ความรู้ทั่วไปของภาษีบำรุงท้องที่

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558
ความรู้ทั่วไปของภาษีบำรุงท้องที่


ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้ประโยชน์ เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร และที่ดินว่างเปล่า

ผู้มีหน้าที่เสียคือ " เจ้าของที่ดิน "
ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองเเละใช้สอยที่ดินผืนนั้น

# การเสียภาษีบำรุงท้องที่มีขั้นตอนอย่างไร ?

1) ยื่นเเบบเเสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องกรอกเเบบเเสดงรายการเพื่อเสียภาษี 
( ภ.บ.ท.5 ) เเละยื่นต่อเจ้าพนักงาน ณ ฝ่ายรายได้ของสำนักงานเขตซึ่งที่ดินตั้งอยู่ภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน
นับจากวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ใหม่หรือมีการเปลี่ยนเเปลงการใช้แระโยชน์ในที่ดินใหม่ โดยยื่นเเบบพร้อมสำเนาเอกสารอื่นๆ ได้เเก่ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และหนังสือรับรองนิติบุคคลในกรณีเป็นนิติบุคคล
2 ) เจ้าหน้าที่ทำการประเมินภาษี
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารจะประเมินภาษีที่ต้องเสียด้วยฐานภาษีเเละอัตราภาษี
ฐานภาษีคือ ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเเต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ
ซึ่งปัจจุบันราคาปานกลางที่ดินที่ใช้
ประเมินภาษีบำรุงท้องที่
ส่วนที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา เเต่ถ้าเจ้าของที่ดินใช้ประกอบกสิกรรมปลูกไม้ล้มลุกด้วยตนเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท เเละที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรเเก่สภาพของที่ดิน ให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า
3 ) ชำระภาษี
เมี่อเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีเรียบร้อย จะมีหนังสือเเจ้งการประเมิน ( ภ.บ.ท.9 หรือ ภ.บ.ท.10 )
ไปยังที่อยู่ของเจ้าของที่ดิน โดยให้
ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือน
เมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน
นับเเต่วันที่ได้รับเเจ้งการประเมินหลังจากเดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยชำระได้ที่ ฝ่ายการคล้ง ของสำนักงานเขตทุกเขต หรือที่กองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ( เสาชิงช้า )
หรือชำระผ่านช่องทางอี่น ๆ เช่น เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา เเละชำระผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นต้น