การให้บริการตามอำนาจหน้าที่
ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง (ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนพินัยกรรม)การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน และการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
การสอบสวน/การรับรองบุคคลและเรื่องราวต่างๆ
เป็นการดำเนินการสอบสวน ออกหนังสือรับรองกรณีต่าง ๆ ให้ผู้ประสงค์ที่จะได้หนังสือรับรองติดต่อสำนักงานเขตท้องที่ที่มีชื่อใน ทะเบียนบ้านได้ดังนี้
1. รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
2. รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ
3. รับรองสถานที่เกิด-ตาย
4. รับรองว่าบ้านประสบสาธารณภัย
5. รับรองความประพฤติ
6. รับรองว่าบุคคลยังมีชีวิตอยู่เพื่อไปรับบำนาญ
7. รับรองสถานภาพการสมรส
8. รับรองลายมือชื่อกรณีให้ความยินยอมบุตรเดินทางไปต่างประเทศ
9. รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตรหรือผู้ส่งเงินในต่างประเทศเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี
10. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาผู้กู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
11. รับรองรายการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
12. สอบสวนการอุปการะเลี้ยงดูหรือปกครองบุตรฝ่ายเดียว
13. สอบสวนประกอบพิจารณาพักการลงโทษ
14. สอบสวนบุคคลผู้เป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง
15. สอบสวนทายาทเพื่อรับบำเหน็จตกทอด
16. สอบสวนรับรองการเสียชีวิตไปนานแล้วแต่ไม่มีหลักฐาน
17. การสอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลกรณีอื่นๆ
การรับรองบุคคล
มอบอำนาจไม่ได้ยกเว้นในกรณี
1. รับรองสถานที่เกิด
2. รับรองสถานภาพสมรส
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านฉบับจริงพร้อมสำเนา
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ฉบับจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
4. ใบสำคัญการสมรสฉบับจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
5. เอกสารที่จะให้รับรองและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. พยานบุคคล อย่างน้อย 2 คน พร้อมด้วย
• บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง พร้อมสำเนา
• สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ฉบับจริงพร้อมสำเนา
• ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ฉบับจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
กรณียกเว้นไม่ต้องใช้พยานบุคคล คือ เรื่องรับรองลายมือชื่อ กรณีให้ความยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ และรับรองฐานะบุคคลเพื่ออุปการะผู้พ้นโทษ
การทำพินัยกรรม
พินัยกรรมที่สำนักงานเขตมีหน้าที่เกี่ยวข้องมี 3 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
2. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม
3. กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุเกิน 60 ปี หรือป่วยควรมีใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
4. พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน (ต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียกับทรัพย์สินในพินัยกรรม)
5. หลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
• ค่าธรรมเนียมกรณีทำในสำนักงานเขต 50 บาท คู่ฉบับๆ ละ 10 บาท
• กรณีทำนอกสำนักงานเขต 100 บาท คู่ฉบับๆ ละ 20 บาท
2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. พินัยกรรมซึ่งใส่ซองปิดผนึกแล้ว
4. พยานบุคคล 2 คน
• ค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท
3. พินัยกรรมทำด้วยวาจา
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. พยานบุคคล 2 คน
การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. พยานบุคคล 2 คน
• ค่าธรรมเนียม 20 บาท กรณีฝากเก็บรักษาออกใบรับตามแบบ พ.ก.8 และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 20 บาท
การถอน การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หลักฐานการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
4. พยานบุคคล 2 คน
• ค่าธรรมเนียม 20 บาท กรณีฝากเก็บรักษาออกใบรับตามแบบ พ.ก.8 และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 20 บาท
การสละมรดก
หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. กรณีเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ ต้องมีหลักฐาน คือ
• หลักฐานของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
• คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
4. หลักฐานการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
5. พยานบุคคล 2 คน
• ค่าธรรมเนียม 20 บาท กรณีฝากเก็บรักษาออกใบรับตามแบบ พ.ก.8 และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 20 บาท
การจดทะเบียนพาณิชย์
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 17 พาณิชยกิจ
• บุคคลธรรมดา นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบพาณิชยกิจ ข้อ 1-17
• นิติบุคคลที่ประกอบพาณิชยกิจ ข้อ 6-17
1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างๆ ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค่าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงินการธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
6. ขาย ให้เช่าแผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิตอลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณีหรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
9. การบริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
10. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
11. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
12. การผลิตหรือรับจ้างผลิตแผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
13. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
14. การให้บริการฟังเสียงเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
15. การให้บริการเครื่องเล่นเกม
16. การให้บริการตู้เพลง
17. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการและสำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงาน
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าของบ้าน ณ สถานที่ประกอบการดังกล่าว ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม คือ
• หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
• กรณีเช่าสถานที่
1. ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
• สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ตั้งสถานที่ประกอบการ
• สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
• เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์อาคารสถานที่ตั้งสำนักงาน
2. ผู้ให้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
• สำเนาสัญญาเช่า พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจจะทำการแทนบริษัท
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
3. กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
• สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด
6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็น หุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือจดจัดตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนพาณิชย์
หลักฐานที่ต้องใช้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. ใบทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
หลักฐานที่ต้องใช้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ/หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3. สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
4. สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
อัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนพาณิชย์
1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท
2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ฉบับละ 20 บาท
3. จดทะเบียนยกเลิกประกอบกิจการพาณิชยกิจ ฉบับละ 20 บาท
4. ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
5. ขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท
6. คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 30 บาท
หมายเหตุ
1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวันเลิกประกอบกิจการ
2. กรณีแจ้งยกเลิกเพราะเหตุที่ผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม ให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่ง หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ทำการแทนทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท
การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.1 ณ สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งขึ้น
หลักฐานที่ใช้ จำนวน 3 ชุด (เอกสารทุกฉบับรับรองสำเนา) คือ
1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิและการจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
4. หนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ
5. สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิเกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐ วิสาหกิจออกให้ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของทรัพย์สินตามข้อ 1 และกรรมการตามข้อ 2 ทุกคน
7. แผนผังโดยสังเขป แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทุกแห่ง (ถ้ามี)
8. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตามข้อ 7 โดยต้องแสดงหลักฐานหนังสืออนุญาตจากเจ้าของสถานที่ พร้อมด้วยหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ในการครอบครองของผู้มีอำนาจอนุญาต เช่น โฉนดที่ดิน หลักฐานการซื้อขาย
9. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ
10. หลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือทายาท หรือส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
กรณีจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
• กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ให้ มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิได้มีมติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ มูลนิธิ
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. สำเนารายงานการประชุม หรือเอกสารที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
2. สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิฉบับปัจจุบันและข้อบังคับของมูลนิธิในส่วนที่ประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติม
3. แผนผังที่ตั้งสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่งใหม่ของ มูลนิธิและหนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ดังกล่าว (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขาหรือที่ตั้งสำนักงานสาขาแห่งใหม่)
4. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิฉบับล่าสุด (ม.น.4)
• กรณีการแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิ ที่ให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
2. สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิชุดเดิม
3. รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของมูลนิธิที่ขอแต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือที่ขอเปลี่ยนแปลง
4. สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ
5. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจออกให้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าว หรือภิกษุ ให้ใช้หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ ในทำนองเดียวกันกับที่กำหนดไว้ดังกล่าว เช่นหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือสุทธิ เป็นต้น
6. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด/เปลี่ยนแปลงกรรมการฉบับล่าสุด (ม.น.4)
7. บัญชีรายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิชุดใหม่
การจดทะเบียนเลิกมูลนิธิ
มูลนิธิย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีเหตุการณ์ที่กำหนดในข้อบังคับ
2. มูลนิธิที่ตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น
3. มูลนิธิที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดและได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ สำเร็จบริบูรณ์แล้ว หรือวัตถุประสงค์นั้นกลายเป็นพ้นวิสัย
4. มูลนิธิล้มละลาย
5. ศาลมีคำสั่งให้เลิก มาตรา 131 ยื่นคำขอแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนตามแบบ ม.น.5 ณ สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
2. ใบสำคัญเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่มีการเลิกมูลนิธิ
3. ข้อบังคับมูลนิธิ
4. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
5. สำเนารายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
6. สำเนาเอกสารการโอนทรัพย์สินของมูลนิธิ (กรณีนายทะเบียนกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุญาตแล้ว)
7. เอกสารอื่นๆ
อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมอื่นของมูลนิธิ
1. ค่าคำขอ ฉบับละ 10 บาท
2. ค่าจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ 200 บาท
3. ค่าจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ 50 บาท
4. ค่าจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับมูลนิธิ 50 บาท
5. ค่าขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิ สำหรับมูลนิธิหนึ่ง ครั้งละ 50 บาท
6. ค่าคัดและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 10 บาท
7. ค่าขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับมูลนิธิมิใช่เป็นกรรมการตามข้อ(2) (3) (4) (5) หรือ (6) รายการหนึ่งครั้งละ 50 บาท
ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับมูลนิธิดังต่อไปนี้
1. มูลนิธิที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริ
2. มูลนิธิที่ตั้งขึ้นตามพระประสงค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ ขึ้นไป หรือมูลนิธิที่มีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอขึ้นไปเป็นประธาน กรรมการ หรือกรรมการ
3. มูลนิธิที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระบรมราชินูปถัมภ์
การจดทะเบียนสมาคม
ให้ผู้ที่จะเป็นสมาชิก จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขตสำหรับในกรุงเทพมหานครหรือที่ทำการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัดอื่นที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งต้นพร้อม
เอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
1. ข้อบังคับของสมาคม
2. รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คน
3. รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการสมาคม
4. รายงานการประชุมจัดตั้งสมาคม
5. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
6. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
7. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และภาพ ถ่ายสำเนา
8. ทะเบียนบ้านของผู้เป็นสมาชิกและผู้เป็นกรรมการของสมาคม
9. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์กรตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรม แห่งชาติ
10. ในกรณีที่สมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
11. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสมาคม
1. กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
ให้สมาคมยื่นคำขอ ตามแบบ ส.ค.2 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
1. รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
2. ข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับสมาคมฉบับใหม่
3. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับสมาคมฉบับใหม่
4. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งของสมาคมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง
2.กรณีการแต่งตั้งกรรมการสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
ให้สมาคมยื่นแบบคำขอ ส.ค.3 สำนักงานเขตหรืออำเภอ/กิ่งอำเภอที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
1. รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
2. ข้อบังคับของสมาคม
3. รายชื่อกรรมการเก่าและกรรมการใหม่
4. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่
การจดทะเบียนเลิกสมาคม
ผู้ประสงค์จดทะเบียนเลิกสมาคมให้ยื่นหนังสือเลิกสมาคมตามแบบแจ้งการเลิกสมาคม พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้
1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคม
2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการ เปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิก สมาคม
3. ข้อบังคับของสมาคม
4. เอกสารแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
5. สำเนารายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้เลิกสมาคม
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
เอกสารประกอบเรื่อง
1. คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งและเปลี่ยนตัวกรรมการแบบ ส.ฌ.6 จำนวน 2 ชุด
2. รายงานการประชุมใหญ่ที่มีมติแต่งตั้งและเปลี่ยนตัวกรรมการ
3. ประวัติแสดงหลักฐานของกรรมการผู้ได้รับเลือกตั้งแบบ ส.ฌ.2
4. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว คนละ 1 รูป
7. เอกสารอื่นๆ
การจดทะเบียนสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์
ให้ผู้เริ่มก่อสร้างจัดตั้งสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์จำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจำท้องที่ในจังหวัดที่จัด ตั้งสำนักงานสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
เอกสารประกอบเรื่อง
1. คำขอจัดตั้ง แบบ ส.ฌ.1 และต้องมีผู้ริเริ่มก่อการจัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน ลงนามในคำขอจำนวน 2 ชุด
2. ข้อบังคับสมาคม จำนวน 3 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ริเริ่ม ก่อการจัดตั้งทุกคน
4. ประวัติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทุกคนตามแบบ ส.ฌ.2 พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว
5. แผนผังแสดงที่ตั้งสำนักงานของสมาคมฯ
6. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เพื่อเป็นที่ตั้งสมาคมฯ
7. เอกสารอื่นๆ
ค่าธรรมเนียม
· คำขอแบบ ส.ฌ. 100 บาท
· ใบแสดงการจดทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ 500 บาท
การเลิกสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์
ขั้นตอนการเลิกสมาคม
เลิกสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์ดำเนินการได้ 3 วิธี คือ
1. ที่ประชุมลงมติให้ยกเลิก
2. นายทะเบียนให้ยกเลิกตามมาตรา 52
3. ศาลสั่งให้ยกเลิกตามมาตรา 54
การเลิกสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์โดยที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ยกเลิก
ดำเนินการดังนี้
1. คณะกรรมการต้องเรียกประชุมใหญ่และที่ประชุมใหญ่มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกสมาคม โดยมีเรื่องเห็นชอบตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของผู้มาประชุม (มาตรา 26)
2. เลือกตั้งผู้ชำระบัญชี
3. ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระบัญชีให้ กับนิติบุคคลการกุศลสาธารณะในกรณีที่มิได้ระบุไว้ในข้อบังคับหรือที่ประชุม ใหญ่มิได้มีมติให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
เอกสารประกอบเรื่อง
1. คำขอเลิกสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์และจดทะเบียนผู้ชำระบัญชี แบบ ส.ฌ.10 จำนวน 2 ชุด
2. หลักฐานของผู้ชำระบัญชีแบบ ส.ฌ.11 จำนวน 2 ชุด
3. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ที่มีมติเลิกสมาคมต้องมีคณะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสอง ในสามของผู้มาประชุมและเลือกตั้งผู้ชำระบัญชีจำนวน 2 ชุด
· ค่าธรรมเนียม 25 บาท
อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมอื่นของสมาคม
1. ค่าจดทะเบียนสมาคม 2,000 บาท
2. ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม หรือค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ครั้งละ 200 บาท
3. ค่าตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
4. ค่าคัดสำเนาเอกสาร พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง แผ่นละ 10 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท
5. ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับสมาคม ครั้งละ 5 บาท
การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฌาปนกิจจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่