ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม – พิมเสน ฟักอุดม ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 199 ตารางวา ในพื้นที่แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ การคมนาคมสะดวกมีถนนผ่านหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข มีรถโดยสารแบบประจำทางเล็กและรถจักรยานยนต์ให้บริการ บริเวณใกล้เคียงมีสถานศึกษา ศาสนสถาน ธนาคารพาณิชย์ ตลาดสด สถานีตำรวจนครบาล ห้างสรรพสินค้า บริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานประกอบการก่อเหตุความรำคาญด้านเสียงและแสง
อาคารสถานที่: ประกอบด้วย 1 อาคารใหญ่ 5 ชั้น
ประกอบด้วย
- ชั้น 1 คลินิกบำบัดยาเสพติด คลินิกวัณโรค โซนตรวจโรคติดต่อทางเดินหายใจ ห้องควบคุมระบบสาธารณูปโภค (ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบโทรศัพท์ ระบบกล้องวงจรปิด) โซนระบบสำรองน้ำชั้น1 โรงคัดแยกขยะ พื้นที่สำหรับจอดรถ
- ชั้น 2 แผนกตรวจโรคทั่วไป ประกอบด้วย ห้องเวชระเบียน จุดเตรียมตรวจ ห้องตรวจโรค 1 และ 2 ห้องปฏิบัติการพยาบาล จุด exit nurse ห้องจ่ายย และห้องการเงิน ห้องงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Department: CSSD)
- ชั้น 3 คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก ทีมสังคมสงเคราะห์ ห้องกายอุปกรณ์ ห้องกิจกรรมผู้สูงอายุ ห้องสุขศึกษา ห้องเก็บของงานทันตกรรม ห้องเก็บของงานอนามัยชุมชน1
- ชั้น 4 ห้องผู้อำนวยการศูนย์ฯ ห้องหัวหน้าพยาบาล ทีมอนามัยชุมชน ทีมอนามัยโรงเรียนและทีมสุขศึกษา ห้องการเงินและธุรการ ห้องประชุมกลางและห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge management: KM)
- ชั้น 5 ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมเล็ก ห้องเก็บของงานธุรการ ห้องเก็บของงานการเงิน ห้องเก็บของงานอนามัยชุมชน2
- ชั้นดาดฟ้า โซนควบคุมระบบสาธารณูปโภค (ระบบควบคุมปั๊มน้ำประปา ระบบสำรองน้ำชั้นดาดฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบสายล่อฟ้า ระบบโทรทัศน์ ระบบลิฟท์)
ระบบเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สำคัญ:
- ) ระบบสาธารณูปโภค: ระบบไฟฟ้า 380 โวลต์ 100 แอมป์, ระบบน้ำประปาสำหรับอุปโภคและดับเพลิง
- ) ระบบการบำบัดน้ำเสีย: เข้าสู่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของศูนย์ฯ58 ไปสู่โรงบำบัดน้ำเสียทุ่งครุ
- ) ระบบการคัดแยกและการกำจัดขยะ
- ) ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร - HCIS, BPPDS, HHC REFER, EPINETLAN Wireless
- ) อุปกรณ์ที่สำคัญ
-อุปกรณ์จำเป็นทางการแพทย์ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยชีวิต เครื่องพ่นยา เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องนึ่ง เป็นต้น
-อุปกรณ์สำคัญทั่วไป ได้แก่ ยานพาหนะ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์/โทรสาร เครื่องซักผ้า (แยกซักผ้าสะอาด/สกปรก)
กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง:
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับที่ 2 (2541) คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
- พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลป์ พ.ศ. 2542
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542)
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545
- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
- คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วยปี พ.ศ.2558
- คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข และค่าใช้จ่ายอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559
- แผนปฏิบัติราชการสำนักอนามัยปี 2562
ลักษณะสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และประชากร
เดิมเขตราษฎร์บูรณะเป็นอำเภอที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดธนบุรี ครั้งหนึ่ง โอนไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพระประแดง (สมัยนั้นเรียกว่า นครเขื่อนขันธ์ ) ต่อมาจังหวัดพระประแดงถูกยุบเป็นอำเภอและไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะจึงกลับมาขึ้นกับจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง ปัจจุบันขึ้นกับกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้
