แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)
 

การดำเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร

ตามนโยบาย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้มอบหมายจำนวน 216 นโบาย
ตามแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปีระยะที่๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) จำนวน 7 ยุทธศาสตร์

เขตสัมพันธวงศ์เป็นแหล่งนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี                สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ได้ดำเนินการตามนโยบายพัฒนาพื้นที่ปรับปรุงต่อเนื่อง
1.โครงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมและคลองโอ่งอ่าง เพื่อฟื้นฟูแหล่งน้้า ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมฝั่งคลองให้สวยงามและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้หลักการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ความรู้แก่ชุมชนและเยาวชน สร้างความตระหนักถึงความส้าคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้้าและสภาพแวดล้อม และสร้างเครือข่ายในการดูแลรักษา ทรัพยากรน้้าและพื้นที่บริเวณริมฝั่งคลอง ตลอดจนน้อมน้าศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง (Ong Ang Walking Street) เพื่อส่งเสริมให้ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่กลางกรุงเทพมหานคร คลองโอ่งอ่างรับรางวัลระดับโลก “2020 Asian Townscape Awards” โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน เนปาล และมาเลเซีย ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์ (Landscape Improvement Project) ที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ศิลปวัฒนธรรม ที่มีความสอดคล้องระหว่างภูมิทัศน์ของเมืองกับรูปแบบการดำเนินชีวิต

โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

โครงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมและคลองโอ่งอ่าง
โครงการจัดงานลอยกระทงคลองโอ่งอ่าง
แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร กิจกรรม ความเคลื่อนไหว ปี 2566
               งานลอยกระทงคลองโอ่งอ่าง 2565 ประกอบด้วยจุดลอยกระทงทั้งหมด 2 จุด คือ ช่วงสะพานภาณุพันธุ์-สะพานหัน 1 จุด และ ช่วงสะพานภาณุพันธุ์-สะพานดำรงสถิตย์ พร้อมจำกัดจำนวนคนลงในแต่ละจุด ไม่ให้เกิดจำนวนที่กำหนดท่านมาสัมผัสบรรยากาศ เช็คอิน กิน เที่ยว และร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมแบบหลากหลายได้
               กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว คลองโอ่งอ่างได้ถูกยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของย่านประวัติศาสตร์และโบราณสถานที่ประชาชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์และทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยสะพานหัน - คลองโอ่งอ่าง จัดอยู่ในย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือเป็นสถานที่เดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ ให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยว โดยมีการวาดสตรีทอาร์ตตลอดผนังสองฝั่งคลอง เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นพหุวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ในย่านนี้มนัสชัย ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ พร้อมด้วย นายเพ็ชร ภุมมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต นายพีรวัส พูนวิทย์ หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ นางสาวพรทิพย์ ชำนิกล้า หัวหน้าฝ่ายปกครอง นำเจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อย จัดระเบียบผู้ค้าตามระเบียบและนโยบายของกรุงเทพมหานคร พร้อมประชาสัมพันธ์เน้นย้ำประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการร้านค้า ภายใน “ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง” ให้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ณ บริเวณตลอดแนวริมคลองโอ่งอ่าง ตั้งแต่สะพานโอสถานนท์ ถึงสะพานดำรงสถิตค้า พร้อมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ณ บริเวณริมคลองโอ่งอ่าง…
               วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.00 น. นางสาวอาทิตยา โชคกิจมนัสชัย ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ นายสาวเมตตา ตันเสรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต พร้อมหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ นำเจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อย จัดระเบียบผู้ค้าตามระเบียบและนโยบายของกรุงเทพมหานคร พร้อมประชาสัมพันธ์เน้นย้ำประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการร้านค้า ภายในงาน “ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง” ให้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยยึดหลัก D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด เช่น หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีให้บริการทางเข้า-ออก รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เป็นต้น ณ บริเวณริมคลองโอ่งอ่าง ตั้งแต่สะพานบพิตรพิมุข ถึงสะพานดำรงสถิต
               การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนคือ ด้านที่ 1 คลองโอ่งอ่างกับชุมชน คลองโอ่งอ่างนั้นเสมือนตะเข็บของเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ เป็นส่วนที่ประสานกันระหว่างชุมชนชาวจีนกับอินเดีย และยังมีผู้ค้าดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา อัตลักษณ์ของชุมชน เช่น พาหุรัด ซึ่งยากมากที่จะหาชุมชนที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมแบบนี้ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนว่าจะทำอย่างไรให้เก่าและใหม่อยู่ด้วยกัน ต้องคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ดั้งเดิม