องค์ความรู้ที่จะดำเนินการต่อยอด
การบริหารจัดการข้อมูลระบบคลังข้อมูลกลางของกรุงเทพมหานคร (BMA Data Warehouse) ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้นตามความต้องการเพิ่มเติมของผู้ใช้ ในปีงบประมาณ 2558 เนื้องานประกอบด้วย
1) การติดตามงานที่ให้บริการทั้ง 5 ด้าน
ในปีงบประมาณ 2558 จึงมีวัตถุประสงค์ในการติดตามงานที่ให้บริการทั้ง 5 ด้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแก้ปัญหาเชิงรุกและวางแผนเชิงนโยบายเพื่อรองรับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1.1 ด้านบริหารภายใน และการเงินการคลัง
นำเสนอข้อมูลในมิติการบริหารงานและการประเมินผลองค์กรด้านการเพิ่มรายได้ การลด การเพิ่มผลผลิต รวมถึงการใช้ประโยชน์จากการบริหารทรัพยากรของกรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูล มาใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ อนุมัติ บริหาร และติดตามงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
1.2 ด้านการศึกษา
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการศึกษา ยกระดับคุณภาพ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตทั้งร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.3 ด้านสาธารณสุข
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุม โรคติดต่อ การตรวจรักษา การพยาบาลผู้เจ็บป่วย รวมถึงการวางแผนทรัพยากรสาธารณสุขให้พอเพียงกับผู้เจ็บป่วย
1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม และวางแผน ติดตาม เฝ้าระวัง รวมทั้งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร สู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครให้มีความสะอาดเหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเป็นมหานครแห่งความน่าอยู่บนวิถีแห่งการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
1.5 ด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
นำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานหลักของกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้ มีการกำหนดการใช้พื้นที่ในแผนพัฒนาผังเมืองกรุงเทพมหานคร ทั้งด้านงานทาง อาคาร และที่พักผ่อน รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ
2) บทบาทของเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
1) การติดตามงานที่ให้บริการทั้ง 5 ด้าน
ในปีงบประมาณ 2558 จึงมีวัตถุประสงค์ในการติดตามงานที่ให้บริการทั้ง 5 ด้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแก้ปัญหาเชิงรุกและวางแผนเชิงนโยบายเพื่อรองรับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1.1 ด้านบริหารภายใน และการเงินการคลัง
นำเสนอข้อมูลในมิติการบริหารงานและการประเมินผลองค์กรด้านการเพิ่มรายได้ การลด การเพิ่มผลผลิต รวมถึงการใช้ประโยชน์จากการบริหารทรัพยากรของกรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูล มาใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ อนุมัติ บริหาร และติดตามงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
1.2 ด้านการศึกษา
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการศึกษา ยกระดับคุณภาพ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตทั้งร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.3 ด้านสาธารณสุข
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุม โรคติดต่อ การตรวจรักษา การพยาบาลผู้เจ็บป่วย รวมถึงการวางแผนทรัพยากรสาธารณสุขให้พอเพียงกับผู้เจ็บป่วย
1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม
นำเสนอข้อมูลในการติดตามผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม และวางแผน ติดตาม เฝ้าระวัง รวมทั้งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร สู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครให้มีความสะอาดเหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเป็นมหานครแห่งความน่าอยู่บนวิถีแห่งการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
1.5 ด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
นำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานหลักของกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้ มีการกำหนดการใช้พื้นที่ในแผนพัฒนาผังเมืองกรุงเทพมหานคร ทั้งด้านงานทาง อาคาร และที่พักผ่อน รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ
2) บทบาทของเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
- ใช้งานระบบสารสนเทศ
- ตรวจสอบและแจ้งปัญหาข้อผิดพลาดของระบบงาน
- เสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรูปแบบรายงาน
- เสนอแนะการเพิ่มเติมข้อมูล พร้อมระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
- ติดตามข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- ศึกษาข้อมูลและสร้างรายงานเพิ่มเติม
- เผยแพร่คลังข้อมูลให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานใช้ประโยชน์
- สร้างทีมงานบริหารจัดการระบบคลังข้อมูล และบริหารจัดการด้านข้อมูล (สยป.)
- จัดตั้งคณะกรรมการบริหารคลังข้อมูลกลางกรุงเทพมหานคร
- สร้างแนวร่วมในระดับหน่วยงาน เพื่อการประสานงานด้านข้อมูล และปรับปรุงการนำเสนอ
- เผยแพร่และส่งเสริมการใช้งานคลังข้อมูลกลางให้แพร่หลายในทุกระดับ
- ใช้งานระบบสารสนเทศ
- ตรวจสอบและแจ้งปัญหาข้อผิดพลาดของระบบงาน
- เสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรูปแบบรายงาน
- เสนอแนะการเพิ่มเติมข้อมูล พร้อมระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
- เผยแพร่และส่งเสริมการใช้งานคลังข้อมูลกลางให้แพร่หลายในทุกระดับ
- สร้างแนวร่วมในระดับหน่วยงาน เพื่อการประสานงานด้านข้อมูล และปรับปรุงการนำเสนอ
- สร้างทีมงานบริหารจัดการระบบคลังข้อมูล และบริหารจัดการด้านข้อมูล (สยป.)
- สร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของระบบงาน และร่วมมือร่วมใจกันผลักดันคลังข้อมูลกลางกรุงเทพมหานคร (BMA Data Warehouse) ให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้านและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน