นิทรรศการส่วนกลาง’ ภายใต้แนวคิด ‘People Centric’ หรือมีคนเป็นศูนย์กลางโชว์ความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ตลอด 2 ปี ในทุกภาคส่วนโดยแบ่งเป็นโซนย่อยต่างๆ ได้แก่

  1. ชวนคนกรุงเทพฯ รู้จักกับ Livable City @Bangkok และกิจกรรมพลังเสียง...พัฒนาเมือง ที่เปิดให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
  2. พูดคุยกับผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับนิทรรศการ เข้าใจ เข้าถึงปัญหา แก้ไขได้ตรงจุด กับผู้ว่าฯ สัญจร
  3. เมืองที่น่าอยู่ขึ้นด้วยเทคโนโลยี กับนวัตกรรม Smart City
  4. เปิดมุมมองการออกแบบนโยบายสาธารณะแบบ Open Policy
  5. รางวัลแห่งความภูมิใจของคนกรุงเทพฯ
  6. การเสวนา และการสาธิตรุกขกรภายในพื้นที่สวนเบญจกิติ
  7. ผังเมืองจําลองกรุงเทพมหานคร (The Bangkok City Model)
  8. นิทรรศการภาพถ่ายเมือง โดยจัดแสดงภาพถ่ายจากผลงานที่ได้รับคัดเลือกในกิจกรรมประกวดภาพถ่ายภายใต้โจทย์ “มหานครมุมมองใหม่”

นอกจากนี้ พื้นที่ส่วนกลางยังถูกเนรมิตให้กลายเป็น ‘กรุงเทพฯ เมืองอร่อย’ รวมกว่า 70 ร้านอาหารเจ้าอร่อยจาก 50 เขตเอาไว้ในงานนี้ที่เดียวเท่านั้น

 

     เมืองที่ 1 ‘เมืองเศรษฐกิจ โอกาส และความหวัง’ บอกเล่าเรื่องราวเมืองน่าอยู่ในด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มโอกาสและความหวัง ที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน แบ่งออกเป็น 8 โซน ได้แก่

  1. ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในอนาคต และ Hawker Center ข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
  2. การขยายโอกาส เพิ่มช่องทางการจําหน่ายสินค้า Bangkok Brand ไปต่างประเทศ
  3. ตลาดเทวราช..ตลาดกทม.ลุคใหม่
  4. ย่านสร้างสรรค์ สาธิต จําหน่ายสินค้าประจําย่าน
  5. สวนผักคนเมือง และผักออร์แกนิก
  6. BKK Food Bank แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองแห่งความเท่าเทียม โอกาส และความหวัง
  7. การปรับปรุงพื้นที่แม้นศรี..พื้นที่แห่งโอกาสของคนไร้ที่พึ่งพักพิง/คนรายได้น้อย
  8. เปิดห้องเรียนฝึกอาชีพ 5 หลักสูตร ได้แก่ บาริสต้า นวด บาร์เทนเดอร์ ตัดแต่งขนสุนัข สอนขายของออนไลน์

 

 

     เมืองที่ 2 ‘เมืองสร้างสรรค์ การศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิต’หัวใจของเมืองน่าอยู่ คือเมืองที่ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองเสมอ ‘เมืองสร้างสรรค์’ จัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของประชาชนทุกช่วงวัย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. การพัฒนานวัตกรรม : การแสดงศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โชว์หลักสูตรคิดเป็นทําเป็น Active-based Learning และการสร้างห้องเรียนปลอดฝุ่นเสมือนจริง
  2. การส่งเสริมทักษะความสามารถ และโอกาสของครูและนักเรียน : โชว์ความสามารถของนักเรียน 2 ภาษา ผลงานจากนักเรียนเรียนรวม สาธิตทําอาหาร Thai School Lunch และโชว์สวนโอ้เอ้ฯ
  3. การยกระดับการเรียนการสอน : จําลองห้องเรียนดิจิทัล จัดอบรมให้ครูมีทักษะตามโปรแกรม Digital Skill
  4. การส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกช่วงวัย : กิจกรรมนันทนาการ กีฬา ดนตรี วัฒนธรรม กิจกรรมอ่านได้ อานดี

นอกจากนี้ยังมีโซน free play เล่นอิสระ มุมนิทาน กิจกรรมทํามือ ปั่นเรือเป็ด แข่งขันพายเรือ สํารวจนิเวศรอบสวนเบญจกิติ 4 เส้นทาง

 

 

     เมืองที่ 3 ‘เมืองปลอดภัย สุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สิน’เพราะเมืองที่ดี คือเมืองที่มีความปลอดภัยให้กับผู้คน ทั้งในตอนที่อยู่บ้าน และตอนที่ออกมาใช้ชีวิต โดยเมืองปลอดภัย จะนำเสนอเมืองน่าอยู่ในมิติของสาธารณภัย และสาธารณสุข แบ่งเป็น 13 โซน ได้แก่ 

