ภาษีบำรุงท้องที่สามารถชำระได้ที่ใดบ้าง
  1.  สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
  2.  กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร1 (เสาชิงช้า)
  3.  ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
  4.  ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคาร สั่งจ่าย “กรุงเทพมหานคร” โดยทางไปรษณีย์
หมายเหตุ .
     1. การชำระเงินต้องมีใบแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท.9) ไปแสดง จึงจะสามารถชำระเงินได้
     2. กรณีเป็นหนังสือเตือนค้างชำระ ไม่สามารถนำไปชำระที่ธนาคารกรุงไทยได้
อัตราภาษีป้ายคิดอย่างไร
 เนื่องจากมีกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563 ให้ใช้บังคับสำหรับป้รายที่ต้องเสียภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 กำหนดอัตราภาษีป้าย ดังต่อไปนี้
     1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
         (ก) ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา 10 บาท ต่อ ห้าร้อยตารางเซนติเมตร
         (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 5 บาท ต่อห้อร้อยตารางเซนติเมตร
     2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอัษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น ๆ 
         (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
         (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 26 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
     3. ป้ายที่ไม่มีข้อความอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆๅ หรือไม่ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
         (ก) ป้ายที่มีความความเป็นเครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
         (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 50 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

หมายเหตุ เมื่อคำนวนอัตราภาษีป้ายแต่ละป้ายแล้วต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียอัตราป้ายละ 200 บาท
ทรัพย์สินใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
                     1.  พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
                     2.  ทรัพย์สินของรัฐในกิจการของรัฐและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
                     3.  ทรัพย์สินของโรงพยาบาลและโรงเรียนของสาธารณะซึ่งกระทำการโดยมิใช่การหารายได้หรือผลกำไรส่วนบุคคลและใช้ในกิจการรักษาพยาบาลและการศึกษา เช่น โรงพยาบาลของรัฐบาล โรงเรียนของรัฐบาลเป็นต้น
                     4.  ทรัพย์สินซึ่งเป็นของศาสนสมบัติใช้ในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์
                     5.  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอาศัย นอกจากให้คนเฝ้า
                     6.  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้
Page 1 of 1