โครงการศึกษาวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมตามนโยบายของรัฐบาลและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนพื้นที่เขตบางพลัด (บางพลัดโมเดล)

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563
image
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมตามนโยบายของรัฐบาลและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนพื้นที่เขตบางพลัด (บางพลัดโมเดล)



เป็นโครงการศึกษาวิจัยโดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลควบคู่กับการทดลองปฏิบัติการในการพัฒนาชุมชนตามหลักศาสตร์พระราชาในหลวงรัชกาลที่ 9 “ระเบิดจากข้างใน” “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยสำนักงานเขตบางพลัด

ผลที่ได้รับจากโครงการ
ผู้นำและประชาชนในชุมชนเขตบางพลัด 48 ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักศาสตร์พระราชา ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชากร 92,189 คน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในชุมชน เนื่องจากได้เข้าถึงบริการของรัฐได้มากขึ้น มีพื้นที่พักผ่อน/เล่นกีฬา/ออกกำลังเพิ่มขึ้น ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไข เช่น ถนนชำรุด น้ำท่วม น้ำเสีย ขยะ ฯลฯ และเตรียมพร้อมเครื่องมือป้องกันสาธารณภัย เป็นต้น อันเนื่องมาจากกระบวนการของโครงการ รวมถึงผู้นำชุมชนยังได้รับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทำให้ผู้นำ/ประชาชนในชุมชนยอมรับกระบวนการ 
2.การพัฒนาชุมชนตามหลักศาสตร์พระราชา
 
ศาสตร์พระราชา การพัฒนาชุมชน (บางพลัดโมเดล)
ระเบิดจากข้างใน ประชาชนในชุมชนร่วมกันคิดนำเสนอปัญหาชุมชนของตนและแนวทางแก้ไข
เข้าใจ - ประชาชนในชุมชนทำความเข้าใจร่วมกัน “อะไรคือปัญหาที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน จัดลำดับความสำคัญ”
- สนข. ทำความเข้าใจปัญหาตามที่ชุมชนระบุ/นำเสนอในเชิงลึก
เข้าถึง ชุมชนและสนข. ร่วมกันดำเนินการเข้าถึงสภาพปัญหาและพื้นที่ที่มีปัญหา เพื่อให้มั่นใจว่า ชุมชนและสนข. จะร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชนตรงจุดอย่างแท้จริง
พัฒนา ชุมชนและสนข. จะร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของตนและชุมชนในภาพรวมของเขต โดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ สนข.รวมทั้งเครือข่ายให้การสนับสนุน
เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาของชุมชนและเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จะดำเนินการโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน

แนวทางการพัฒนา
1. ชุมชนยังคงมีความร่วมมือกับสำนักงานเขตโดยการสนับสนุนของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อการพัฒนาชุมชนตามหลักศาสตร์พระราชาอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน รวมทั้งยังมีภาคีภาคเอกชนให้การสนับสนุน อาทิ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดอบรมหลักสูตรการเย็บผ้าให้แก่ประชาชนในชุมชน เป็นต้น
2. สำนักยุทธศาสตร์ฯ ได้นำหลักการของบางพลัดโมเดลไปขยายผลในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เขตบางกอกน้อย เขตราษฎร์บูรณะ เขตจตุจักร เขตราชเทวี เขตสวนหลวงและเขตประเวศ
แล้วเสร็จในปี 2562 รวมทั้งมีการขยายผลต่อไป ในพื้นที่เขตอีก 43 เขต ในปี 2563