ยานนาวา ร่วมกับสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สุ่มตรวจหาเชื้อก่อโรคในนกพิราบ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
image

ยานนาวา ร่วมกับสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สุ่มตรวจหาเชื้อก่อโรคในนกพิราบ

(12 พ.ย.2561) นายสุทัศน์ รุจิณรงค์ ผู้อำนวยการเขตยานนาวา นางสาวโศรยา วัธชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตยานนาวา พร้อมหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายเทศกิจ ร่วมกับสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข  และกองควบคุมโรคติดต่อ ลงพื้นที่เขตยานนาวาสุ่มตรวจหาเชื้อก่อโรคในนกพิราบ อันตรายที่มากับ “นกพิราบ” หลักๆ มี 3 ชนิด ได้แก่ โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ สูดดมเอาเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งอาจพบได้ในมูลของนกพิราบ ที่จะมีเชื้อราอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ อาจจะหายใจเอาละอองมูลแห้งเข้าไป หรือมืออาจจะสัมผัสโดนมูลนกพิราบ แล้วไม่ได้ทำความสะอาดมือ หยิบจับอาหารเข้าปาก เราก็ติดเชื้อผ่านทางเดินอาหารได้เช่นกัน โรคคริปโตคอกโคสิส สามารถพบได้ในมูลของนกพิราบ และนกอื่นๆ เช่น นกคานารี นกหงษ์หยก นกแก้ว นกกระตั้ว นกแขกเต้า ไก่ นกกระจอก นกเอี้ยง นกเขา ซึ่งนกเหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยออกมา แต่คนก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน หากเป็นคนที่ภูมิต้านทานต่ำ อาจหายใจเอาเชื้อราจากดินรอบๆ ที่เลี้ยงสัตว์ หรือจากมูลสัตว์อย่างนกพิราบเข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้เป็นไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางด้านการมองเห็น มึนงง หากมีอาการติดเชื้อที่ปอด หรือสมอง อาจมีอาการสับสน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ จากเชื้อราชนิดเดียวกัน (เชื้อรา Cryptococcus neoformans) หากสูดดมเอาละอองสปอร์ หรือเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ เริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แล้วจะเริ่มมีอาการคล้ายๆ กับ 2 โรคที่กล่าวมา นั่นคือ มีไข้ ปวดศีรษะเป็นพักๆ หน้ามืด วิงเวียน ปวดขมับ เบ้าตา หรืออาจถึงขั้นอาเจียน ไอแล้วเสมหะมีเลือดปน อาจมีหลอดลมอักเสบร่วมด้วย และที่สำคัญอาจติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
ภาพ/ข่าว : เพทาย สุพรรณ์ ปชส.เขตยานนาวา รายงาน