ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สำนักงานสัมพันธวงศ์ ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กทม. 10100
หมายเลขโทรศัพท์  0 2233-1224 ถึง 28
หมายเลขโทรสาร  0 2237-3345
e-Mail:  samphanthawong@bangkok.go.th
คลิก link หัวข้อรายงาน
โครงสร้างสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์   อัตรากำลัง ผู้บริหารสำนักงานเขต
อำนาจหน้าที่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พื้นที่การปกครอง
ข้อมูลการติดต่อ    แผนที่การเดินทาง ช่องทางรับฟังความคิดเห็น    ,   Q&A
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
อัตรากำลัง สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ณ วันที่ 1 มกราคม 2567
ลำดับ ผู้บริหาร/ฝ่าย/โรงเรียน ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน กทม. รวม
(คน)
ประจำ ชั่วคราว
1 1 0 0 0 1
2 1 0 0 0 1
3 15 9 1 2 27
4 16 1 0 0 17
5 13 16 7 0 36
6 9 3 1 0 13
7 11 2 0 0 13
8 11 173 102 0 286
9 5 2 0 0 7
10 12 2 0 0 14
11 12 38 4 0 54
12 12 2 0 20 34
13 12 2 1 0 15
14 10 0 2 0 12
15 12 3 2 0 17
รวมทั้งสิ้น 152 253 120 22 547
คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการการเมือง
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตสัมพันธวงศ์
นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์
โทรศัพท์ 081-820-4331
คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (ข้าราชการประจำ)
คณะผู้บริหารสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
หมาบเลขโทรศัทพ์อัตโนมัติ ติดต่อ 0 2233-1224 ถึง 28 และกด หมายเลข 4 ตัว
นายวัลลภ เกียรติวรศรีกุล
ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์
โทรศัพท์ :02 234 9688
โทรศัพท์ ภายใน:7196
 
นายปริญญา จันทร์บัว
ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์(ฝ่าย 1)
โทรศัพท์ :02 235 2508
โทรศัพท์ ภายใน:7155
 
-ว่าง-
ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์(ฝ่าย 2)
โทรศัพท์ :02 235 2509
โทรศัพท์ ภายใน:7153
 
นางอรุณี อินทร์งาม
ฝ่ายทะเบียน
โทรศัพท์ :02 236 8088 ,02 233 7139
โทรศัพท์ ภายใน:7186
       7159, 7160, 7187
 
นางสาวอรอุมา สมบูรณ์
ฝ่ายปกครอง
โทรศัพท์ :02 237 4541, 02 237 3345
โทรศัพท์ ภายใน:7156
       7157, 7158, 7196
 
นางสุภาวดี เพชรชนะ
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
โทรศัพท์ :02 235 9127
โทรศัพท์ ภายใน:7185
       7184,7185
 
นางสาวธิวาลัย นาวี
ฝ่ายรายได้
โทรศัพท์ :02 237 0974, 02 235 2133
โทรศัพท์ ภายใน:7166
       7167, 7168
 
นายภาณุพันธ์ ปินชัย
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
โทรศัพท์ :02 233 0846
โทรศัพท์ ภายใน:7163
       7164, 7165
 
นางสาวนวลชนก ระเห็จหาญ
ฝ่ายการคลัง
โทรศัพท์ :02 235 2838
โทรศัพท์ ภายใน:7175
       7176, 7177, 7178, 7197
 
นายประชา พินิจกุล
ฝ่ายโยธา
โทรศัพท์ :02 235 3633
โทรศัพท์ ภายใน:7161
       7162, 7179
 
นายธีรุตน์ แตงรัตนา
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
โทรศัพท์ :02 234 5905
โทรศัพท์ ภายใน:7169
       7171, 7170, 7172
 
นางสาวขนิษฐา นุชประมูล
ฝ่ายการศึกษา
โทรศัพท์ :02 235 3630
โทรศัพท์ ภายใน:7173
       7173,7174
 
นายธรรมรัฐ แสนมาตย์
ฝ่ายเทศกิจ
โทรศัพท์ :02 235 2831
โทรศัพท์ ภายใน:7180
       7180,7181,7182
ส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่ส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
การปกครอง
การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาดทำเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การส่งเสริมการกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย
โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
การคุ้มครอง ดูและบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร
การดูและรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาหาร
การป้องกัน และการบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
   
การจัดเก็บรายได้การบังคับให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
อำนาจหน้าที่ กรุงเทพมหานคร
อำนาจหน้าที่กรุงเทพมหานคร

อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542
1. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ตามมาตรา 89 มีดังนี้

1) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
3) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
5) การผังเมือง
6) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก หรือทางน้ำ และทางระบายน้ำ
7) การวิศวกรรมจราจร
8) การขนส่ง
9) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
10) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
11) การควบคุมอาคาร
12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
15) การสาธารณูปโภค
16) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
17) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
18) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
19) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
20) การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ การจัดการศึกษา
21) การสาธารณูปการ
22) การสังคมสงเคราะห์
23) การส่งเสริมการกีฬา
24) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
25) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
26) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายหรือที่กฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการบริหารส่วนกลาง หรือราชการบริหารส่วนภูมิภาค จะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้ โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศแล้วแต่กรณี หากได้ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

2. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ฯ กำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่จัดการบริการสาธารณะ ครอบคลุมทั้งเขตจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่จังหวัด ให้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 16 และมาตรา 17 รวมกัน ซึ่งได้แก่

1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
5) การสาธารณูปการ
6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9) การจัดการศึกษา
10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่
13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14) การส่งเสริมกีฬา
15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและ[[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน
16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25) การผังเมือง
26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28) การควบคุมอาคาร
29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งได้แก่
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(3) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(4) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(5) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
(6) การจัดการศึกษา
(7) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(9) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(10) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
(11) การจำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
(12) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
(13) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
(14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(16) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(17) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
(18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(19) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
(20) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
(21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
(22) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(23) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
(24) จัดทำกิจกรรมใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขต และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(25) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(26) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(27) การสังคมสงเคราะห์ละการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(28) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(29) กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

อำนาจหน้าที่แต่ละฝ่าย
1.ฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุมงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน และการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ งานดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

2.ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือ