ระบบงานจัดซื้อ/เช่า
ระบบงานจัดซื้อ/เช่า . .
หน่วยงาน : ฝ่ายพัฒนาระบบงาน กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
เบอร์ติดต่อ : 0 2203 2781, 0 2203 2782, 0 2203 2785
ลิงค์ระบบงาน : http://misweb.bma.go.th/
คู่มือการใช้งาน : http://misdocument.bma.go.th
รายละเอียดงานโดยสรุป :
ระบบงานจัดซื้อ/เช่ามีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลการจัดหาพัสดุในองค์กร เริ่มตั้งแต่ การจัดการข้อมูลผู้ค้า/เจ้าหนี้ การจัดทำใบแจ้งการจัดหา (Purchase Requisition) บันทึกวิธีการจัดหา จัดทำใบขอให้เสนอราคา (Request for Quotation) บันทึกข้อมูลผลการคัดเลือกผู้ค้า จัดทำใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า หรือสัญญา บันทึกผลการตรวจรับพัสดุ และจัดทำรายงานที่จำเป็นในการควบคุม และติดตามความก้าวหน้าในการจัดหาพัสดุ และประวัติเกี่ยวกับจัดซื้อ/เช่า
กระบวนการทำงาน : ของระบบงานจัดซื้อ/เช่ามีดังนี้
เห็นชอบจัดซื้อ/เช่า » เสนอราคา » อนุมัติจัดซื้อ/เช่า » ใบสั่งซื้อ/สัญญา » ส่งมอบ » ตรวจรับ
คำถามที่พบบ่อย (Q&A)
Q : กรณีจัดซื้อหนังสือพิมพ์ประจำเดือนกันยายนและมีการเบิกจ่ายในเดือนตุลาคม เมื่อไปทำใบเบิกในระบบการเงินจ่ายระบบจะถามถึงเลขที่ใบกันเงิน
A : » ในระบบจัดซื้อให้ไปที่เมนูข้อมูลอื่นๆ หัวข้อบันทึกเพิ่มเติมรายการงบประมาณจัดซื้อ
» เพิ่มงบประมาณปีปัจจุบันเข้าไปอีก 1 รายการและจำนวนเงินที่ใช้คือเงินที่จะเบิกจ่ายในเดือนกันยายน
Q : กรณีจัดซื้อนมโดยใช้งบประมาณปกติและเงินนอกงบประมาณ
A : เวลาทำใบตรวจรับต้องแยกใบตรวจรับสำหรับงบประมาณปกติและใบตรวจรับสำหรับเงินนอกงบประมาณออกจากกัน
Q : ในกรณีที่สัญญาถูกนำไปกันเงินเรียบร้อยแล้ว
A : จะไม่สามารถไปเพิ่มหรือลดยอดงบประมาณได้นอกจากไปยกเลิกใบกันนั้นๆ ก่อน
Q : ในกรณีที่ไม่พบเลขที่ใบตรวจรับในหน้าจอบันทึกใบขอเบิก
A : » ตรวจสอบว่าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณเป็นของใครให้หน่วยงานนั้นทำใบขอเบิก
» สอบถามข้อมูลการเบิกจ่ายเงินของใบตรวจรับ ซึ่งถ้ามีการทำใบเบิกแล้วจะแสดงเลขที่ใบเบิกให้ทราบ
Q : ในกรณีที่มีการอนุมัติเงินงวดหลังวันที่เริ่มต้นใบสั่งหรือสัญญา
A : ให้ไปบันทึกข้อมูลใบสั่งจ้าง/สัญญาซื้อขายแบบเนื้องาน
Q : ในกรณีที่ทำใบขอเบิกเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องการยกเลิกใบตรวจรับ/ยกเลิกดำเนินการจัดซื้อ
A : ให้ไปยกเลิกใบขอเบิกก่อน ถ้าเป็นฎีกาแล้วให้ผู้อนุมัติฎีกายกเลิกฎีกาก่อน
Q : ในกรณีที่มีการจองเงินหรือก่อหนี้เกินวงเงินที่เบิกจ่ายจริง
A : » ไปที่เมนูข้อมูลอื่นๆ หัวข้อบันทึกเพิ่มเติมรายการงบประมาณจัดซื้อ
» ใช้รหัสจัดซื้อนั้นๆ ดึงข้อมูลขึ้นมาแก้ไข จำนวนเงินที่ใช้ให้ตรงกับยอดเบิกจ่ายจริง
Q : ในกรณีบันทึกข้อมูลผิดพลาด
A : » หากยังไม่ได้ดำเนินการบันทึกในขั้นตอนถัดไป สามารถย้อนกลับไปแก้ไขข้อมูลได้
» แต่หากดำเนินการบันทึกข้อมูลในขั้นตอนถัดไปแล้วจะไม่สามาถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้ จะต้องดำเนินการยกเลิกการจัดซื้อเท่านั้น
» ยกเว้นขั้นตอนการทำสัญญา จะสามารถย้อนกลับมาแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เพียงขั้นตอนเดียว