ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต |
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต |
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร |
O23 | ประกาศนโยบายต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy) และนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด (No Gift Policy) จากการปฏิบัติหน้าที่ | ☐ประกาศนโยบายการต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy) และนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด (No Gift Policy) จากการปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้อำนวยการเขตคนปัจจุบัน โดยใช้กรอบตามแนวนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - Clip Video - การประกาศนโยบาย No Gift Policy - Banner ประกาศนโยบาย No Gift Policy ☐ ให้เผยแพร่ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กับฉบับภาษาไทย
☐ เนื้อหาของนโยบาย ประกอบด้วย ☐ วัตถุประสงค์ ☐ ขอบเขตใช้บังคับกับใครบ้าง ☐ นิยามคำว่า สินบน หมายถึงอะไรบ้าง รวมถึงการรับของขวัญ ของกำนัล (Gift) ค่าอำนวยความสะดวก เครื่องแสดงไมตรีจิต การรับบริจาค การรับเลี้ยง และประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน เมื่อการเสนอ การให้ หรือ การรับที่สามารถพิจารณาอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ว่าคือสินบน และรวมถึง การให้หรือรับกันภายหลัง (การรับของขวัญจากการปฏิบัติหน้าที่ จะแตกต่างจากการรับโดยธรรมจรรยา ซึ่งหมายถึง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากบุคคลที่ให้กันในโอกาสเทศกาลหรือวันสำคัญ ดังนั้น การรับของขวัญ ของกำนัล หรือสินน้ำใจ จากการปฏิบัติหน้าที่ อาจเป็นการรับสินบน นโยบายจึงต้องกำหนดให้ชัดเจน) ☐ การฝ่าฝืนนโยบายจะมีมาตรการจัดการอย่างไร ☐ มาตรการติดตามตรวจสอบ ☐ ช่องทางร้องเรียน แจ้งเบาะแส ☐ มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส (การรักษาความลับ) ☐ ระบุวัน เดือน ปี ที่ประกาศ - หมายเหตุ:
- แนวทางการจัดทำสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม
- ในการประกาศนโยบายของปีต่อ ๆ ไป กรณีผู้อำนวยการเขตคนปัจจุบันที่เคยประกาศนโยบายไว้สามารถใช้ของเดิมได้นอกจากมีการปรับปรุงข้อมูล
|
O24 | การมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการเขต | ☐ แสดงกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการเขตคนปัจจุบัน ในการเสริมสร้างคุณธรรม ความโปร่งใส การต่อต้านการทุจริต/สินบนในหน่วยงาน ☐ เป็นการดำเนินการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 |
การป้องกันและลดโอกาสการทุจริต |
O25 | การประเมินความเสี่ยงการทุจริต และการรายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต | การประเมินความเสี่ยงการทุจริต ☐ แสดงการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบและแผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต และประพฤติมิชอบ ☐ เป็นการดำเนินการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ☐ ทุกฝ่ายภายในของสำนักงานเขตต้องทำการประเมินความเสี่ยงการทุจริตฯ ☐ การประเมินความเสี่ยงการทุจริตฯ อย่างน้อยต้องมีข้อมูล ดังนี้ ☐ ชื่อกระบวนงาน/งาน/โครงการ ☐ เกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงการทุจริตฯ ☐ ระบุประเด็นความเสี่ยงการทุจริต (เหตุการณ์หรือรูปแบบพฤติการณ์การทุจริตฯ) ☐ ระดับของความเสี่ยงการทุจริตฯ ☐ แผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริตฯ การรายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ☐ แสดงผลการจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริตฯ ☐ เป็นข้อมูลในระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ☐ ระบุข้อมูลในการจัดทำ ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 |
O26 | แผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการและการรายงานผล การดำเนินการตามแผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ | แผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ☐แผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประจำปีงบประมาณ เพื่อลดอุปสรรคและพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน (ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะมีการรับค่าอำนวยความสะดวกหรือเกิดการติดสินบน) โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การระบุความยุ่งยาก (pain point) อุปสรรค หรือความต้องการของผู้ขอรับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือประชาชน อาจนำมาจากการรับฟังความคิดเห็นหรือจากการวิเคราะห์การสังเกตจากสภาพปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างไร(อธิบายถึงวิธีการ (how to) และมีผลลัพธ์ผลกระทบต่อประชาชนในทางบวกอย่างไร ☐แผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ประกอบด้วย การให้บริการอย่างน้อย 3 กระบวนงาน ดังนี้ ☐ ฝ่ายโยธา อย่างน้อย 2 กระบวนงาน ดังนี้ ☐ การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร ☐ การขออนุญาตระบายน้ำฝนและน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ☐ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 1 กระบวนงาน คือ การขออนุญาต จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร (รายใหม่) การรายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ☐ผลการดำเนินการหรือความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ตามแผนฯ ที่ได้กำหนดไว้ โดยแสดงผลการดำเนินการในรูปแบบ Infographic เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนให้เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ |
O27 | แนวทางการปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ | ☐ แนวทางการปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจ เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ มีมาตรฐานเดียวกัน ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ☐ แนวทางปฏิบัติฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการเขต ☐ แนวทางการปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ อย่างน้อย 3 กระบวนงาน ดังนี้ ☐ ฝ่ายโยธา อย่างน้อย 2 กระบวนงาน ดังนี้ ☐ การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร ☐ การขออนุญาตระบายน้ำฝนและน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ☐ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 1 กระบวนงาน คือ การขออนุญาต จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร (รายใหม่) |
O28 | แผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี และผลการดำเนินการตามแผนฯ | แผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี ☐ แสดงแผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเขต โดย ☐ แผนต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการเขต ☐ ในการจัดทำแผนฯ ให้มีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการ/ กิจกรรม บรรจุในแผนฯ อย่างน้อย ดังนี้ ☐ ความเชื่อมโยง แผนแม่บทรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ☐ สถานการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ ของสำนักงานเขต ได้แก่ ข้อร้องเรียน คดีทุจริตที่เกิดขึ้น ข้อทักท้วง ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ☐ แนวนโยบายของการต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy) ของสำนักงานเขต ☐ ผลการประเมิน ITA ในปีที่ผ่านมาของสำนักงานเขต ☐ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ☐ ให้มีการบรรจุโครงการ/กิจกรรม ในการให้ความรู้เกี่ยวกับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ไว้ในแผนฯ ด้วย วิธีการให้ความรู้ อาจดำเนินการในรูปแบบใดแบบหนึ่ง ก็ได้ เช่น การจัดทำสื่อหรือเอกสารเผยแพร่ การอบรม ฯลฯ รายงานผลการดำเนินการตามแผนฯ ☐ รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ☐ เป็นข้อมูลในระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ☐ ระบุข้อมูลในการจัดทำ ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 โดยมีการรายงานถึงผู้อำนวยการเขต |
ระบบการรักษาทรัพย์สินของราชการ |
O29 | การจัดการทรัพย์สินของราชการของบริจาคและการจัดเก็บของกลาง | การจัดการทรัพย์สินของราชการและของบริจาค ☐ แสดงการวางระบบการดูแลจัดการทรัพย์สิน เพื่อป้องกันการนำทรัพย์สินของราชการและของบริจาคไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน โดยอย่างน้อย ดังนี้ ☐ จำแนกประเภททรัพย์สินของราชการและของบริจาค ☐ กำหนดแนวทางควบคุม กำกับ ดูแลรักษา ทรัพย์สินของราชการและของบริจาค โดยเฉพาะทรัพย์ประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการนำไปใช้โดยมิชอบ ☐ กำหนดแนวทางการยืมหรือเบิกจ่ายทรัพย์สินของราชการหรือของบริจาคไปใช้ปฏิบัติงานที่ชัดเจน ☐ แนวทางการเผยแพร่หรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ทรัพย์สินของราชการและของบริจาคได้อย่างถูกต้อง การจัดเก็บของกลาง ☐ แสดงการวางระบบการจัดเก็บรักษา ของกลาง ที่ยึด อายัดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสับเปลี่ยน หรือไม่นำเข้าระบบ หรือเข้าระบบบางส่วน เพื่อแลกกับ การเรียกรับผลประโยชน์ทั้งทางคดีและรับทรัพย์สิน มีระบบควบคุมที่เพียงพอ และเหมาะสมตามประเภทของของกลางนั้น ๆ |