วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. ....

image

กรุงเทพมหานครโดยสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ได้นำร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. .... เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 โดยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นได้ดังนี้ 

1. วิธีการรับฟังความคิดเห็น     

1.1 การรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้

1.1.1 ทาง https://forms.gle/e7bNns8E9u98zjZY6 โดยได้แนบแบบสำรวจการรับฟัง

ความคิดเห็น

1.1.2 เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) หัวข้อ “รับฟังความคิดเห็นร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. ....” โดยได้แนบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ สภาพปัญหาและความมุ่งหมาย คำอธิบายหลักการหรือประเด็นสำคัญ เหตุผลความจะเป็นของการกำหนดโทษทางอาญา และแบบสำรวจแสดงความคิดเห็น

1.2 การรับฟังความคิดเห็นเป็นเอกสาร โดยมีหนังสือขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ดังนี้

1.2.1 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0100/1158 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2566

1.2.2 บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0100/1159 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 และหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0100/1393 ลงวันที่ 7 กันยายน 2566

1.2.3 กรมการขนส่งทางบก ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0100/3163 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2566

2. จำนวนครั้งและระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็น               

2.1 การรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ระยะเวลารวม 15 วัน

2.2 การรับฟังความคิดเห็นเป็นเอกสาร โดยมีหนังสือขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 1 ครั้ง

3. พื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความคิดเห็น                 

สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป

4. ประเด็นที่มีการรับฟังความคิดเห็น

4.1 การรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในลักษณะที่ “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” พร้อมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

4.1.1 ทาง https://forms.gle/e7bNns8E9u98zjZY6โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานและส่วนราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร และมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 38 ราย สรุปความคิดเห็นในแต่ละประเด็นได้ดังนี้

4.1.1.1 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. .... 

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นด้วย จำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.84 ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ลดมลภาวะ บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ต้องมีจุดชาร์จไฟให้เพียงพอ 2) ต้องไม่สร้างภาระให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากเกินไป

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยไม่เห็นด้วย จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.26 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า ร่างข้อบัญญัติฉบับนี้ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับการกำหนดมาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางเดินรถทั้งหมดหรือบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ต้องตราเป็นกฎหมาย กล่าวคือพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้น จึงไม่สามารถดำเนินการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นกฎหมายลูกบทและมีเพียงสถานะเป็นกฎ เพื่อให้มีผลบังคับได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น กรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฉบับนี้ได้

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.89

4.1.1.2 ท่านเห็นว่าร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. .... มีบทบัญญัติที่เหมาะสมกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร หรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.47 ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่ต้องดูแลประชาชนในกรุงเทพมหานคร บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ช่วยลดมลภาวะ 2) ควรจะดำเนินการนานแล้ว 3) เป็นศูนย์กลาง และรถที่ใช้ในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมาก 4) เมืองควรดูแลเรื่องการเดินทางของคนเมือง

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.63 ให้เหตุผลสรุปว่า มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่บัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบคำว่า “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น” และเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกันนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาบัญญัติใดเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน ดังนั้น การที่กรุงเทพมหานครจะกระทำทางปกครองใด ๆ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่กำหนดให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติด้วย เนื่องจากกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเป็นบ่อเกิดของอำนาจ และเป็นข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.89

4.1.1.3 ท่านเห็นว่าการกำหนดให้เปลี่ยนรถโดยสารประจำทาง กล่าวคือ รถเมล์ รถตู้ รถสองแถว รถ บขส. เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยห้ามรถโดยสารประจำทางที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดหรือแบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีการเผาไหม้ภายในเดินรถในเขตกรุงเทพมหานคร เว้นแต่เป็นรถโดยสารประจำทางที่ไม่ใช่การเดินรถประจำทาง มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.58 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ลดมลภาวะ 2) ต้องมีพลังงานรองรับ 3) ปลอดมลพิษ และสนับสนุนนโยบายระดับประเทศในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 4) ต้องให้ระยะเวลาในการเตรียมความพร้อม 5) ควรจะปรับเปลี่ยนอย่างช้า ๆ 6) อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากแก่ผู้ประกอบการ ควรมีทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก 7) ประเทศต่าง ๆ ใช้รถพลังงานไฟฟ้า 8) รถต่างจังหวัดเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครจะมีแนวทางอย่างไร รถขนาดเล็ก เช่น รถสองแถวที่วิ่งในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อย การเปลี่ยนรถในช่วงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันด้วยระยะเวลา 7 ปี อาจจะไม่เพียงพอ 9) กรุงเทพมหานครต้องจัดหาสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอและมีราคาต่ำ 10) จะต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากพอสมควรที่จะเปลี่ยนรถโดยสารครบทุกคัน 11) จะต้องหาแนวทางส่งเสริมในการเปลี่ยนแปลงด้วย 12) ต้องพิจารณาถึงความพร้อมของภาคเอกชนที่จะให้ความร่วมมือและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนรถไฟฟ้า รวมถึงราคาค่าโดยสารที่จะต้องปรับเปลี่ยนไป จะต้องไม่ตกเป็นภาระของประชาชนมากเกินไป และแนวทางบริหารจัดการในเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์โดยสารที่จะสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.16 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า ร่างข้อบัญญัติฉบับนี้ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับการกำหนดมาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางเดินรถทั้งหมดหรือบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ต้องตราเป็นกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้น จึงไม่สามารถดำเนินการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นกฎหมายลูกบทและมีเพียงสถานะเป็นกฎ เพื่อให้มีผลบังคับได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น กรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฉบับนี้ได้ และตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ที่บัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ เริ่มต้นด้วยองค์ประกอบคำว่า “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น” และเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกันนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาบัญญัติใดเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน ดังนั้น การที่กรุงเทพมหานครจะกระทำทางปกครองใด ๆ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่กำหนดให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติด้วย เนื่องจากกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเป็นบ่อเกิดของอำนาจ และเป็นข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.26

4.1.1.4 ท่านเห็นว่าการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบรถโดยสารประจำทางและมีคำสั่งหยุดเดินรถ หรือมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งหยุดเดินรถ รวมทั้งลงโทษผู้ฝ่าฝืนโดยจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.16 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ควรมีคำสั่งไปยังเจ้าของบริษัทเดินรถโดยตรง 2) เป็นกรณีเช่นเดียวกับการจับรถจักรยานยนต์ที่วิ่งบนทางเท้า 3) ความปลอดภัยของผู้โดยสาร 4) ค่าปรับน้อยเกินไปหรือไม่ 5) ควรแก้ที่ผู้ประกอบการก่อน

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.32 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ควรตักเตือนก่อน 2) ควรจะเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน 3) คำสั่งดังกล่าวอาจจะแย้งกับพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวกับการขนส่ง ควรมีการตรวจร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านด้วย เช่น กรมการขนส่งทางบก 4) ควรกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบประจำปีให้ชัดเจน กรณีที่มีการกลั่นแกล้งในช่วงเวลาหยุดเดินรถจะมีแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่เดินทางอย่างไร ควรกำหนดระยะเวลาการแก้ไขให้ชัดเจน 5) ควรกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน เนื่องจากไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่ควรเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้น เป็นไม่เกินห้าหมื่นบาท เพื่อป้องกันผู้ประกอบการมิให้กระทำผิด 6) ต้องพิจารณากฎหมายเดิมว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด หากหน่วยงานเดิมที่มีอำนาจหน้าที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาจจะดำเนินการได้ 7) ร่างข้อบัญญัติฉบับนี้ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับการกำหนดมาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางเดินรถทั้งหมดหรือบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ต้องตราเป็นกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้น 

จึงไม่สามารถดำเนินการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นกฎหมายลูกบทและมีเพียงสถานะเป็นกฎ เพื่อให้มีผลบังคับได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น กรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฉบับนี้ได้ และตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ที่บัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบคำว่า “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น” และเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกันนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาบัญญัติใดเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน ดังนั้น การที่กรุงเทพมหานครจะกระทำทางปกครองใด ๆ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่กำหนดให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติด้วย เนื่องจากกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเป็นบ่อเกิดของอำนาจ และเป็นข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.53

4.1.1.5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.32 
บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) รถที่มิใช่ทะเบียนกรุงเทพมหานคร ให้วิ่งรถในวันคู่วันคี่ตามเลขทะเบียนตัวสุดท้าย 2) ควรมีแผนรองรับ วิธีการกำจัดหรือจัดการ กรณีแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพ และแผนรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินจากการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 3) จัดสวัสดิการ ให้บริการประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาหรือในเส้นทางที่ประชาชนไม่สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทาง 4) เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ 5) ควรแก้ไขการกระจายอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีภารกิจทับซ้อนกับกรุงเทพมหานครให้เรียบร้อยก่อน 6) ควรเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางที่มีอายุการใช้งานมานานแล้วเป็นลำดับแรก 7) ควรกำหนดบทเฉพาะกาลให้สามารถนำรถยนต์โดยสารที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถพลังงานไฟฟ้าในช่วงแรก เนื่องจากรถยนต์โดยสารไฟฟ้ามีจำหน่ายไม่เพียงพอและมีราคาสูง รวมทั้งการดัดแปลงรถยนต์เป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและจูงใจให้นำรถยนต์โดยสารไฟฟ้ามาใช้ก่อนระยะเวลา 7 ปี และยืดอายุการใช้งานของรถยนต์โดยสารเดิมออกไป และควรจัดทำแผนเปลี่ยนรถยนต์ของกรุงเทพมหานครเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในกรอบระยะเวลาเดียวกัน เพื่อความเป็นธรรม 8) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติด้วยก็ได้ โดยมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา 97 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.68

4.1.2 เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (https://www.law.go.th) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง และประชาชนทั่วไป และมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 333 ราย สรุปความคิดเห็นในแต่ละประเด็นได้ดังนี้

4.1.2.1 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. ....

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นด้วย จำนวน 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.06 ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ลดมลพิษทางอากาศ ลดมลภาวะโลกร้อน รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์แก่ประชาชน บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) เป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น 2) สถานีชาร์จไฟควรมีให้เพียงพอ 3) ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากรถประจำทางปัจจุบันก่อให้เกิดมลภาวะ 4) การลงโทษผู้ฝ่าฝืน ควรระบุให้ชัดเจนโดยให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการจำคุกหรือปรับให้น้อยที่สุด 5) ควรจัดหารถพลังงานไฟฟ้าทดแทนรถดีเซลให้ครบอัตราร้อยละ 100 
6) ควรดำเนินการให้มีระบบบริหารจัดการครบวงจร 7) ควรปรับราคาให้เหมาะสม ไม่ควรขึ้นค่าโดยสาร หรือค่าโดยสารควรเป็นอัตราเดียวตลอดสาย 8) ควรคำนึงถึงแบตเตอรี่ที่หมดอายุหรือชิ้นส่วนอะไหล่ที่ก่อมลพิษ 
9) ระยะแรกควรดำเนินการด้วยความสมัครใจ 10) ต้องคำนึงถึงงบประมาณ 11) ไม่ควรเร่งดำเนินการ ควรพิจารณาถึงความคุ้มค่า ไม่สร้างภาระให้แก่ทุกฝ่าย และต้องมีแนวทางสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน 12) ควรสนับสนุนเงินให้แก่เอกชน

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยไม่เห็นด้วย จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.11 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) เป็นอำนาจและหน้าที่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่ 2) อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 3) มีลักษณะเฉพาะกาล จำกัดความเจาะจงเพียงอย่างเดียว ไม่ยืดหยุ่นต่อการพัฒนา 

4) ควรเลือกใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นด้วย เช่น CNG, LPG ชีวะมวล หรือดีเซลที่มีมาตรฐานไอเสีย Euro 5 ขึ้นไป และ

มีการกวดขันอย่างเข้มงวด 5) ไม่ควรบังคับใช้เฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า ควรใช้รถไฮบริด, รถแก๊ส NGV, LPG และรถอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยมลภาวะ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถ และทำให้ผู้โดยสารต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ 6) ต้องศึกษาข้อดีข้อเสียให้รอบด้าน 7) รถโดยสารประจำทางปัจจุบันราคาถูกกว่ารถพลังงานไฟฟ้า และบรรทุกคนได้มากกว่า 8) ผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีทุนทรัพย์ เป็นการผูกขาด ประชาชนเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีรถให้บริการ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน 9) การออกระเบียบกรุงเทพมหานครตามข้อ 10 ควรทำให้รัดกุม 10) กรณีข้อ 4 นิยามคำว่า “รถโดยสารประจำทาง” ไม่ชัดเจน กรณีข้อ 5 ควรแยกปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆ คนละวรรค กรณีข้อ 7 คำว่า “รถโดยสารประจำทางที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดหรือแบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีการเผาไหม้ภายใน” ทำให้เข้าใจได้ว่ายกเว้นสำหรับรถประจำทางหรือรถสาธารณะที่ให้บริการด้วยระบบแก๊ส ซึ่งอาจขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และการเพิ่มอำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อบริหารสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะมีความเหมาะสมกว่า กรณีข้อ 7 และข้อ 8 อธิบายประเภทของรถขัดแย้งกัน กรณีข้อ 8 วรรคท้าย คำว่า “เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง” อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งจะมีอำนาจในการออกคำสั่งหยุดเดินรถเท่านั้น ควรแก้ไขเป็นคำว่า “เจ้าหน้าที่” กรณีข้อ 9 คำว่า “หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด” เป็นการให้อำนาจซ้ำซ้อนระหว่างกรุงเทพมหานครและกรมการขนส่งทางบก กรณีข้อ 11 ควรมีโทษปรับรายวันเพิ่ม กรณีข้อ 14 ไม่ควรกำหนดระยะเวลาในการออกระเบียบ

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 116 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.83

4.1.2.2 ท่านเห็นว่าร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. .... มีบทบัญญัติที่เหมาะสมกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร หรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 308 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.49 ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) เป็นการคานอำนาจของหน่วยงานอื่น เช่น กรมการขนส่งทางบก 2) ท้องถิ่นควรใช้อำนาจดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน 3) กรุงเทพมหานครควรจัดระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครด้วยตนเอง 4) ควรพิจารณาเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 5) ควรคำนึงถึงทางปฏิบัติด้วย หากเกินกำลังเจ้าหน้าที่ จะมีมาตรการควบคุมอย่างไร 6) รถจากต่างจังหวัดเข้ามาในเขตกรุงเทพมหานครจะทำอย่างไร 7) ควรปรับแก้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 4, ข้อ 5, ข้อ 7, ข้อ 8, ข้อ 9, ข้อ 11 และข้อ 14 ตามที่เสนอไว้ข้างต้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ6.01 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร 2) ผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีทุนทรัพย์ เป็นการผูกขาด ประชาชนเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีรถให้บริการ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน 3) ไม่ควรบังคับใช้เฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า ควรใช้รถไฮบริด, รถแก๊ส NGV, LPG และรถอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยมลภาวะ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถ และทำให้ผู้โดยสารต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ 4) ไม่ควรยกเลิกรถโดยสารที่ใช้น้ำมัน เนื่องจากเป็นความผูกพันและมีคุณค่าทางจิตใจของประชาชน

ทั้งนี้ มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.50

4.1.2.3 ท่านเห็นว่าการกำหนดให้เปลี่ยนรถโดยสารประจำทาง กล่าวคือ รถเมล์ รถตู้ รถสองแถว รถ บขส. เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยห้ามรถโดยสารประจำทางที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดหรือแบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีการเผาไหม้ภายในเดินรถในเขตกรุงเทพมหานคร เว้นแต่เป็นรถโดยสารประจำทางที่ไม่ใช่การเดินรถประจำทาง มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 285 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.59 ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ลดมลภาวะ บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ควรเพิ่มกำหนดระยะเวลาช่วงต่อไปในการปรับเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางอื่น ๆ 2) ไม่ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากเป็นภาระผู้เกี่ยวข้อง 3) ควรมีระบบควบคุมมาตรฐานทั้งโครงการ 4) หากมีรถโดยสารประจำทางบริการอย่างเพียงพออทุกเส้นทาง ผู้รับบริการจะได้รับความสะดวก 5) รัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนผู้ประกอบการ หากเอกชนลงทุนจะส่งผลกระทบกับค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น 6) ควรสนับสนุนเงินเพื่อซื้อหรือเปลี่ยนรถพลังงานไฟฟ้า 7) หากไม่มีความพร้อมจะเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้า ควรปรับปรุงเป็น CNG เพื่อลดงบประมาณและค่าใช้จ่าย 8) ระยะเวลาบังคับใช้ 7 ปี อาจจะสั้นเกินไปสำหรับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 9) ควรเป็นต้นแบบให้เอกชน 10) ควรมีแนวทางสนับสนุนและลดราคาค่านำเข้ารถพลังงานไฟฟ้า หรือส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศ ลดภาษีเรียกเก็บประเภทนำเข้ารถยนต์อีกกึ่งหนึ่ง 11) สร้างมาตรฐานการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครที่ได้มาตรฐานระดับโลก

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.41 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร 2) ขัดขวางการพัฒนาหรือการใช้เทคโนโลยีอื่นหรือเชื้อเพลิงพลังงานสะอาด 3) มีพลังงานทางเลือกอื่น และไม่บังคับรถโดยสารประจำทางเกินไป 4) ผู้ประกอบการไม่มีเงินลงทุน 5) เพิ่มการบังคับใช้รถโดยสารรับ-ส่งนักท่องเที่ยวและพนักงาน 6) ค่าโดยสารรถพลังงานไฟฟ้าแตกต่างจากรถที่ใช้น้ำมัน รถโดยสารประจำทางระยะใกล้ควรใช้น้ำมัน ส่วนรถระยะทางไกลควรใช้พลังงานไฟฟ้า 7) หากเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้า จะมีการรองรับคนขับรถที่ต้องว่างงานหรือไม่ 8) รถสองแถวอาจนำรถยนต์ไฟฟ้ามาทดแทนได้ยาก และการเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ประกอบการเป็นไปได้ยาก 9) จำกัดสิทธิรถยนต์ดีเซล 10) เพิ่มต้นทุนการเปลี่ยนรถ ผู้ประกอบการบางรายไม่มีงบประมาณ 11) ใช้งบประมาณจำนวนมากและรอชาร์จแบตเตอรี่เป็นเวลานาน 12) ควรเลือกใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นด้วย เช่น CNG, LPG ชีวะมวล หรือดีเซลที่มีมาตรฐานไอเสีย Euro 5 ขึ้นไป และมีการกวดขันอย่างเข้มงวด 13) ไม่ควรบังคับใช้เฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า ควรใช้รถไฮบริด, รถแก๊ส NGV, LPG และรถอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยมลภาวะ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถ และทำให้ผู้โดยสารต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ 14) บางเส้นทางที่มีระยะไกลจะมีรถให้บริการไม่มาก และชาร์จแบตเตอรี่เป็นเวลานาน เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุการใช้งานจะกลายเป็นขยะมลพิษ 15) รถยนต์ดีเซลบางชนิดมีระบบการบำรุงรักษาที่แข็งแรงและทนทานมากกว่า 16) ไม่ควรยกเลิกรถโดยสารที่ใช้น้ำมัน เนื่องจากเป็นความผูกพันและมีคุณค่าทางจิตใจของประชาชน

ทั้งนี้ ไม่มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น

4.1.2.4 ท่านเห็นว่าการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบรถโดยสารประจำทางและมีคำสั่งหยุดเดินรถ หรือมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งหยุดเดินรถ รวมทั้งลงโทษผู้ฝ่าฝืนโดยจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าเหมาะสม จำนวน 296 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.89 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ควรตรวจสอบตั้งแต่ต้นทางหรือจุดพักรถ 2) ควรเพิ่มความชัดเจนว่าต้องดำเนินการร่วมกับตำรวจจราจรหรือกรมการขนส่งทางบก 3) ควรระบุค่าปรับเป็นจำนวนที่ชัดเจน ไม่ควรใช้คำว่า “ไม่เกิน” 4) ควรประกาศให้ทราบอย่างชัดเจนโดยทั่วกัน และเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย 5) ควรระบุบทลงโทษผู้ขับกับเจ้าของให้ชัดเจนมากกว่านี้ 6) ควรมีบทลงโทษ และปฏิบัติอย่างจริงจังกับผู้กระทำผิด 7) ควรลงโทษปรับรายวันด้วย 8) โทษจำคุกรุนแรงเกินไป ควรเพิ่มโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท 9) ควรกำหนดให้สามารถตักเตือนก่อน 10) ต้องไม่เอื้อประโยชน์แก่ข้าราชการและหน่วยงานรัฐแห่งอื่น 11) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลมลพิษทางอากาศ

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.11 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) ควรเป็นคำสั่งของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม 2) อำนาจทับซ้อนกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหรือไม่ 3) อาจเกิดช่องว่างในการใช้อำนาจเกินขอบเขต 4) โทษเกินกว่าเหตุ 5) อาจทำให้รถประจำทางหลายเส้นทางยุติการเดินรถ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและการจราจรที่ต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแทนรถโดยสารประจำทาง ควรให้ผู้ประกอบการมีทางเลือก ไม่ควรบังคับให้ใช้เฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า 6) หากตรวจสอบรถโดยสารประจำทางก่อนออกเดินทาง ย่อมสามารถให้หยุดเดินรถได้ แต่หากตรวจสอบพบขณะหรือระหว่างออกเดินทางและมีผู้โดยสารบนรถ ย่อมเกิดปัญหาการบังคับใช้ และจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร จึงควรลงโทษปรับ ณ สถานที่ตรวจสอบ และแจ้งการปรับไปยังผู้ประกอบการในภายหลัง

ทั้งนี้ ไม่มีผู้ไม่แสดงความคิดเห็น

4.1.2.5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม จำนวน 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.02 บางรายให้เหตุผลสรุปว่า 1) เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก 2) ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร 3) ภาครัฐควรมีมาตรการการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย เช่น รถสองแถว รถโดยสาร 4 ล้อ ขนาดเล็ก ด้วยเงินทุนกู้ยืม เพื่อเปลี่ยนรถ 4) การกำหนดค่าโดยสารควรคำนึงถึงค่าครองชีพของประชาชนเป็นหลัก ควรเป็นราคา 11-25 บาท ปรับขึ้นตามระยะทาง และไม่เป็นภาระกับประชาชน 5) ควรบังคับใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฉบับนี้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรมีช่วงระยะเวลาการบังคับใช้ และควรมีมาตรการเสริม เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน เช่น การเปลี่ยนเครื่องยนต์ การเพิ่มจุดชาร์จแบตเตอรี่ 6) สถานที่ซ่อมบำรุง สถานีชาร์จแบตเตอรี่ในกรุงเทพมหานคร ควรมีให้พร้อม และกระจายตามเส้นทางเดินรถ 7) ควรปรับเปลี่ยนรถยนต์ของทางราชการ รัฐวิสาหกิจทั้งหมดก่อน 8) ควรมีเส้นทางเดินรถพิเศษ 9) ควรขยายเวลาบังคับใช้ ไม่ควรบังคับใช้ทันที เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว 10) ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญจัดทำโพลสอบถามประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง หากดำเนินการแล้ว จะซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการหรือไม่ รถยนต์ส่วนบุคคลก่อปัญหามลภาวะมากกว่ารถโดยสารประจำทาง 11) ค่าโดยสารควรมีราคาถูกกว่ารถโดยสารประจำทางที่ใช้น้ำมัน 12) ผู้ประกอบการรถสองแถวปัจจุบันมีรายได้น้อย และมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่าง ควรมีกองทุนช่วยเหลือรับซื้อรถยนต์คันเก่าคืน และเงินช่วยเหลือซื้อรถยนต์คันใหม่ 13) ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่ม ทุกระดับ อย่างรอบด้าน 14) รถพลังงานไฟฟ้าไม่ควรเสียภาษี และค่าโดยสารควรเป็นราคาเดียวกันตลอดสาย 15) ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มิให้มีช่องทางทุจริตของเจ้าหน้าที่

16) ควรใช้มาตรการส่งเสริมและจูงใจ เพื่อเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้า 17) ควรประชาสัมพันธ์โครงการให้มากขึ้น 18) ควรให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นทุกช่องทาง 19) ไม่ควรจำกัดสิทธิเฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า ต้องเปิดโอกาสให้เครื่องยนต์สันดาปด้วย โดยมีการกวดขันอย่างเข้มงวด 20) ไม่ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากรถพลังงานไฟฟ้ามีราคาสูง 21) ควรเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยมีอิสระในการเลือก 22) ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 23) รถพลังงานไฟฟ้าจะมีระยะวิ่งรถโดยมิให้ประชาชนรอนานหรือไม่ 24) ควรมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถอย่างต่อเนื่อง 25) ไม่ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากรถพลังงานไฟฟ้ามีปัญหาเรื่องพลังงานการวิ่งที่ไม่เพียงพอ ควรมีรถโดยสารประจำทางประเภทอื่นรองรับ 26) รถโดยสารประจำทางที่ใช้น้ำมันสามารถให้บริการได้ตลอดไป 27) ควรลดค่าโดยสาร 28) รถยนต์ของกรุงเทพมหานครควรเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้า 29) ไม่ควรบังคับใช้เฉพาะรถพลังงานไฟฟ้า ควรใช้รถไฮบริด รถแก๊สเอ็นจีวี รถแก๊สแอลพีจี และรถอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยมลภาวะ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง และทำให้ผู้โดยสารต้องรับภาระการจ่ายค่าโดยสารที่สูงขึ้นได้ และไม่ควรบังคับตามข้อ 7 เนื่องจากอาจส่งผลทำให้รถโดยสารประจำทางหลายรายยุติการเดินรถและส่งผลให้ในหลายเส้นทางไม่มีรถโดยสารประจำทาง ทำให้ประชาชนไม่สามารถโดยสารรถประจำทางได้ และใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแทน ส่งผลต่อการจราจร ดัง

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
  • 100.00%
  • 0.00%
ความคิดเห็น
0 รายการ