เป็นต้น

          พลตรีหญิง รศ.พญ.ไพจิตต์ อัศวธนบดี ที่ปรึกษาอาวุโส อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติซั่ม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวของโรคเกาต์คือ ภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกต้องในระยะแรกจะเข้าสู่ระยะข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อ มีการทำลายข้อเกิดความผิดรูปและพิการ นอก จากนี้ยังพบก้อนโทฟายที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากรวมตัวของผลึกเกลือยูเรต อาจเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะและท้ายที่สุดคือ โรคไตวายเรื้อรัง

          พลตรีหญิง รศ.พญ.ไพจิตต์ กล่าวต่อว่า การรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบเฉียบพลันคือ การใช้ยาต้านการอักเสบ จนเมื่อข้ออักเสบหายสนิทแล้วก็จะพิจารณาให้การรักษาระยะยาว ได้แก่ การลดหรือแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเกาต์และการใช้ยาลดกรดยูริกในเลือด ผู้ป่วยโรคเกาต์มักมีโรคร่วม เช่น ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจหาเพื่อจะได้แก้ไขและให้การรักษาไปพร้อม ๆ กัน ผู้ป่วยเกาต์ควรมีความรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง รู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งชนิดของอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคเกาต์

          สิ่งที่น่าห่วงใยอีกประการหนึ่งคือ การที่ผู้ป่วยซื้อยารักษาตนเอง อาจแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นมีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร ตับอักเสบ หรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น