งานทะเบียนราษฎร
 
1.การรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน
1.1 การขอเลขที่บ้าน
ให้เจ้าของบ้านผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกบ้าน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 นับแต่วันสร้างบ้านแล้วเสร็จ หากไม่ขอภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ใช้
1.     สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ
2.     ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี)
3.     หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน (ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2)
4.     หนังสือมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ดูอื่นมาดำเนินการแทน)
5.     แบบฟอร์ม ท.ร.900 (ใบคำร้องขอเลขหมายประจำบ้าน)
 
1.2 การแจ้งรื้อถอนบ้าน และบ้านถูกทำลาย
ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รื้อบ้านเสร็จ หรือวันที่บ้านถูกทำลาย หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2.     ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     หนังสือมอบหมาย และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
4.     หลักฐานการรื้อบ้าน เช่น ใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร (ถ้ามี)
**ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
2. การแจ้งเกิด
          2.1 เด็กเกิดในบ้าน (อาคารที่มีบ้านเลขที่รวมถึงสถานพยาบาล)
          ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา
2.     สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
4.     หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (กรณีเด็กในสถานพยาบาล)
**ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
          2.2 เด็กเกิดนอกบ้าน
          ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ได้รับหมอบหมายจากบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิดหรือสำนักทะเบียนที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และของบิดา มารดา
2.     สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
2.3 การแจ้งการเกิดเกินกำหนด
ให้บิดา มารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่เกิดหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นอื่นที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งและของบิดา มารดา
2.     สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก (ถ้ามี
3.     รูปถ่ายเด็กขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
4.     หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด
 
3.การแจ้งตาย
          3.1 คนตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล)
          ให้เจ้าบ้านที่มีคนตาย หากไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง โดยแจ้งที่สำนักทะเบียนที่มีคนตายหรือพบศพ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2.     บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
3.     หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย
4.     รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช(กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
**ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
          3.2 หากเป็นการแจ้งตายต่างท้องที่
ให้เจ้าบ้านนำมรณะบัตรของผู้ตายไปจำหน่ายตายในทะเบียนบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่
3.     มรณะบัตร
 
3.3 การแจ้งการตายเกินกำหนด
          ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
2.     บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย
3.     หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย
4.     รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
5.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่
 
3.4 กรณีเก็บ ฝัง เผา ทำลายหรือเคลื่อนย้ายศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม
หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมให้ญาติผู้ตายแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ ณ ทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ศพนั้นตั้งอยู่
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
2.     มรณะบัตร
 
4. การแจ้งย้ายที่อยู่
4.1 การย้ายเข้า
          ต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้งย้ายออก
·         กรณีเจ้าบ้านมาเอง
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2.     ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
 
·         กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
3.     ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
4.     ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
·         กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
 
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่2
4.     ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
5.     หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน
 
4.2  การย้ายออก
ผู้ใดย้ายออกจากบ้านใด ให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
·         กรณีเจ้าบ้านมาเอง
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
 
·         กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะที่ได้รับมอบหมาย
4.     หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
·    กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะได้รับมอบหมาย
4.     หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน
 
4.3    การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ
ผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่อาจติดต่อแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะย้ายเข้าไปโดยให้ผู้ประสงค์แจ้งด้วยตนเอง
          หลักฐานที่ใช้
1.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.     หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วยตนเอง)
3.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
อนึ่ง การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าวต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ (สน.) ด้วย ทั้งกรณีย้ายเข้าและย้ายออก
 
4.4    การแจ้งย้ายบุคคลเข้าทะเบียนกลางของสำนักทะเบียน
บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วัน ถ้าไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใดหรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน แจ้งย้ายชื่อบุคคลไปเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
 
4.5    การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง กรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน
          หลักฐานที่ใช้
1.     บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง สูติบัตร
2.     คำสั่งศาล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
3.     พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้
 
5. การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
          ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อ แจ้งที่ฝ่ายทะเบียนเขตท้องที่ตามกฎหมายกำหนด
          หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้
1.     หลักฐานของผู้เพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานการผ่านการอุปสมบท หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัวลูกเสือชาวบ้าน หลักฐานการทหาร
2.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     หลักฐานการเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับก่อนปี พ.ศ.2499 (ถ้ามี) เช่นสำมะโนครัวปี พ.ศ.2460 และปี พ.ศ. 2489 สูติบัตร
4.     หัวหน้าครอบครัวตามทะเบียนบ้านเดิม (ถ้ามี)
5.     เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
 
การเพิ่มชื่อกรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ
          โดยมีหลักฐานการเกิดที่แสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาอยู่
หลักฐานประกอบการแจ้ง
1.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
2.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
3.     หลักฐานทะเบียนการเกิด สูติบัตร หรือหลักฐานการเกิดซึ่งออกโดยรัฐบาลประเทศที่เกิด ซึ่งแปลและรับรองคำแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
4.     หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือต่างประเทศของผู้ขอเพิ่มชื่อ
5.     พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
 
กรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศ
          ไม่มีหลักฐานการแสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานทะเบียนท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน นายทะเบียนจะส่งตัวขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ เมื่อได้รับหนังสือยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนสัญชาติไทย จึงจะดำเนินการให้ตามระเบียบต่อไป
หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้
1.     หนังสือยืนยันจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นคนสัญชาติไทย
2.     หลักฐานผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทาง หลักฐานแสดงการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3.     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4.     เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
 
6. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
          บุคคลที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง ให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อซ้ำ ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันหรือท้องที่ที่มีชื่อซ้ำ เพื่อยืนยันที่อยู่ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
          หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อซ้ำ
2.     ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.     ทะเบียนบ้านที่มีชื่อและรายการบุคคลซ้ำ
 
7. การแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร และทะเบียนบ้าน
·         กรณีมีเอกสารราชการที่นำมาแสดง ต้องใช้หลักฐานดังนี้
1.     ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.     เอกสารราชการที่ต้องการแก้ไข
4.     เอกสารอ้างอิง เช่น ทะเบียนบ้านฉบับปี พ.ศ.2499, ปี พ.ศ.2515
5.     หลักฐานของบิดา มารดา เช่น บัตรประจำตัว ใบมรณบัตร
·         กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดง ต้องใช้หลักฐานดังนี้
1.     ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.     หลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่เชื่อถือได้
 
8.  การตรวจ ค้น คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
          8.1  การคัดรับรองสำเนารายการของตนเอง
       ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาปัจจุบัน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2.     หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน) ติดอาการ 10 บาท
3.     ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
8.2  เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง
       ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ปรากฏรายการทะเบียนราษฎร
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2.     หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3.     หนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสีย มอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
4.     ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
8.3  บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง
          ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ปรากฏรายการทะเบียนราษฎร โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.     บัตรประจำตัวประชาชน
2.     หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจผูกพัน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3.     หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น หนังสือนิติกรรมสัญญาต่างๆ คำสั่งศาล ใบแต่งตั้งทนาย หรือหนังสือมอบอำนาจจากคู่ความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.     ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท