ลูกอิน-ลูกจัน
แหล่งเรียนรู้สวนจตุจักร ลูกอิน – ลูกจัน (Gold Apple)
ต้นจัน (Diospyros decandra Lour.) จัดเป็นพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมใน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นไม้พื้นเมืองของไทย มีการเจริญเติบโตได้ช้า ใช้เวลาเป็นสิบปีจึงจะออกผล เป็นต้นไม้ที่มีผลสองแบบ ที่เรารู้จักหรือเรียกกันว่า “ลูกอิน – ลูกจัน” ผลทั้งสองชนิดนี้แท้จริงมันอยู่บนต้นเดียวกัน ความแตกต่างที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากสรีรวิทยาของพืชเอง
โดยทั่วไป เรามักพบเห็นผลที่เกิดจากต้นจันเป็นผลที่มีลักษณะแบน เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวานและฝาดเล็กน้อย ที่เราเรียกกันว่า “ลูกจัน” แท้ที่จริงแล้วต้นจันต้นเดียวกันสามารถมีผลได้ 2 แบบ มีรูปร่างแตกต่างกันชัดเจน คือ "ลูกกลมหนา-ลูกกลมแป้น" ที่เรียกกันว่า "ลูกอิน-ลูกจัน" ความมหัศจรรย์จากธรรมชาตินี้เกิดจากการที่ ต้นจันมีดอกแยกเพศในต้นเดียวกัน (monoecious) คือ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยผลที่เกิดจากดอกตัวเมียที่ได้รับการผสมเกสรจากดอกตัวผู้ (Fertilisation) จะมีลักษณะกลมหนาเรียกว่า “ลูกอิน” เมื่อผ่าออกจะพบเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด ส่วนผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสรจะมีลักษณะกลมแป้นไม่มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันนั่นเอง
โดยทั่วไป เรามักพบเห็นผลที่เกิดจากต้นจันเป็นผลที่มีลักษณะแบน เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวานและฝาดเล็กน้อย ที่เราเรียกกันว่า “ลูกจัน” แท้ที่จริงแล้วต้นจันต้นเดียวกันสามารถมีผลได้ 2 แบบ มีรูปร่างแตกต่างกันชัดเจน คือ "ลูกกลมหนา-ลูกกลมแป้น" ที่เรียกกันว่า "ลูกอิน-ลูกจัน" ความมหัศจรรย์จากธรรมชาตินี้เกิดจากการที่ ต้นจันมีดอกแยกเพศในต้นเดียวกัน (monoecious) คือ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยผลที่เกิดจากดอกตัวเมียที่ได้รับการผสมเกสรจากดอกตัวผู้ (Fertilisation) จะมีลักษณะกลมหนาเรียกว่า “ลูกอิน” เมื่อผ่าออกจะพบเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด ส่วนผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสรจะมีลักษณะกลมแป้นไม่มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันนั่นเอง
ลักษณะของผลภายนอก
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour.
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ชื่อสามัญ Gold Apple
ชื่ออื่น จันขาว จันลูกหอม จันอิน จันโอ อิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 20 เมตร ทรงต้นเป็นทรงกระสวย เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งก้านเหนียว ลำต้นตรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour.
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ชื่อสามัญ Gold Apple
ชื่ออื่น จันขาว จันลูกหอม จันอิน จันโอ อิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 20 เมตร ทรงต้นเป็นทรงกระสวย เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งก้านเหนียว ลำต้นตรง
ภายถ่ายลักษณะของทรงต้นและกิ่งอ่อนยอดอ่อน
ใบ ใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับระนาบเดียว (distichous) รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ปลายใบแหลม (acute) ขอบใบเรียบ (entire) แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น สีเขียวเข้ม กว้าง 2.5 – 3 ซม. ยาว 7 – 10 ซม. ใบอ่อนมีขนสีแดงปกคลุม
ลักษณะของใบของต้นจัน
ดอก ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน สีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมดอกช่อ ขึ้นอยู่กับเป็นดอกเพศผู้หรือเพศเมีย
- ดอกเพศผู้ เป็นช่อขนาดเล็ก แบบช่อกระจุกสั้นตามซอกใบ แต่ละช่อมีประมาณ 3 ดอก กลีบเลี้ยง 4 – 5 กลีบ เรียงเป็นรูปถ้วย (hypanthium) แต่ไม่เชื่อมกัน มีกลีบดอก 4 – 5 กลีบรูปเหยือกน้ำ (urceolate) เชื่อมติดกันสั้นๆ ยาว 1 – 1.5 ซม.
- ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ (superior ovary) มีขน ก้านเกสรตัวเมียมี 2 อัน
ภาพถ่ายลักษณะของดอก
ผล ผลเดี่ยว (simple fruit) แบบเบอร์รี่ (berry) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 5 ซม. มีทั้งผลกลมหรือผลแป้น ผิวผลเรียบ มีกลีบเลี้ยงติดที่ผล ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม ถ้าเป็นชนิดผลแป้นเมล็ดจะลีบ มีรอยบุ๋มตรงกลางผล ไม่มีเมล็ด เรียก “จันอิน” หรือ “ลูกจัน” ถ้าผลกลมจะมีเมล็ด เรียก “จันโอ” หรือ “ลูกอิน” เมล็ดมีเอนโดสเปอร์มเรียบ (albuminous seed) ลักษณะกลมรี สีน้ำตาลเป็นเมล็ดแบบสมบูรณ์เพศ สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้
ภาพถ่ายลักษณะของผล
ภาพถ่ายลักษณะของเมล็ด
ออกดอกและติดผล มิถุนายน – กันยายน
ประโยชน์ จัดเป็นพืชสมุนไพร ผลมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีสรรพคุณแก้อาการนอนไม่หลับ แก้ท้องเสีย
บำรุงกำลัง เนื้อไม้และแก่น มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงหัวใจและตับ ผลดิบสามารถนำมาตำ
ส้มตำได้ ผลสุกรับประทานสดหรือทำขนมน้ำกะทิได้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
สาระน่ารู้
ต้นจัน เป็น ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยกรุงเทพมหานคร. 2554. พรรณไม้ในโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนอง
พระราชดำริโดยกรุงเทพมหานคร – กรุงเทพฯ. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. 182 หน้า
คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพร พืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืช
สวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด. 463 หน้า
คณะนักวิจัย สำนักหอพรรณไม้. 2552. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้
และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 200 หน้า