งานเวชระเบียน
ถาม มาขอรับบริการต้องยื่นบัตรอะไร หรือทำอย่างไร
ตอบ การให้บริการศูนย์ฯ 7 มี 2 กรณี
       1.1 กรณีผู้ป่วยรายใหม่ กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มผู้ป่วย (ชื่อ-สกุล , ประวัติ , ที่อยู่, ข้อมูลการติดต่อ )
เสร็จแล้วแนบเอกสาร บัตรประชาชน , แบบฟอร์มผู้ป่วย(ที่กรอกข้อมูลแล้ว) และบัตรคิว ทั้งหมดใส่กล่องที่จุดคัดกรอง
รอเรียกคิวที่จุดเวชระเบียน
       1.2 กรณีบัตรเก่า นำบัตรผู้ป่วยหนีบพร้อมบัตรคิว วางใส่กล่องรับบัตรคิว ที่จุดคัดกรอง รอเรียกคิว ณ จุดเวชระเบียน


ถาม ต้องการมาขอใบรับรองแพทย์ต้องทำอย่างไร
ตอบ 2.1 กรณีผู้ป่วยรายใหม่ ติดต่อที่จุดคัดกรอง กรอกประวัติผู้ป่วย ยื่นบัตรประชาชน นั่งรอเรียก ณ จุดเวชระเบียน
             กรณีผู้ป่วยรายเก่า ติดต่อที่จุดคัดกรอง ยื่นบัตรผู้ป่วย พร้อมบัตรประชาชน
        2.2 ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจสารเสพติด
        2.3 เข้าพบแพทย์
        2.4 ชำระเงิน
        2.5 รับใบรับรองแพทย์ และกลับบ้าน
งานจุดคัดกรองและผู้ป่วยนอก
ถาม จะขอทำเรื่องส่งตัวไปรักษาที่ รพ. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ 1. บัตรประจำตัวประชาชน
       2. นำประวัติการรักษา จากสถานบริการเดิม พร้อมกับนำยาที่รับประทานอยู่ มาให้แพทย์ดู เพื่อประกอบการเขียนใบส่งตัว
          เวลาออกใบส่งตัว  ระหว่างเวลา 08.00 น. - 12.00 น.
          ( 13.00 น. เป็นการให้บริการส่งเสริมสุขภาพไม่ออกใบส่งตัว)
.................................................................................................................................................................
ถาม  ทำไมผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรค ถึงไปรักษาต่อเนื่องที่ รพ. ตามสิทธิไม่ได้
ตอบ  เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิตสูง  ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาต่อเนื่องระยะยาว
       เพื่อความสะดวกของตัวผู้ป่วยเองในการรักษาใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันหน่วยปฐมภูมิมีศักยภาพในการรักษาใกล้เคียงกับ รพ.
       เพื่อเป็นการลดความแออัดของ รพ.  สปสช.จึงมีนโยบายให้ผู้รับบริการที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพฯ
       รักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นอันดับแรก ยกเว้นกรณีที่ต้องมีการตรวจพิเศษ หรือมีอาการที่ซับซ้อน จำเป็นต้องได้รับ
       การดูแลจากแพทย์เฉพาะ หน่วยปฐมภูมิจะส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ. ตามสิทธิ
งานปฏิบัติการพยาบาล
ถาม  วันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ มาล้างแผลที่ศูนย์ ฯ 7 ได้ไหม
ตอบ  ได้ ในวันเสาร์ - อาทิตย์ ศูนย์ฯ เปิดเวลา 08.00 น. - 12.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์


ถาม  ลืมใบนัดฉีดยา แต่จำได้ว่าครบฉีดเดือนนี้ จะต้องทำอย่างไร
ตอบ  สามารถรับบริการได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่ สืบค้นประวัติการฉีดยาในแฟ้มประวัติคนไข้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้า
        ดังนั้น ควรนำใบนัดมาด้วยทุกครั้ง


ถาม  ผู้ป่วยโดนรถเฉี่ยวชนที่หน้าศูนย์ฯ 7 มีบาดแผลบริเวณแขนและขา มาล้างแผลที่ศูนย์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ตอบ  กรณีฉุกเฉิน มาปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยไม่เสียความใช้จ่าย
 
งานชันสูตรโรค
ถาม  จะมาเจาะเลือดตรวจไขมัน ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดกี่ชั่วโมง
ตอบ  งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนเจาะเลือด 10-12 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย


ถาม  จะมาตรวจสุขภาพ เจาะเลือด ต้องมาวันไหน และต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ  ศูนย์ฯ 7 มีบริการตรวจเลือด เฉพาะทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 น. - 10.00 น.
       ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และติดกับวันหยุดต่อเนื่อง
       ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยก่อน และสั่งตรวจเลือด
งานเภสัชกรรม
ถาม   คนไข้สามารถนำแผงยามาซื้อยาได้เลย โดยที่ไม่ต้องพบแพทย์ได้หรือไม่
ตอบ  1.1 ศูนย์ฯ 7 ไม่ขายยาให้คนไข้ เนื่องจากคนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
        1.2 ในกรณีที่เป็นยาสามัญตามรายการยาที่ระบุไว้ ณ หน้าห้องยา สามารถซื้อได้


ถาม  คนไข้สามารถนำแผงยาที่ได้รับจาก รพ. อื่น มาสอบถามข้อมูล หรือความเข้าใจได้หรือไม่
ตอบ  ได้ สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยา โดยเภสัชกรประจำศูนย์ฯ ได้
 
ฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ถาม  ฉีดวัคซีนคอตีบ  ไอกรน บาดทะยัก วันนี้แล้วจะมีไข้ไหม
ตอบ  หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว อาจมีไข้ ถ้ามีไข้ แนะนำให้เช็ดตัวลดไข้ตามแพทย์สั่ง

ถาม  ครั้งที่แล้ว ฉีดยาแล้วเด็กปวดขาไม่ยอมเดิน ควรทำอย่างไร
ตอบ  หลังฉีดยา หากมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ควรประคบเย็นบริเวณที่ฉีดยา และถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้น ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์ และแจ้งให้พยาบาลทราบ เมื่อมารับบริการครั้งถัดไป
คลินิกฝากครรภ์
ถาม  ศูนย์ฯ 7 รับฝากครรภ์วันไหน ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง และต้องพาสามีมาด้วยไหม
ตอบ  รับฝากครรภ์ ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
        การมาฝากครรภ์ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อทำบัตร และต้องพาสามีมาด้วย เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก


ถาม  สามารถทำคลอดที่ศูนย์ได้ไหม
ตอบ  ไม่ได้ ที่ศูนย์ฯ7 ไม่มีการทำคลอด และรับฝากครรภ์ได้ จนถึงอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการส่งตัวไป รพ.
ที่ต้องการเพื่อการดูแลก่อนคลอด
วางแผนครอบครัว และ ตรวจหลังคลอด
ถาม  ตรวจมะเร็งปากมดลูกวันไหน และเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ตอบ  ศูนย์ฯ 7 ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทุกวันพุธ เวลา 13.00 น. - 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
      การเตรียมตัวมาตรวจมะเร็งปากมดลูก (หลังหมดประจำเดือน 5 วัน นับจากวันสุดท้าย ของการหมดประจำเดือน)
      - ห้ามสวนล้างช่องคลอด 1-2 วันก่อนตรวจ
      - ห้ามเหน็บยาที่ช่องคลอด 1-2 วันก่อนตรวจ
      - งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 วัน ก่อนมาตรวจ
 

ถาม  ค่าตรวจมะเร็งปากมดลูก ราคาเท่าไหร่
ตอบ  กรณีคนไทย ที่มีสิทธิ บัตรทองศูนย์ฯ 7 หรือ รพ อื่นๆ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ สามารถตรวจได้ปีละ 1 ครั้ง
       
Page 1 of 1