การติดต่องานทะเบียนราษฎร

การแจ้งเกิด 
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนบิดา - มารดา, สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ถ้ามี)

การแจ้งตาย 
- หนังสือรับรองการตาย หรือใบแจ้งการตาย (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย หรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่ (กรณีปกติ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่เจ้าบ้านรับรอง
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งย้ายที่อยู่
- หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ตอนที่ 1, 2 กรณีย้ายเข้า)

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่เจ้าบ้านรับรอง
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งย้ายที่อยู่
- หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน

การคัดสำเนาทะเบียนบ้าน 
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- หนังสือมอบหมายกรณีเจ้าตัวไม่มาติดต่อด้วยตนเอง พร้อมสำเนาบัตรฯ ผู้มอบหมาย

การคัดสำเนาสูติบัตร
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- หนังสือมอบหมายกรณีไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง พร้อมสำเนาบัตรฯ ผู้มอบหมาย
- เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุลฯ

การแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ร้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติบัตร มรณบัตร ใบเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล
- พยานบุคคลที่เชื่อถือได้ 2 คน (กรณีที่ต้องใช้พยานบุคคล)

การขอหมายเลขประจำบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและแบบแปลนการก่อสร้าง

การแจ้งรื้อบ้าน 
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบ้บเจ้าบ้าน

การแจ้งย้ายเข้า (บุคคลต่างด้าวสัญญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา) 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
- โควต้าแรงงาน
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมาย กรณีเจ้าบ้านไม่มาแจ้งย้ายด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 07) ตอนที่ 1 และ 2

การแจ้งย้ายออก (บุคคลต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา)
- แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
- โควต้าแรงงาน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
- ทะเบียนการยกเลิกกาทำงานกับนายจ้างเดิม (ท.ต.10)

การทำบัตรประจำตัวประชาชน

กรณีขอมีบัตรฯ ครั้งแรก 
- สูติบัตร
- บัตรนักเรียน หรือวุฒิการศึกษา
- ทะเบียนบ้าน
- ผู้ยื่นคำร้องขอมีบัตรฯ กรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุลของผู้ยื่นคำร้องทำบัตรฯ และของบิดา, มารดา ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนมาด้วย

กรณีบัตรฯ หาย 
2.1 บัตรหายในเขตพื้นที่ นำทะเบียนบ้านมาด้วย
2.2 บัตรหายต่างพื้นที่
- ทะเบียนบ้าน
- ใบขับขี่ หรือวุฒิการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีต้องใช้ญาติพี่น้องนามสกุลเดียวกันมารับรอง

เปลี่ยนบัตรฯ กรณีเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
- บัตรฯ เดิม
- ทะเบียนบ้าน
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล (ต้นฉบับ)

กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม, ชื่อสกุล (เนื่องจากการสมรส, หย่า)
- บัตรเดิม
- ทะเบียนบ้าน
- ใบสำคัญการสมรส (คร.3)
- ใบสำคัญการสมรส (คร.7)

กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม (เนื่องจากเปลี่ยนยศ)
- บัตรเดิม
- ทะเบียนบ้าน
- ใบสำคัญกรเปลี่ยนจากกระทรวงกลาโหม

กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
ต้องนำบัตรฯ เดิมมาต่ออายุ ภายในเวลา 60 วัน นับจากวันหมดอายุ

 

ทะเบียนชื่อบุคคล

1. การขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
    บุคคลที่จะขอเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองต้องบรรลุนิติภาวะ ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดา หรือบิดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ (บิดาต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา)

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัว ชื่อรอง
1. ต้องไม่พ้อง หรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไทย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนามของบุคคลอื่น
2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
3. ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
4. ต้องมีความหมายในภาษาไทย

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ ใช้สูติบ้ตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน
4. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

2. การขอตั้งชื่อสกุล
    บุคคลที่จะขอตั้งชื่อสกุล ต้องบรรลุนิติภาวะ ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดา หรือบิดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล
1. ต้องไม่พ้อง หรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไทย หรือพระนามของพระราชินี
2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
3. ต้องเป็นคำไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานหรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
5. ต้องมีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่เป็นราชทินนาม
6. ต้องมีคำแปลตามหลักภาษาไทยในพจนานุกรมและเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้อง
7. ห้ามผู้ที่ไม่ได้รับพระราชททานชื่อสกุลใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
8. ห้ามผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานตระกูลใช้คำว่า "ณ อยุธยา" เป็นชื่อสกุลหรือต่อท้ายชื่อสกุลตน
9. ห้ามนำนามพระมหานครซึ่งเคยเป็นราชธานีมาแล้วแต่ก่อนหรือในปัจจุบันมาใช้เป็นชื่อสกุล เช่น กรุงเทพ บางกอก สุโขทัย สงขลา อู่ทอง ฯลฯ
10. ห้ามนำศัพท์ที่เป็นพระบรมราชทินนามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้ง หรือนำมาประกอบกับศัพท์อื่นตั้งเป็นชื่อสกุล เช่น จักรี นฤบาล เทพ อฺธิป ฯลฯ

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้ตั้งชื่อสกุล
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ตั้งชื่อสกุล
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ ใช้สูติบ้ตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน
4. ใบเลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล สูติบัตร

3. การขอร่วมชื่อสกุล
    3.1 กรณีอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล
           ให้เจ้าของชื่อสกุลยื่นคำขออนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบ ช. 5 ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่ตนมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัว
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช.2)
4. สำเนาบัตรประชาชนแลสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
5. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
หมายเหตุ : นายทะเบียนจะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลแก่เจ้าของชื่อสกุล เพื่อมอบให้ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล

      3.2 กรณีขอร่วมใช้ชื่อสกุลของผู้อื่น
            เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลจากเจ้าของชื่อสกุลแล้ว ให้ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขออนุญาตตามแบบ ช.1     ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัว
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุ
4. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลเดิม (ถ้ามี)

      3.3 กรณีเจ้าของชื่อสกุลและผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลมีชื่ออยู่ในสำนักงานเขตเดียวกัน
ให้เจ้าของชื่อสกุล และผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช. 5 และ ช.1 ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนของทั้ง 2 ฝ่าย
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของทั้ง 2 ฝ่าย
3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช.2)
4. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลเดิม (ถ้ามี)

4. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
     บุตรบุญธรรม คือ บุตรที่ขอมาเลี้ยงเสมือนเป็นบุตรของตน และได้จดทะเบียนตามกฏหมาย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และจะต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
2. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะต้องลงนามให้ความยินยอมด้วย
3. ผู้จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
4. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอยู่แล้วจะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบัตรบุญธรรม
5. พระภิกษุจะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องยื่นเรื่อง ณ ศูนย์อำนวยการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกรมประชาสงเคราะห์ก่อน
7. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมสามารถยื่นเรื่องราว ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง
3. หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จากกรมประชาสงเคราะห์ (กรณีผู้เยาว์)
4. ใบสำคัญการสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
5. พยานบุคคล 2 คน

5. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
    5.1 การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลงกัน
          กรณีการเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลงกัน บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง
3. สำเนาการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
4. พยานบุคคล 2 คน

    5.2 การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล
          ให้คู่กรณีนำคำพิพากษาของศาลไปขอบันทึกสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง
3. สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งศาลรับรองแล้ว
4. พยานบุคคล 2 คน

6. การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
     เป็นการบันทึกข้อความอันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวซึ่งเป็นคู่กรณีเป็นสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ยหนึ่งฝ่ายใดเป็นสัญชาติไทย อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสัญชาติต่างประเทศ โดยการใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวนั้น ได้กระทำไว้ในต่างประเทศตามแบบแห่งกฎหมายต่างประเทศ นั้น เช่น การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง
3. เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึก ซึ่งเป็นต้นฉบับพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสารให้
4. พยานบุคคล 2 คน
7. โครงการจัดเก็บและการให้บริการข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคลที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลทางการทะเบียนก่อนปี พ.ศ. 2537
ให้บริการคัดสำเนาข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคล ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ถึงปัจจุบัน
****ค่าธรรมเนียม 10 บาท


 

ทะเบียนครอบครัว

1. การจดทะเบียนสมรส
    1. การจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต
         ชายหญิงที่มีคุณสมบัตรครบถ้วนตามเงื่อนไขของกฎหมายประสงค์จะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถดำเนินการได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)

    2. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักงานเขต
         คู่สมรสใดมีความประสงค์จะขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรสที่บ้านคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือ ณ สถานที่ประกอบพิธีสมรสก็ได้ แต่ต้องอยู่ในท้องที่ของสำนักงานเขตที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนให้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
5. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)

       3. การจดทะเบียนสมรสกรณีคู่สมรสเป็นผู้เยาว์

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส
3. สูติบัตรของคู่สมรส
4. บิดา - มารดา ให้ความยินยอม
5 หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล บิดา - มารดา - บุตร (ถ้ามี)
6. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
7. สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)

2. การจดทะเบียนหย่า
    การจดทะเบียนหย่า คู่หย่าต้องทำเป็นหนังสือสัญญาหย่า โดยมีข้อตกลงในเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน การจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร         การปกครองดูแลบุตร และอื่น ๆ โดยติดต่อที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. ใบสำคัญการสมรสของทั้ง 2 ฝ่าย
5. สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
6. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)

    2.1 การจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมต่างสำนักทะเบียน (สำนักงานเขตหรืออำเภอ)
คู่หย่าสามารถร้องขอให้ดำเนินการได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อสำนักทะเบียนแห่งที่สองได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. ใบสำคัญการสมรสของทั้ง 2 ฝ่าย
5. สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
6. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)

    2.2 การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ให้คู่หย่านำคำพิพากษาของศาลมาขอบันทึก ณ สำนักทะเบียน (สำนักงานเขต/อำเภอ) แห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. ใบสำคัญการสมรส
5. สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
6. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
7. คำพิพากษาศาล/หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรองแล้ว

3. การจดทะเบียนรับรองบุตร
    3.1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
บุตรที่เกิดจากบิดา มารดา ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากจะให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดาต้องร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร โดยมารดาและบุตรให้ความยินยอม ณ สำนักงานเขต/อำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. สูติบัตรบุตร
5. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6. คำพิพากษาศาล/หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรองแล้ว (กรณีบุตรไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ หรือมารดาไม่สามารถมาให้ความยินยอมได้)

      3.2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน
บิดามารดาร้องขอต่อนายทะเบียน เพื่อขอจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานเขตได้ แต่สถานที่ที่ไปจดทะเบียนต้องอยู่ในท้องที่ของสำนักงานเขต นั้น

หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
4. สูติบัตรบุตร
5. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6. คำพิพากษาศาล/หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรองแล้ว (กรณีบุตรไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ หรือมารดาไม่สามารถมาให้ความยินยอมได้)