วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือระดับเมืองกับ Royal Melbourne Institute of Technology University
นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือระดับเมืองกับ Royal Melbourne Institute of Technology University (RMIT) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยบริบทของความเป็นเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพฯ ครั้งที่ 1/2562
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการระบายน้ำ สำนักการศึกษา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักพัฒนาสังคม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสำนักงานการต่างประเทศ
ทั้งนี้ เห็นชอบให้นำกรอบแนวคิดความเป็นเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพฯ บนพื้นฐานของสังคมและสุขภาพที่เหมาะสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นกรอบในการพัฒนาตัวชี้วัดความน่าอยู่ของกรุงเทพฯ ซึ่งจะได้มีการทดสอบเชิงลึกในพื้นที่นำร่องต่อไป เบื้องต้นสรุปได้ 24 ตัวชี้วัด ดังนี้
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการระบายน้ำ สำนักการศึกษา สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักพัฒนาสังคม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสำนักงานการต่างประเทศ
ทั้งนี้ เห็นชอบให้นำกรอบแนวคิดความเป็นเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพฯ บนพื้นฐานของสังคมและสุขภาพที่เหมาะสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นกรอบในการพัฒนาตัวชี้วัดความน่าอยู่ของกรุงเทพฯ ซึ่งจะได้มีการทดสอบเชิงลึกในพื้นที่นำร่องต่อไป เบื้องต้นสรุปได้ 24 ตัวชี้วัด ดังนี้
• กลุ่มที่ 1 ปัญหาที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ประกอบด้วย การระบายน้ำทิ้ง คุณภาพน้ำในคลอง การจราจรติดขัด คุณภาพอากาศ ขยะปริมาณมาก น้ำท่วม และความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม
• กลุ่มที่ 2 สภาพแวดล้อมส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย มีพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ/ออกกำลังกาย การเพิ่มต้นไม้ยืนต้น พื้นที่สีเขียว/สวนขนาดเล็ก และการพร้อมใช้ของระบบขนส่งสาธารณะ
• กลุ่มที่ 3 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย อาหารปลอดภัย น้ำดื่มสะอาด การเข้าถึงเชื้อเพลิง การมีที่อยู่อาศัย สุขภาพ (ประชาชนแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ) คุณภาพของโรงเรียนและการศึกษา การจ้างงาน และการเข้าถึงศาสนสถาน พิพิธภัณฑ์ ดนตรี และกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ
• กลุ่มที่ 4 การพัฒนาสังคม ประกอบด้วย ความมั่นคงในการงาน ค่าจ้างที่ยุติธรรม สิ่งอำนวยความสะดวกของท้องถิ่น (การเข้าถึงบริการและการจ้างงานในพื้นที่ใกล้เคียง) ความสมดุลของการทำงาน/ชีวิต และความรู้สึกของชุมชน