อุทยานผีเสื้อและแมลง
อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครจัดเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลง สอดคล้องกับมาตรา25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กำหนดว่าการศึกษาเรียนรู้มิได้มีเฉพาะห้องเรียนเท่านั้น อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวมข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลง วงจรชีวิต(Life cycle) ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity) ความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ(Ecosystem) ความสำคัญของพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชอาหารของหนอนผีเสื้อ ผู้เยี่ยมชมได้รับความรู้ เห็นคุณค่า ให้ความร่วมมือรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมผีเสื้อในต่างจังหวัด
อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครดำเนินการเพาะเลี้ยงผีเสื้อกลางวันเพื่อการศึกษาเรียนรู้ประกอบด้วย
- การเยี่ยมชมแบบ walk in โดยลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชม ณ จุดลงทะเบียน
- การเข้าเยี่ยมชมแบบหมู่คณะ โดยทำหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักงานสวนสาธารณะ เพื่อขออนุญาตเข้าเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าเยี่ยมชม ประมาณ 5-7 วันทำการ
2. ส่วนกรงแสดงผีเสื้อและเรือนแมลงศึกษาเรียนรู้ชนิดของผีเสื้อมีชีวิตโบยบินในกรงแสดงและชนิดของพืชอาหารหนอนผีเสื้อ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้ชนิดผีเสื้อและแมลง ผ่านการอ่านด้วยระบบ QR Code
2. กิจกรรมเรียนรู้ ดูผีเสื้อและแมลง ในวันหยุด จัดวันเสาร์ ที่ 2 ของทุกเดือน ตลอดปีพ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น.- 11.00 น.
3. กิจกรรมวาดรูประบายสี ผีเสื้อและแมลง (เพื่อเรียนรู้ ส่วนประกอบต่างๆภายนอกของผีเสื้อและแมลง) และกิจกรรมการพับกระดาษเป็นรูปผีเสื้อ จัดวันเสาร์ ที่ 4 ของทุกเดือน ตลอดปี พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น.- 11.00 น.
4. กิจกรรมนิทรรศการผีเสื้อและแมลงเคลื่อนที่ เดือน สิงหาคม พฤศจิกายน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เดือนละ 1 ครั้งๆละ 5-10 วัน (อาจจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม)
อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครดำเนินการเพาะเลี้ยงผีเสื้อกลางวันเพื่อการศึกษาเรียนรู้ประกอบด้วย
- เรือนพ่อและแม่พันธุ์ผีเสื้อ เพื่อสะดวกในการเก็บไข่ผีเสื้อ นำไปอนุบาลเพาะเลี้ยงต่อไป มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศแบบธรรมชาติ จัดวางพันธุ์ไม้พืชอาหาร พันธุ์ไม้พืชน้ำหวานสำหรับผีเสื้อตัวเต็มวัย
- เรือเพาะเลี้ยง สำหรับเพาะเลี้ยงดูแลอนุบาล ไข่ วัยหนอนและวัยดักแด้ของผีเสื้อ เรือนเพาะเลี้ยงมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของหนอนและดักแด้ที่สมบูรณ์
- แปลงปลูกพืชน้ำหวานและพืชอาหารหนอนของผีเสื้อ โดยจัดปลูกพืชอาหาร พืชน้ำหวาน พืชวางไข่ ในพื้นที่รับผิดชอบให้มีปริมาณเพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงผีเสื้อ เช่น มะขวิด มะนาวเทศ มะนาวผี ไฟเดือนห้า เข็มชนิดต่างๆ ผกากรอง
- กรงแสดงผีเสื้อ เพื่อการเยี่ยมชมผีเสื้อมีชีวิตโบยบินในกรงจัดแสดง จัดภูมิทัศน์เลียนแบบธรรมชาติ ด้วยพันธุ์ไม้พืชอาหารหนอน พืชวางไข่ พืชให้น้ำหวาน พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น
|
การเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร
มี 2 แบบ คือ แบบหมู่คณะ และ แบบ walk in โทร. / แฟ็กซ์0 2 272 4359- การเยี่ยมชมแบบ walk in โดยลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชม ณ จุดลงทะเบียน
- การเข้าเยี่ยมชมแบบหมู่คณะ โดยทำหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักงานสวนสาธารณะ เพื่อขออนุญาตเข้าเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าเยี่ยมชม ประมาณ 5-7 วันทำการ
หรือเข้าไปชมความสวยงามของผีเสื้อและแมลงได้ที่นี่เลย https://www.facebook.com/butterfiyMBA2548/
จุดเด่น
1. ส่วนนิทรรศการ เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลง ตัวอย่างซากผีเสื้อและแมลง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง 3 มิติ จำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องได้โดยตรง( Augmented Reality) โดยวิธีการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น(Application) |
2. ส่วนกรงแสดงผีเสื้อและเรือนแมลงศึกษาเรียนรู้ชนิดของผีเสื้อมีชีวิตโบยบินในกรงแสดงและชนิดของพืชอาหารหนอนผีเสื้อ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้ชนิดผีเสื้อและแมลง ผ่านการอ่านด้วยระบบ QR Code
กิจกรรม
1. การเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร ของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆในวันทำการ ตลอดปี พ.ศ.25622. กิจกรรมเรียนรู้ ดูผีเสื้อและแมลง ในวันหยุด จัดวันเสาร์ ที่ 2 ของทุกเดือน ตลอดปีพ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น.- 11.00 น.
3. กิจกรรมวาดรูประบายสี ผีเสื้อและแมลง (เพื่อเรียนรู้ ส่วนประกอบต่างๆภายนอกของผีเสื้อและแมลง) และกิจกรรมการพับกระดาษเป็นรูปผีเสื้อ จัดวันเสาร์ ที่ 4 ของทุกเดือน ตลอดปี พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น.- 11.00 น.
4. กิจกรรมนิทรรศการผีเสื้อและแมลงเคลื่อนที่ เดือน สิงหาคม พฤศจิกายน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เดือนละ 1 ครั้งๆละ 5-10 วัน (อาจจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม)