วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564
จตุจักรตรวจความเรียบร้อยศูนย์พักคอยกึ่งรพ.สนาม@ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร....
จตุจักรตรวจความเรียบร้อยศูนย์พักคอยกึ่งรพ.สนาม@ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร....
(เสาร์ที่21สิงหาคม2564) เวลา 14.00 น.
นายอาฤทธิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการเขตจตุจักร พร้อมด้วยนางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักร และผู้บริหารเขตฯ ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (community isolation plus) "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน ลดการแพร่กระจายของเชื้อ ณ ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" เขตจตุจักร
สำหรับศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (community isolation plus) "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" สามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จำนวน 120 เตียง โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 มีผู้ป่วยครองเตียง ทั้งหมด 75 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยชาย 34 ราย ผู้ป่วยหญิง 35 ราย ผู้ป่วยเด็กชาย 5 ราย และผู้ป่วยเด็กหญิง 1 ราย คงเหลือเตียงว่าง จำนวน 45 เตียง เป็นชาย 21 เตียง และหญิง 24 เตียง
ทั้งนี้ ในพื้นที่เขตจตุจักร มีศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน รอการส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" รองรับผู้ป่วย จำนวน 120 เตียง, ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ "ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์" รองรับผู้ติดเชื้อ จำนวน 180 เตียง และศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อกลาง กรุงเทพมหานคร "โรงซ่อมบำรุงรถไฟ สถานีกลางบางซื่อ" รองรับผู้ติดเชื้อ จำนวน 400 เตียง
(เสาร์ที่21สิงหาคม2564) เวลา 14.00 น.
นายอาฤทธิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการเขตจตุจักร พร้อมด้วยนางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักร และผู้บริหารเขตฯ ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (community isolation plus) "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน ลดการแพร่กระจายของเชื้อ ณ ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" เขตจตุจักร
สำหรับศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (community isolation plus) "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" สามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จำนวน 120 เตียง โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 มีผู้ป่วยครองเตียง ทั้งหมด 75 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยชาย 34 ราย ผู้ป่วยหญิง 35 ราย ผู้ป่วยเด็กชาย 5 ราย และผู้ป่วยเด็กหญิง 1 ราย คงเหลือเตียงว่าง จำนวน 45 เตียง เป็นชาย 21 เตียง และหญิง 24 เตียง
ทั้งนี้ ในพื้นที่เขตจตุจักร มีศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน รอการส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม "ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร" รองรับผู้ป่วย จำนวน 120 เตียง, ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ "ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์" รองรับผู้ติดเชื้อ จำนวน 180 เตียง และศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อกลาง กรุงเทพมหานคร "โรงซ่อมบำรุงรถไฟ สถานีกลางบางซื่อ" รองรับผู้ติดเชื้อ จำนวน 400 เตียง