กรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานสาธารณูปโภคและหน่วยงานบริการหลายหน่วยงาน

ร่วมกันให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ และแต่ละหน่วยงานมีระบบการบริหารงานที่แตกต่างกัน

การประสานระหว่างหน่วยงานไม่เป็นระบบทำให้ขาดข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้การปฏิบัติงานซ้ำซ้อน

สิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบริหารงานด้านการบริการและงานสาธารณูปโภคใน

ชั้นต้น

 

        กรุงเทพมหานครได้ร่วมมือกับกรมที่ดินและหน่วยงานสาธารณูปโภค ซึ่งประกอบด้วย การไฟฟ้า

นครหลวง การประปานครหลวง และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดทำ “โครงการจัดทำระบบ

ข้อสนเทศที่ดินกรุงเทพมหานคร’’ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อให้เกิดแนวความคิดที่สามารถนำไป

ปฏิบัติได้ซึ่งโครงการนั้นเป็นการนำระบบ GIS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลแผนที่และข้อมูล

ประกอบให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงานเมื่อระยะเวลาของโครงการเสร็จสิ้นลง ทุก

หน่วยงานได้มีการนำระบบ GIS ไปใช้พัฒนาระบบงานอย่างเป็นรูปธรรม

 

        สำหรับกรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน ได้เล็งเห็นประโยชน์จากผลการปฏิบัติงานจากโครงการ

ในการนี้สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดตั้ง “ฝ่ายสารสนเทศ” ขึ้นในกองนโยบาย

และแผนรวม ให้เป็นหน่วยงานรองรับงานด้านนี้

 

        และปี พ.ศ. 2538 ได้ปรับเปลี่ยนสถานะจากฝ่ายสารสนเทศขึ้นเป็น กองสารสนเทศที่ดิน อยู่ใน

สังกัดสำนักผังเมือง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาเมือง ต่อมาผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เห็น

ประโยชน์ที่ระบบ GIS สามารถช่วยงาน ด้านกำหนดนโยบาย วางแผน และตัดสินใจของผู้บริหารได้

อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนางานด้านอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น

 

        ปี พ.ศ. 2540 จึงได้ปรับปรุงโครงสร้างกองสารสนเทศที่ดินย้ายมาอยู่ในสังกัดสำนักนโยบายและ

แผนกรุงเทพมหานคร เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนผู้บริหารและเป็นหน่วยงานกลาง ให้คำ

แนะนำ ปรึกษา สนับสนุนในการพัฒนาระบบ GIS ให้กับหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร และเพื่อ

ให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานได้เปลี่ยนชื่อจาก “กองสารสนเทศที่ดิน” เป็น “กองสารสนเทศ

ภูมิศาสตร์” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา