โรคไข้หวัดนก

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566
image

โรคไข้หวัดนก 

เชื้อไข้หวัดนก จัดอยู่ในแฟมิลี่ ออร์โรมิกโซวิริดี (Orthomyxoviridae)
แบ่งเป็น 3 type คือ A, B และ C เป็น ไวรัส RNA ชนิดสายเดี่ยว (single
strand) มีเปลือกหุ้ม (envelope)
 

เชื้อไข้หวัดนกแบ่งเป็น 2 ชนิด ตามความ
รุนแรงของการติดเชื้อ คือ ชนิดไม่รุนแรง (Low Pathogenic Avian
influenza หรือ LPAI) และชนิดรุนแรงมาก (Highly Pathogenic
Avian Influenza หรือ HPAI) สำหรับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดรุนแรงมาก
ที่แยกได้จากสัตว์ปีกในฆณะนี้เป็น เชื้อไข้หวัด type A subtypes H5 แล: H7
สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อนี้
.
การติดต่อ
การติดต่อในฝูงสัตว์ นกน้ำที่อพยพมาเป็นแหล่งโรคในธรรมชาติโดยมักไม่มี
อาการป่วย เชื้อจะถูกขับออกมากับมูลสัตว์หลังติดเชื้ออยู่นาน 1 - 2 สัปดาห์
นกอพยพอาจนำเชื้อแพร่ไปยังสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ และนกธรรมชาติซึ่งอาจเป็นตัวนำ
พาเชื้อให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง
 

การติดต่อจากสัตว์มาสู่คน คนติดเชื้อได้จากการสัมผัสสัตว์ปีกป่วย/ตาย
หรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อในพื้นที่ที่เกิดโรค
.
อาการ
ในสัตว์ปีก มีไข้ หงอยซึม ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง หน้า หงอน เหนียงบวม
มีสีแดงคล้ำ มีจุดเลือดออกที่หน้าแข้ง ไอ จาม น้ำมูกไหล อาจท้องเสีย ชัก และไข้ลด
หรือไข่มีลักษณะผิดปกติ ตายรวดเร็ว การระบาดมักรุนแรงและทำให้ไก่ตายเกือบ
100%
 

ในคน จะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน เริ่มจากมีไข้สูง
หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอแห้ง ๆ และอาจมี
ตาแดงด้วย ผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวอาจป่วยรุนแรง
เกิดอาการหายใจลำบากหรือหอบจากปอดบวมอักเสบ และอาจมีอาการระบบหายใจ
ล้มเหลวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเสียชีวิตได้ ระยะเวลาป่วยนาน 5 - 13 วัน อัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 70
.
การป้องกันควบคุมโรค
 

ป้องกันควบคุมไม่ให้นกอพยพและสัตว์พาหะอื่น ๆ เข้ามาในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก
หรือฟาร์ม
 

เข้มงวดมาตรการสุขาภิบาลเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเข้าฟาร์ม
โดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งผู้ที่เข้าออกฟาร์ม
เช่น ไม่นำวัสดุรองพื้น ถาดไข่ และวัสดุอุปกรณ์จากพื้นที่ระบาดมาใช้ เป็นต้น
 

ผู้เลี้ยงหรือผู้สัมผัสสัตว์ปีกชื่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงอันดับแรก ควรปฏิบัติตนดังนี้
 

ใส่หน้ากากอนามัย แว่นตา ถุงมือ หมวก รองเท้าบูท เมื่อเข้าปฏิบัติงาน
และเมื่อกำจัดสัตว์ปีกที่ป่วย/ตาย
 

ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งเมื่อเข้าและออกพื้นที่ปฏิบัติงาน
 

เมื่อมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่
ทราบทันที
 

ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วย/ตาย มาปรุงเป็นอาหาร
 

ให้สังเกตอาการไข้ ตาอักเสบ และอาการระบบทางเดินหายใจ อาการท้องเสีย
หากมีอาการดังกล่าวภายใน 10 วันหลังจากสัมผัสสัตว์ปีกครั้งสุดท้ายต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบผู้ป่วยไข้หวัดนกต่อไป
 

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเพื่อป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์
(Reassortment) ของเชื้อไข้หวัดนก และเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
จนกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่
.
หากพบเห็นสัตว์ปีกป่วยตายเป็นจำนวนมาก สามารถแจ้งได้ที่กลุ่มพัฒนาทางระบาดโรคสัตว์สู่คน 

โทร. 0 2411 3298, สายด่วนศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร 

โทร. 1555 หรือสำนักงานเขตในพื้นที่เกิดเหตุได้ทันที
--------------
อ่านเพิ่มเติม >> https://pr-bangkok.com/?p=76700