Welcome to the official website of Chatuchak district office ❋ Xin chào ❋ Salamatseng ❋ ສະບາຍດີ ❋ Mingkalaba ❋ Selamat ❋ ជំរាបសួរ ❋ Selamat datang ❋ 你好 ❋ Kumusta.

จตุจักร ผว.กทม.ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยโควิด19 เขตจตุจักร....

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
image
จตุจักร ผว.กทม.ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยโควิด19 เขตจตุจักร....
 
(เสาร์ที่10กรกฎาคม2564) เวลา 09.00 น.
พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตจตุจักร (community isolation) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19 กลุ่มสีเขียว ที่ไม่แสดงอาการ ก่อนนำส่งต่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร และศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ เขตจตุจักร โดยมีนายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนายอาฤทธิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการเขตจตุจักร นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ และนางสาวภัทร์กร สินสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักร ผู้บริหารกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม
 
สำหรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตจตุจักร มีจำนวน 2 แห่ง โดยแห่งแรก จะใช้พื้นที่อาคารศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร จัดตั้งเป็นศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วย โดยจะรองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด19 กลุ่มสีเขียว เพื่อแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ รอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป โดยศูนย์ฯ แห่งนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 120 เตียง แบ่งเป็นชาย 60 เตียง หญิง 60 เตียง และแห่งที่สอง จะใช้พื้นที่ของศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 180 เตียง แบ่งเป็นชาย 90 เตียง หญิง 90 เตียง โดยศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ บริเวณอาคารศูนย์สร้างสุขทุกวัย จะสามารถเปิดรองรับผู้ป่วย ได้ในวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564 ส่วนศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ บริเวณศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ จะสามารถเปิดรองรับผู้ป่วยได้ในวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564 
 
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด19 ที่เข้าพักในศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ จะได้รับการดูแลประเมินอาการอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งจะทำการคัดกรองอาการและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น โดยเตรียมพร้อมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และของใช้ที่จำเป็น อาทิ เตียง ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม พัดลม ถุงมือ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดออกซิเจน เครื่องวัดอุณหภูมิ รวมถึงมีการติดตั้งระบบกล้อง CCTV เสียงตามสาย และสถานที่ทิ้งขยะติดเชื้อ โดยมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ เป็นผู้บริหารจัดการผู้ป่วย

 

(จตุจักร) ผว.กทม.ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยโควิด19เขตจตุจักร....

(เสาร์ที่10กรกฎาคม2564) เวลา 09.00 น.
พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตจตุจักร (community isolation) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19 กลุ่มสีเขียว ที่ไม่แสดงอาการ ก่อนนำส่งต่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร และศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ เขตจตุจักร โดยมีนายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนายอาฤทธิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการเขตจตุจักร นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ และนางสาวภัทร์กร สินสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักร ผู้บริหารกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

สำหรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตจตุจักร มีจำนวน 2 แห่ง โดยแห่งแรก จะใช้พื้นที่อาคารศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร จัดตั้งเป็นศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วย โดยจะรองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด19 กลุ่มสีเขียว เพื่อแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ รอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป โดยศูนย์ฯ แห่งนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 120 เตียง แบ่งเป็นชาย 60 เตียง หญิง 60 เตียง และแห่งที่สอง จะใช้พื้นที่ของศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 180 เตียง แบ่งเป็นชาย 90 เตียง หญิง 90 เตียง โดยศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ บริเวณอาคารศูนย์สร้างสุขทุกวัย จะสามารถเปิดรองรับผู้ป่วย ได้ในวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564 ส่วนศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ บริเวณศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ จะสามารถเปิดรองรับผู้ป่วยได้ในวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด19 ที่เข้าพักในศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ จะได้รับการดูแลประเมินอาการอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งจะทำการคัดกรองอาการและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น โดยเตรียมพร้อมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และของใช้ที่จำเป็น อาทิ เตียง ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม พัดลม ถุงมือ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดออกซิเจน เครื่องวัดอุณหภูมิ รวมถึงมีการติดตั้งระบบกล้อง CCTV เสียงตามสาย และสถานที่ทิ้งขยะติดเชื้อ โดยมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ เป็นผู้บริหารจัดการผู้ป่วย