Supercapaciter
Supercapaciter
โดย อวยไชย พันละม้าย
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
…………………………..
คือแหล่งจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานของมวลมนุษย์โลกภายใต้การผลิตจากวัตถุดิบที่สะอาดจากงานวิจัยการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านพลังงานของภาคเอกชนเพื่อเติมเต็มการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ และระบบเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บพลังงานและการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประชาชนชาวไทยและชาวโลก ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้เริ่มสร้างผลงานออกมาสู่ท้องตลาดเพื่อให้ประชาชนได้นำไปใช้งานในชีวิตประจำวันและปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบตเตอรี่รถยนต์ออกวางจำหน่ายแต่การใช้งานยังอยู่ในกลุ่มเล็กๆ ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายในท้องตลาด มีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบเดิมที่จำหน่ายในท้องตลาดประมาณสองเท่า แต่ผู้วิจัยและพัฒนายังได้ทำการวิจัยและต่อยอดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชนได้นำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Supercapacitor ดังกล่าวไปสร้างเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่จัดเก็บพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร สมาร์ทโฟน ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์และแสงจันทร์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผู้ผลิตได้ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศมาทำการวิจัย ซึ่งเมื่อผลิตภัณฑ์ได้ใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็จะเป็นการสร้างอาชีพและช่องทางการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรวมถึงการช่วยลดมลพิษที่เกิดจากสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานอยู่เดิมอีกทางหนึ่งซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต Supercapacitor สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้และการวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานที่คิดค้นและผลิตโดยคนไทย จากคำกล่าวข้างต้นสามารถสรุปคุณสมบัติของ Supercapacitor ที่นำมาใช้ผลิตแบตเตอรี่ได้ดังนี้
1. เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักกับแบตเตอรี่ชนิดกรดในปัจจุบันมีน้ำหนักเบากว่าประมาณ 10 เท่า
2. มีค่าความจุของประจุไฟฟ้ามากกว่า 10 เท่า เมื่อเปรียบเทียบในพื้นที่การจัดเก็บที่เท่ากัน
3. กำลังไฟฟ้าที่จ่ายออกจากแบตเตอรี่มีค่าคงที่จึงลดความสูญเสียอันไม่พึงประสงค์ของระบบ
4. ใช้เวลาที่สั้นกว่าประมาณ 20 เท่าของแบตเตอรี่แบบเดิมในการจัดเก็บประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่
5. มีอายุการใช้งานที่มากกว่า 3 เท่าของแบตเตอรี่แบบเดิม
6.วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าวจึงเป็นแหล่งจัดเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพในอนาคตและเหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ของโลกต่อไป