คลินิกสุขภาพเด็กดี
คลินิกสุขภาพเด็กดี
คลินิกสุขภาพเด็กดีให้บริการพยาบาลแก่เด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี ให้มีสุขภาพ แข็งแรง สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย โดยจัดบริการในด้านการตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจพัฒนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามแผนการให้วัคซีนในเด็กของประเทศไทย การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพการบริการปรึกษา การดูแลเบื้อง้นในเด็กกลุ่มเสี่ยงและเจ็บป่วย ป้องกันอุบัติภัยในเด็กและส่งต่อไปยังหน่วยงานภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขในรายที่มีปัญหารวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมการดูแลเด็กอย่างถูกต้อง ภายใต้ทรัพยากรและรรบบบริการที่เหมาะสมกับหน่วยงานตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ แนะนำโดยสมาคมโรตารี่แห่งประเทศไทย
ช่วงอายุ | วัคซีนที่ได้รับ |
---|---|
แรกเกิด | BCG ไวรัสตับอักเสบบี |
1 เดือน | ไวรัสตับอับเสบบี (เฉพาะรายที่มารดาเป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบปี) |
2 เดือน | คอตีบ - บาดทะยัก - ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 1 โปลิโอชนิดกิน ครั้งที่ 1 |
4 เดือน | คอตีบ - บาดทะยัก - ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 2 โปลิโอชนิดกิน ครั้งที่ 2 โปลิโอชนิดฉีด |
6 เดือน | คอตีบ - บาดทะยัก - ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 3 โปลิโอชนิดกิน ครั้งที่ 3 |
9 เดือน | หัด หัดเยอรมัน-คางทูม ครั้งที่ 1 |
1 ปี | ไข้สมองอักเสบ เจอี (ชนิดเชื้อตาย) เข็มที่ 1 |
1 ปี 1 เดือน | ไข้สมองอักเสบ เจอี (ชนิดเชื้อตาย) เข็มที่ 2 |
1 ปี 6 เดือน | คอตีบ - บาดทะยัก - ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 4 โปลิโอชนิดกิน ครั้งที่ 4 กระตุ้นครั้งที่ 1 |
2 ปี 6 เดือน | ไข้สมองอักเสบ เจอี (ชนิดเชื้อตาย) เข็มที่ 3 หัด หัดเยอรมัน-คางทูม ครั้งที่ 2 |
4 ปี | คอตีบ - บาดทะยัก - ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 5 โปลิโอชนิดกิน ครั้งที่ 5 กระตุ้นครั้งที่ 2 |
ข้อห้าม และควรระวังทางการใช้วัคซีน
- กรณีเด็กป่วยหนัก มีไข้สูง ไอ น้ำมูก ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไป
- เด็กที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ทางเลือดไม่เกิน 3 เดือน
- เด็กที่มีอาการแพ้วัคซีนรุนแรง มีอาการ ลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำเป็นต้น
- เด็กที่อยู่ในช่วงรักษา โดยมีการรับประทานยาฆ่าเชื้อ ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไป
สนใจ/ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.02-374-3550 ต่อ 22 คุณจิตนา