ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม – พิมเสน ฟักอุดม มีวิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของสำนักอนามัย ที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตาม  อัตลักษณ์ของสำนักอนามัย (“ซื่อสัตย์ บริการดี มีน้ำใจ”) และส่งเสริมให้มีการบริการที่มีคุณภาพ  โดยมีกรอบแนวคิดสำคัญในการพัฒนาของสำนักอนามัย ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก กล่าวคือ
1) Information-Based: เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทำงานของสำนักอนามัยจาก Data-Based ไปสู่ Information-Based
2) International, Impact, Image: โดยแบ่งกากำหนดยุทธศาสตร์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับชุมชน ระดับเมือง และระดับนานาชาติ เพื่อสอดรับกับการก้าวสู่ความเป็น “มหานคร” ของกรุงเทพฯ
3) Integration: มุ่งเน้นที่การบูรณาการ setting และการจัด package สุขภาพ เพื่อมุ่งสู่การทำงานเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง ซึ่งมีการทำงานข้ามสายงาน (cross-functional management) เพื่อลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และตอบสนองความต้องการของประชาชน
4) Involvement and Implementation: มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาพคส่วนและการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฎิบัติได้จริง

วิสัยทัศน์(Vision)
"ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน บริการด้วยใจ  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย"
คำอธิบายความหมายของวิสัยทัศน์
         ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน หมายถึง บุคลากรมีแนวทางการปฏิบัติงาน/มาตรฐานวิชาชีพ
         บริการด้วยใจ หมายถึง บุคลากรให้บริการด้วย service mind
         ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย หมายถึง ศูนย์บริการสาธารณสุข 58ล้อม-พิมเสน ฟักอุดมส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(stakeholder) ผู้รับผลงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการร่วมคิด วางแผน ออกแบบกระบวนการในการให้บริการ

ค่านิยม (Values)
"พัฒนางาน บริการด้วยใจ"
คำอธิบายความหมายของค่านิยม
          พัฒนางาน หมายถึง บุคลากรทุกคนของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดมปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นและพัฒนางานพร้อมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตามวงล้อคุณภาพ PDSA
          บริการด้วยใจ หมายถึง บุคลากรทุกคนของศูนย์บริการสาธารณสุข 58ล้อม-พิมเสน ฟักอุดมให้บริการด้วยความเคารพในสิทธิของผู้ป่วย และบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

พันธกิจ (Mission)
1) พัฒนาศักยภาพงานบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันรักษาและฟื้นฟูความสามารถตามกระบวนการคุณภาพ
2) พัฒนาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ
3) พัฒนาการบริการเชิงรุกอย่างทันต่อเหตุการณ์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
4) พัฒนาทักษะการบริการประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติงานที่ดี              
     (good practice) ให้แก่บุคลากร