ความหมายของชื่อเขตที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มาจากคำว่า "ราษฎร์" และ "บูรณะ"เป็น "ราษฎร์บูรณะ" ตามพจนานุกรม "ราษฎร์" แปลว่า "พลเมืองของประเทศ" หรือ "แว่นแคว้นบ้านเมือง" "บูรณะ" แปลว่า "ทำให้เต็ม ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม" เมื่อนำมา สมาสรวมกันเป็น "ราษฎร์บูรณะ" จึงมีความหมายได้เป็นสองนัย คือ พลเมืองของประเทศช่วยกันสร้างขึ้นหรือรวบรวมกันตั้งขึ้น เป็นหมู่บ้าน อำเภอหนึ่ง และอีกนัยหนึ่งมีความหมายว่า เป็นเมืองที่ราษฎรช่วยกันค้ำจุนส่งเสริม และบำรุงรักษาทุกวิถีทางที่จะ ให้เป็นเมืองที่มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นสมกับเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และให้มีความเจริญเท่าเทียมกับเขตอื่น
หากจะพิจารณาตามหลักภูมิศาสตร์อำเภอราษฎร์บูรณะเดิมคงเป็นชายทะเลแถวป้อมพระจุลฯ ต่อมาแผ่นดินตอนนี้งอกและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนพ้นน้ำมีต้นไม้งอกงามเป็นป่าดงอยู่ทั่วไป ราษฎรที่อาศัยอยู่จึงช่วยกัน หักล้างถางป่าทำมาหากินมาเป็นลำดับครั้นมาถึงสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ราษฎรทั้งหลายจึงกระจัดกระจายกันออกมา และช่วยกันหักร้างถางป่าสร้างเป็นเมืองขึ้น แล้วช่วยกันปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจะได้เป็นกำแพงป้องกัน หรือเป็นด่านแรกของเมืองหลวงธนบุรี หากถูกชาติใกล้เคียงรุกรานทางเรือในสมัยนั้น
ที่ตั้งและอาณาเขตของศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม – พิมเสน ฟักอุดม
เดิมเป็นสถานีอนามัย แขวงบางปะกอกตั้งอยู่บนที่ดินเอกชน 199 ตารางวา นางสาวอุรัจฉฑาและนางสาวอุบลวรรณา มังคะลี เป็นเจ้าของที่ดินกรุงเทพมหานครได้รับโอนกิจการจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาพัฒนาเป็นศูนย์บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2521 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อ 20 ตุลาคม 2530 เปิดดำเนินการในวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ใช้ชื่อว่า “ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม” ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
ระบบกำกับดูแลองค์กร (governance system): การปฏิบัติงานภายใต้กฎหมาย ข้อบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกลยุทธการสร้างราชการใสสะอาด การสร้างความใสสะอาดของจิตสำนึกและวัฒนธรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุก ระดับ (ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการให้รางวัล ด้านการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ) การสร้างความ ใสสะอาดของระบบวิธีการทำงาน (ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการแก่ประชาชน) การสร้างความใสสะอาด ด้าน ความพร้อมให้ตรวจสอบการทำงานได้ (ด้านการพัฒนากลไกการตรวจสอบ) การบริหารความเสี่ยง กิจกรรม 5 ส การแก้ไข เรื่องร้องเรียน การประเมินผลการปฏิบัติงานแนวใหม่
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ :
1. ประชาชนผู้รับบริการ
2. หน่วยงานในสำนักอนามัย ได้แก่สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ กองสร้างเสริมสุขภาพ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกองสุขาภิบาลอาหารกองเภสัชกรรมกองการพยาบาลสาธารณสุขกองทันตสาธารณสุข
3. หน่วยงานนอกสำนักอนามัย ได้แก่ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขา กรุงเทพมหานครและกระทรวงสาธารณสุข
4. เครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเขต สถานศึกษา สถานพยาบาล ศาสนสถาน องค์กรชุมชน
5. สถานประกอบการ มูลนิธิสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตราษฎร์บูรณะ อาสาสมัครสาธารณสุขชมรมสุขภาพในพื้นที่สถานีตำรวจและ หน่วยจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติระดับเขต