ขั้นตอนการเบิกเงินค่ารักษาพยาพยาบาล กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล |
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นสถานพยาบาลของทางราชการที่ไม่มีนโยบายในการรับหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล และไม่ได้เข้าร่วมโครงการระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลจึงทำให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้น กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ถือปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับกรมบัญชีกลาง โดยให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักการคลังที่ กท 1305/6172 ลงวันที่ 6 กันยายน 2560 เรื่อง กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ขั้นตอนการเบิกเงินกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก |
1. ให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว แจ้งความประสงค์ให้โรงพยาบาลลงรหัสรายการอัตราค่าบริการสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ประกอบการขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
2. ผู้มีสิทธิส่งแบบใบขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แบบ 7131 ต่อหน่วยงานต้นสังกัดพร้อมแนบหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน เอกสารประกอบความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร แล้วแต่กรณี
3. หน่วยงานรับเอกสาร ตรวจสอบสิทธิในการเบิกตามระเบียบของทางราชการ
4. เสนอเอกสารเพื่อให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ
5. เบิกจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิ
ขั้นตอนการเบิกเงินกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน |
1. ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว แจ้งความประสงค์ให้โรงพยาบาลจัดทำเอกสารประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาล เพื่อนำมาใช้ประกอบการขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในฯ ภายใน 1 เดือน นับแต่สิ้นสุดการรักษาพยาบาล ให้กับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว
3. ผู้มีสิทธิส่งแบบใบขอเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แบบ 7131 ต่อหน่วยงานต้นสังกัดพร้อมแนบหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน เอกสารประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาล เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร แล้วแต่กรณี
4. หน่วยงานต้นสังกัดของผู้มีสิทธิตรวจสอบเอกสาร และยื่นเรื่องขออนุมัติเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นกรณีพิเศษมาที่สำนักการคลัง
5. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ดำเนินการจัดส่งสำเนารูปถ่ายใบเสร็จรับเงิน และแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในของผู้ป่วยแต่ละรายผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Email) ให้สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) เป็นผู้คำนวณ AdjRW
6. สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) คำนวณค่าน้าหนักสัมพัทธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Adjusted RW : Adj RW) ผู้ป่วยแต่ละราย เมื่อเรียบร้อยแล้วแจ้งผลกลับทาง Email
7. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง พิจารณา นำเสนอขออนุมัติการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามสายงาน อำนาจการอนุมัติเป็นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่ออนุมัติเสร็จเรียบร้อยส่งเรื่องกลับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้มีสิทธิ
8. หน่วยงานต้นสังกัด ดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้มีสิทธิ
ผังขั้นตอนกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก |
ผังขั้นตอนกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน |
เอกสารอ้างอิง
1. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs)
2. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 112 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2554
3. หนังสือสำนักการคลังที่ กท 1305/6172 ลงวันที่ 6 กันยายน 2560
4. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 177 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549
5. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/พิเศษ ว 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556
6. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 484 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560