  1. การจัดแสดงภาพรวมในเรื่องเมืองปลอดภัย โชว์เทคโนโลยีกล้อง AI ในช่วงสงกรานต์
     
  2. ชวนสํารวจความปลอดภัยรอบบ้านของตัวเอง ด้วย BKK Risk Map ฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย
     
  3. แสดงพื้นที่ความปลอดภัยจากอัคคีภัย อุทกภัย
     
  4. Command Room นําเสนอห้อง CCTV การจัดการกับข้อร้องเรียน Traffy Fondue
     
  5. จําลองสถานบันเทิง : จัดแสดงความปลอดภัยจากเสียงและทางเข้า - ออก
     
  6. จําลองห้องเกิดอัคคีภัย สร้างการรับรู้ถึงความรู้สึกไม่ปลอดภัย
     
  7. จําลองสถานการณ์กู้ภัย : สาธิตการเข้าช่วยเหลือ
     
  8. - 10. บริการตรวจสุขภาพกายและจิต : ตรวจสุขภาพฟัน  ตา หัวใจ

    11. - 12. คาเฟ่แมว สะท้อนการแก้ปัญหาสัตว์จรจัด ชวน ‘จิบกาแฟ แลแมว’ โดยแยกพื้นที่ทานกาแฟ และห้องแมวอย่างถูกสุขลักษณะ พร้อมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสัตว์เลี้ยง นิทรรศการการจัดการสัตว์เร่ร่อนและการหาบ้านให้น้อง

    13. การตรวจคุณภาพอาหาร โดยออกร้านตัวอย่างอาหารอร่อยปลอดภัย ได้มาตรฐาน

 

 

     เมืองที่ 4 ‘เมืองยั่งยืน พลังงาน และสิ่งแวดล้อม’เมืองที่น่าอยู่ทั้งวันนี้ และในอีก 10 20 30 ปี จะขาดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปไม่ได้ โดยเมืองยั่งยืน จะบอกเล่าภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมของ กทม. ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และภาพอนาคตในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยแบ่งออกเป็น 7 โซน ได้แก่

  1. การจัดการขยะที่ต้นทาง โครงการไม่เทรวม แยกขยะอย่างไร โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ 
     
  2. การนํารถขยะไฟฟ้า สถานีชาร์จไฟฟ้ามาโชว์ ซึ่งมีกำหนดปรับมาใช้งานจริงตั้งแต่ปีนี้ - ปี 2569
     
  3. การจัดการขยะที่ปลายทาง โดยลดการฝังกลบและเตาเผาขยะผลิตไฟฟ้า
     
  4. การจัดการน้ําเสีย ด้วยบ่อดักไขมัน โมเดลบําบัดน้ําเสีย การนําน้ํากลับมาใช้ใหม่
     
  5. การจัดการปัญหา PM 2.5 ด้วยแนวคิด ‘ประชาชนร่วมมือกับ กทม.แล้วได้อะไร’
     
  6. การจัดการพื้นที่สีเขียว สวน 15 นาทีจําลอง
     
  7. นิทรรศการพลังงาน โดยติดตั้งโซลาร์เซลล์บนบ้านจําลอง

 

 

     เมืองที่ 5 ‘เมืองเดินทาง เส้นทาง และสายน้ํา’การเดินทางที่ดี คือพื้นฐานสำคัญในการออกมาใช้ชีวิตและขับเคลื่อนเมืองไปด้วยกัน ในเมืองเดินทาง จัดแสดงภาพปัจจุบันและอนาคตของการเดินทางในกรุงเทพฯ ในหลากหลายวิธี เพื่อทุก ๆ คนตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากบ้าน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มนิทรรศการ ได้แก่

  1. เดินได้ เดินดี : Bangkok trail โดย virtual เส้นทาง/clinic ให้คนมาปรึกษาและขออนุญาตออนไลน์ สำหรับอาคารทุกประเภท
     
  2. แก้จุดฝืด ปรับให้คล่องตัว : CCTV traffic violation
     
  3. ขนส่งสาธารณะ รถ ราง เรือ : เชิญชวนให้ใช้บริการรถสาธารณะ รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเดินทางอย่าง bike sharing /BMA Feeder /win motorcycle app
     
  4. ป้องกันน้ําท่วม คืนคลองน้ําใส : พยากรณ์ฝนล่วงหน้า 3 ชม. แผนที่แสดงจุดเสี่ยงน้ําท่วมที่ลดลง อุโมงค์ระบายน้ํา
     
  5. เพิ่มความปลอดภัย : ติดตั้งกล้องนับคนเข้างาน ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง