กทม. เดินหน้าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566
image

วันนี้ (28 ส.ค. 66) เวลา 13.30 น. นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566

ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า

เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตลอดปี 2566 รวมถึงหารือแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ. - กทม. ที่กำหนดไว้

.

ในที่ประชุมฯ ฝ่ายเลขานุการได้รายงานผลการดำเนินงานตลอดปี 2566 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ร่วมสนองพระราชดำริ ตามความพร้อม ภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน จำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ 1. กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร ประกอบด้วย กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร ได้แก่ 1) การเก็บสำรวจพันธุกรรมพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น สวนสาธารณะ สถานศึกษา ชุมชนและหน่วยงาน โดยปีงบประมาณ 2565 รวบรวมได้ จำนวน 35,167 ต้น อาทิ สะตือ สักทอง ประดู่ ฯลฯ และในงบประมาณ 2566 รวบรวมได้ จำนวน 3,806 ต้น อาทิ นุ่น มะฮอกกานี ตะแบก ฯลฯ 2) การสำรวจไม้ยืนต้นในสวนสาธารณะด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สามารถระบุพิกัดและรับรู้ที่อยู่ของการปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ไทร กระดังงา สัก ยางนา ฯลฯ และกิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร ได้แก่ 1) การดูแลรักษาพันธุกรรมพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งไหล่ทาง สวนสาธารณะ สถานศึกษา ชุมชน แปลงเพาะพันธุ์ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด โดยการตัดแต่งทรงพุ่มและศัลยกรรมต้นไม้ 2) การขยายพันธุ์พืชควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อปลูกหรือแลกเปลี่ยนหรือแจกจ่ายพันธุกรรม ดำเนินการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพาะเมล็ด ปลูก ปักชำ แยกหน่อ และแจกจ่ายให้แก่ประชาชนหรือผู้สนใจผ่านห้องปฏิบัติการของสำนักพัฒนาสังคมและธนาคารกล้าไม้ของสำนักสิ่งแวดล้อม

.

2. กรอบการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ประกอบด้วย กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร ได้แก่ 1) การจัดทำฐานข้อมูลพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมและฐานข้อมูลไม้ยืนต้นในกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2565 รวบรวมได้ จำนวน 164,941 ต้น ปีงบประมาณ 2566 รวบรวมได้ จำนวน 174,966 ต้น 2) การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่เขต อาทิ มะม่วงทองดำ เขตบางรัก สแตนเลสบ้านบุคอลเลคชั่น เขตบางกอกน้อย

.

3. กรอบการสร้างจิตสำนึก ประกอบด้วย 1) กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ได้แก่ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพมหานคร 2) งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพมหานครและงานพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพื้นที่เขต 15 เขต และ 1 สวนสาธารณะ รวม 30 แห่ง ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ประกอบด้วย 1.เขตจอมทอง 10 แห่ง 2.เขตบางกอกน้อย 4 แห่ง 3.เขตบางเขน 2 แห่ง 4.เขตพระโขนง 2 แห่ง 5.เขตจตุจักร 1 แห่ง 6.เขตดอนเมือง 1 แห่ง 7.เขตบางซื่อ 1 แห่ง 8.เขตบางนา 1 แห่ง 9.เขตบางพลัด 1 แห่ง 10.เขตบางรัก 1 แห่ง 11.เขตบึงกุ่ม 1 แห่ง 12.เขตราษฎร์บูรณะ 1 แห่ง 13.เขตวังทองหลาง 1 แห่ง 14.เขตสัมพันธวงศ์ 1 แห่ง 15.เขตหนองแขม 1 แห่ง และ 16.สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม 1 แห่ง นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ได้แก่ 1) สนับสนุนโรงเรียนสมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) ประชุมปฏิบัติการ/การอบรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น 3) สนับสนุนสำนักงานเขต สมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในงานสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น 4) ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. 5) การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6) การประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 1 ครั้ง/ปี 7) การประชุมหน่วยงาน สนองพระราชดำริ อพ.สธ. - กทม. 

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในปีต่อไป และแผนปฏิบัติงาน อพ.สธ. - กทม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมถึงพิจารณาร่างคณะกรรมการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย กรุงเทพมหานคร

.

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดร. ปิยะรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ นางสาวววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสำนักงานเลขานุการสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักพัฒนาสังคม สำนักการศึกษา สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง และประธานกลุ่มเขต 6 กลุ่มเขต