ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
Community Development and Social Welfare Section
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชน และสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแลการดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬา และลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
1.สวัสดิการผู้พิการ
การลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ
** ยื่นลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการเดือนนี้ มีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป **
** การจ่ายเงินเบี้ยความพิการของกรุงเทพมหานครผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินภายในวันที่ 10 ของเดือน กรณีวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะเลื่อนจ่ายเงินเป็นวันทำการสุดท้ายก่อนวันหยุด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยความพิการ
- มีสัญชาติไทย
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
- มีบัตรประจำตัวผู้พิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ(ที่ไม่หมดอายุ)
- ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
หลักฐานการยื่นรับเบี้ยความพิการกรณียื่นด้วยตนเอง
1. บัตรประจำตัวคนพิการ (ที่ไม่หมดอายุ)
2. ทะเบียนบ้าน
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย
หลักฐานการยื่นรับเบี้ยความพิการกรณียื่นคำขอแทน
1. บัตรประจำตัวคนพิการฉบับจริง (ที่ไม่หมดอายุ) พร้อมสำเนา
2. ทะเบียนบ้าน
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย
4. หนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมพยาน 2 คนลงลายมือชื่อ
5. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยานทั้ง 2 คน กรณีใช้บัญชีเงินฝากของผู้รับมอบอำนาจ
**** ข้อควรรู้ กรณีคนพิการย้ายภูมิลำเนา
1. กรณีคนพิการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนไปอยู่สำนักงานเขตท้องที่อื่นของกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตแห่งใหม่จะจ่ายเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป โดยที่คนพิการไม่ต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเบี้ยความพิการ ณ สำนักงานเขตแห่งใหม่
2. กรณีคนพิการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด) สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครจะระงับการจ่ายเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป หากคนพิการประสงค์ที่จะรับเบี้ยเงินเบี้ยความพิการต่อเนื่องจะต้องไปยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการในท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2.สวัสดิการผู้สูงอายุ
การลงทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
***** เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – พฤศจิกายน 2565 และเดือนมกราคม 2566 – เดือนกันยายน 2566 ********
** การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินภายในวันที่ 10 ของเดือน กรณีวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะเลื่อนจ่ายเงินเป็นวันทำการสุดท้ายก่อนวันหยุด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. มีสัญชาติไทย
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
3. เป็นบุคคลที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2567
(เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507)
4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ
หลักฐานการยื่นลงทะเบียนผู้สูงอายุ
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ที่ไม่หมดอายุ)
2. ทะเบียนบ้าน
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกของผู้สูงอายุ
(ธนาคารใดก็ได้ หากเป็นบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) จะต้องผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น)
กรณียื่นคำขอแทน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ที่ไม่หมดอายุ) ของผู้สูงอายุ จำนวน 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริง
2. ทะเบียนบ้าน
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกของผู้สูงอายุ
(ธนาคารใดก็ได้ หากเป็นบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) จะต้องผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น)
จำนวน 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริง
4. หนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อเรียบร้อย จำนวน 1 ฉบับ
6. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
***** ข้อควรรู้ กรณีผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนา
1. กรณีผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หากประสงค์จะรับเงินเบี้ยยังชีพต่อเนื่อง จะต้องไปยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านทันที สำนักงานเขตจตุจักรจะจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุต่อไปจนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ (เดือนกันยายนของปีนั้น)
3. การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี (รายละ 3,000 บาท)
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศพเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
ยื่นคำขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุอยู่ในทะเบียนบ้านถึงแก่ความตาย ภายในกำหนด 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตร
ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของพื้นที่เขตจตุจักร
4. ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ผู้อำนวยการเขต หรือประธานชุมชนเป็นผู้ออกหนังสือรับรองตามแบบรับรองการมีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (แบบ ศผส. 02)
หลักฐานการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
1. สำเนาใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ จำนวน 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริง
2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้สูงอายุ
3. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
4. หนังสือรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณี
หมายเหตุ: งบประมาณดังกล่าวได้รับการจัดสรรจาก งบเงินอุดหนุน โครงการสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการรักษาพยาบาล
อัตราเบิกจ่ายไม่เกินครั้งละ 1,000.-บาทต่อคน และจะช่วยติดต่อกันได้ไม่เกินสามครั้ง
ยื่นคำขอในท้องที่เขตพื้นที่ที่ผู้ยื่นอาศัยอยู่ ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ออกใบรับรองแพทย์
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขอ
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครตามทะเบียนบ้าน
3. ประสบปัญหาความเดือดร้อน ยากจน หรือไร้ที่พึ่ง
4. เป็นผู้ป่วยด้วยโรคที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง
หลักฐานการยื่นขอรับการสงเคราะห์
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้าน
3. ใบรับรองแพทย์ (ที่ออกให้โดยสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่อง) จำนวน 1 ฉบับ
4. แผนที่บ้านพอสังเขป
5. เงินสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา
ยื่นคำขอในท้องที่เขตพื้นที่ที่ผู้ยื่นอาศัยอยู่ ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่สถานศึกษาออกหนังสือรับรอง
ระดับการศึกษา | อัตราเบิกจ่ายทุน (คน/ปี) |
1. อนุบาลและประถมศึกษา | ไม่เกิน 3,000 บาท |
2. มัธยมศึกษาตอนต้น | ไม่เกิน 3,500 บาท |
3. มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ | ไม่เกิน 4,000 บาท |
4. อนุปริญญา หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง | ไม่เกิน 4,500 บาท |
5. ระดับปริญญาตรี | ไม่เกิน 5,000 บาท |
หลักฐานการยื่นขอรับการสงเคราะห์
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และอายุไม่เกิน 25 ปี
2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครตามทะเบียนบ้าน
3. กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาระดับอนุบาลถึงปริญญาตรี และมีหนังสือรับรองของสถานศึกษา
4. บิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง ประสบภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตาย ทอดทิ้ง สาบสูญ ต้องโทษจำคุก พิการ ทุพพลภาพ ป่วยทางร่างกาย หรือจิตใจ ประสบสาธารณภัยหรือเหตุอื่นจนไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวตามควรแก่อัตภาพ
หลักฐานการยื่นขอรับการสงเคราะห์
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตรกรณีบุคคลอายุต่ำกว่าเจ็ดปี
2. ทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรองสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากสถานศึกษา
4. แผนที่บ้านพอสังเขป
6. ทุนประกอบวิชาชีพ
ยื่นคำขอในท้องที่เขตพื้นที่ที่ผู้ยื่นอาศัยอยู่
อัตราเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินครอบครัวละ 5,000.-บาทต่อปี
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขอ
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครตามทะเบียนบ้าน
3. ครอบครัวประสบปัญหาความเดือดร้อน ยากจน เพราะเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือผู้หาเลี้ยงครอบครัวตาย ทอดทิ้ง สาบสูญ ต้องโทษจำคุก พิการ ทุพพลภาพป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ หรือเหตุอื่นจนไม่สามารถ ประกอบอาชีพเลี้ยง ครอบครัว ตามควรแก่อัตภาพ
หลักฐานการยื่นขอรับการสงเคราะห์
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้าน
3. แผนที่บ้านพอสังเขป
7. เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
** ขยายระยะเวลาการรับสิทธิให้แก่เด็กแรกเกิดจนอายุครบ 3 ปี เป็นให้สิทธิเด็กถึงอายุ 6 ปี และขยายฐานรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย จากรายได้ครัวเรือนรวมเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี เป็น รายได้ครัวเรือนรวมเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี
สิทธิการรับเงินอุดหนุนฯ
1. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561 และเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิรายเดิมจะได้รับเงินต่อเนื่องจนอายุครบ 6 ปี ไม่ต้องมายื่นลงทะเบียนใหม่
2. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ที่มีคุณสมบัติครบ แต่ไม่เคยได้รับสิทธิมาก่อนให้มาลงทะเบียนและจะได้รับสิทธินับตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียนจนเด็กอายุครบ 6ปี
3. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 ที่มีคุณสมบัติครบ กรณีมาลงทะเบียนภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธินับจากวันที่เด็กเกิดจนถึงอายุครบ 6 ปี แต่หากลงทะเบียนหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2562 ไปแล้ว จะได้รับสิทธินับจากเดือนที่ลงทะเบียน จนอายุครบ 6 ปี
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขอ
1. หญิงตั้งครรภ์ หรือมารดา หรือบิดา หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. เด็กแรกเกิดมีสัญชาติไทย เกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้รวมเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เด็กที่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สามารถยื่นขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้
3. เด็กและผู้ปกครองพักอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตจตุจักรไม่น้อยกว่า 180 วัน มีชื่อภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่อื่นได้
หลักฐานการยื่นขอรับสิทธิ
1. แบบลงทะเบียน (แบบ ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02)
3. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของมารดาหรือบิดา หรือผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดแล้วแต่กรณี
4. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
5. สำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (หน้าที่1 และหน้าฉีดวัคซีน) จำนวน 1 ฉบับ
6. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาทะเบียนบ้านเด็กแรกเกิด จำนวน 1 ฉบับ
8. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ประเภทออมทรัพย์ เผื่อเรียก) ผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นขอรับสิทธิ จำนวน 1 ฉบับ
9. สำเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้ยื่นขอรับสิทธิ (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
10. แผนที่บ้านพอสังเขป
11. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่เจ้าหน้าที่ร้องขอ
แบบฟอร์มต่างๆ
1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
2.
แบบคำขอบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อส่งเข้ากองทุนผู้สูงอายุสำหรับจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย
3.แบบคำขอยกเลิกการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
4.แบบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/เบี้ยความพิการ
5.แบบแสดงความจำนงรับเบี้ยความพิการ
6.แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์และรับรองผู้รับผิดชอบในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี (แบบ ศผส.01)
7.แบบรับรองการจัดการศพผู้สูงอายุ กรณีไม่ได้รับการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ในปีที่ตาย และผู้สูงอายุอยุ่ในครัวเรือนยากจนตามเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (แบบ ศผส.02)
8.คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักสถานศึกษา
9.แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.01)
10.แบบรับรองสถานะของครัวเรือน ตามรางแสดงจำนวนสมาชิกและรายได้ของครัวเรือน (แบบ ดร.02)
11.แบบฟอร์มการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
12.แบบฟอร์มข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP
ให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ชั้น 3
โทรศัพท์ 0 2513 3444 ต่อ 5234 , 5236
โทรศัพท์ 0 2513 9954