คลองโอ่งอ่าง
ประวัติคลองโอ่งอ่าง
คลองโอ่งอ่าง เป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2326 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชื่อมต่อกับคลองบางลำพูบริเวณปากคลองมหานาค สิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าก่อนจะออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตคลองโอ่งอ่างเป็นชุมชนค้าขายริมคลองที่มีเรือแล่นพลุกพล่าน เป็นแหล่งค้าขายโอ่ง เครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญและชาวจีน จึงเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่งอ่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2519 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์
คลองโอ่งอ่างและสะพานหันสมัยรัชกาลที่ 5
การค้าขายบริเวณคลองโอ่งอ่างในอดีต
เมื่อปีพ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานครได้จัดสัมปทานให้เอกชนในการบริการจัดการพื้นที่การค้า เป็นระยะเวลา 10 ปี ในเวลานี้ได้มีการรุกล้ำก่อสร้างโครงสร้างเหล็กปิดทับคลองสร้างเป็นร้านค้าขายสินค้าประเภทของเล่นและเกมต่างๆ กว่า 500 ร้านค้า ย่านการค้าบริเวณนี้จึงเป็นที่เรียกติดปากว่า “ตลาดสะพานเหล็ก” แต่เมื่อหมดสัญญาพ่อค้าแม่ค้าก็ยังคงทำมาค้าขายอยู่ในพื้นที่มาโดยตลอด ไม่ได้ย้ายออกไปด้วย
ก่อนปรับปุรงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะจัดระเบียบผู้ค้าสะพานเหล็ก โดยได้มีจดหมายไปถึงกลุ่มผู้ค้าสะพานเหล็กให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออก แต่ก็ติดขัดด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการ รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และร้านค้าที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่างทั้งหมด ตามมติคณะคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และย่านเมืองเก่า โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ คืนพื้นที่คลองประวัติศาสตร์และพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน รวมไปถึงพัฒนาระบบการระบายน้ำให้ดีขึ้น ซึ่งร้านค้าต่างๆ ที่รื้อย้ายออกไปนั้น ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเช่าพื้นที่ห้างเมก้า พลาซ่า (Mega Plaza) ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลองโอ่งอ่าง ถนนมหาไชย เพื่อทำการค้าต่อไป
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
สำนักการระบายน้ำดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสภาพแวดล้อม บริเวณคลองโอ่งอ่าง
ตั้งแต่สะพานดำรงสถิตถึงสะพานโอสถานนท์ ความยาว 750 ม. รวม 2 ฝั่ง ความยาว 1,500 ม. ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2562
ภาพคลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2563 – 2564
ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา คลองโอ่งอ่างได้มีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับปรุงทางเท้าในปี พ.ศ. 2562 ที่มีการติดตั้ง “ฝาท่อลายศิลป์” ช่วงสะพานดำรงสถิตถึงสะพานโอสถานนท์
ฝาท่อลายศิลป์ ทั้ง 2 ฝั่งริมคลองโอ่งอ่าง จำนวน 5 ฝา
ฝั่งเขตพระนคร ฝาท่อลาย 1.คลองโอ่งอ่าง 2.พาหุรัด 3.พระนคร
ฝั่งเขตสัมพันธวงศ์ ฝาท่อลาย 1.สวัสดี 2.สัมพันธวงศ์
และในปี พ.ศ. 2563 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ บริษัทอุไรพาณิชย์ และ ATM Spray จัดทำโครงการ "ATM SPRAY X โอ่งอ่าง STREET ART" สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ริมคลองโอ่งอ่างด้วยการวาดภาพสตรีทอาร์ทบริเวณกำแพงทางเดินริมคลอง ช่วงสะพานภานุพันธ์ถึงสะพานดำรงสถิตย์ ให้ชุมชนย่านคลองโอ่งอ่างให้สวยงามขึ้นด้วยผลงานศิลปะโดยสะท้อนอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน โดยมีศิลปินร่วมสมัย ศิลปินกราฟิตี้ และศิลปินสตรีทอาร์ตระดับแนวหน้าของเมืองไทย อาทิ ALEX FACE/ BIGDEL/ PAKORN & ASIN/BONUS TMC/ MAUY & MSV/ อะไหล่/JOKER EB และศิลปินกลุ่ม Happening ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนกำแพง ทั้ง 2 ฝั่งคลองโอ่งอ่าง
สตรีทอาร์ต
ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีความสวยงาม เปิดโล่งจนสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลองที่เรียงกัน 5 สะพาน คือ สะพานดำรงสถิต สะพานภาณุพันธุ์ สะพานหัน สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนนท์ ได้อย่างชัดเจน และทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 16.00-22.00 น. กรุงเทพมหานครได้จัดให้มีกิจกรรม “ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง” ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานบพิตรพิมุข ซึ่งมีร้านขายของมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้มาเลือกซื้อของกิน ของใช้ ของเล่นต่างๆ รวมทั้งรับชมการแสดงที่มีให้ชมตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ประจำคลองโอ่งอ่าง นั่นก็คือการพายเรือคายัค ล่องชมความงดงามของคลองโอ่งอ่าง โดยกรุงเทพมหานครได้จัดหาเรือคายัคไว้บริการ รอบละ 30 นาที สามารถรับบัตรคิวที่ท่าน้ำหน้าร้านสะพานเหล็กสแควร์ (สตรีทอาร์ต เหล่ากองทัพการ์ตูน) ฝั่งพระนคร ใกล้สะพานดำรงสถิต รับคิวสุดท้ายที่เวลา 20.00 น. ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นอีกแหล่ง
ท่องเที่ยวที่หลายๆ คนต้องมาเช็กอิน
ภาพคลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2563 - 2564
สถานที่ใกล้เคียงที่น่าสนใจ
หากจะหาที่เย็นๆ ดับร้อน หลังจากเดินคลองโอ่งอ่างกันจนอิ่มหนำแล้ว ก็สามารถมานั่งดื่มกาแฟ พร้อมชมภาพวาดสวยๆ ได้ที่ ร้าน KAJA GALLERY CAFE “คช แกลลอรี่ คาเฟ่” คาเฟ่เปิดใหม่ ในตึกเก่าสไตล์วิคตอเรียน อายุกว่าร้อยปี ตกแต่งเน้นโทนสีส้มอิฐ ตัดด้วยสีเทาให้ดูโดดเด่นมากขึ้น บรรยากาศโคซี่ สบายๆ หลบหลีกความวุ่นวายจากด้านนอก https://www.facebook.com/kajagallerycafe
ร้าน KAJA GALLERY CAFE “คช แกลลอรี่ คาเฟ่”
ร้านอาหารอินเดีย “MAMA Restaurant” เปิดมานานกว่า 20 ปี
ร้านอาหาร
ตลอดแนวคลองโอ่งอ่าง ฝั่งเขตพระนคร ตั้งแต่ช่วงสะพานหัน ถึง สะพานบพิตรพิมุข จะมีร้านอาหารอยู่หลายร้านเลยทีเดียว อาทิ ร้านก๋วยเตี๋ยว ต.โชคชัย ร้านมาม่า เรสเตอรองท์ ร้านลิตเติ้ล ภูฎาน ร้านรอยัลอินเดีย และร้านโทนี่
การเดินทาง
1. การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว สามารถจอดรถได้ที่
- ศูนย์การค้า ดิ โอลด์ สยาม ในอัตราชั่วโมงละ 10 บาท (ตั้งแต่เวลา 18.00 น. - 24.00น.) และเดินจากศูนย์การค้าฯ ฝั่งถนนบูรพามายังถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างได้ในระยะทางประมาณ 300 เมตร
- โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ ในอัตราชั่วโมงละ 40 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081 207 7552
2. การเดินทางโดยรถประจำทางสาธารณะ สาย 1, 21, 82, 53, 43 ฯลฯ
3. การเดินทางโดย MRT ลงสถานีสามยอด เดินต่อมาอีกประมาณ 100 เมตร
--------------------------------------
แบบสอบถามความพึงพอใจของการใช้งานเว็บไซต์ Insight Pranakorn
คลองโอ่งอ่าง เป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2326 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชื่อมต่อกับคลองบางลำพูบริเวณปากคลองมหานาค สิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าก่อนจะออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตคลองโอ่งอ่างเป็นชุมชนค้าขายริมคลองที่มีเรือแล่นพลุกพล่าน เป็นแหล่งค้าขายโอ่ง เครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญและชาวจีน จึงเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่งอ่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2519 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์
คลองโอ่งอ่างและสะพานหันสมัยรัชกาลที่ 5
การค้าขายบริเวณคลองโอ่งอ่างในอดีต
เมื่อปีพ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานครได้จัดสัมปทานให้เอกชนในการบริการจัดการพื้นที่การค้า เป็นระยะเวลา 10 ปี ในเวลานี้ได้มีการรุกล้ำก่อสร้างโครงสร้างเหล็กปิดทับคลองสร้างเป็นร้านค้าขายสินค้าประเภทของเล่นและเกมต่างๆ กว่า 500 ร้านค้า ย่านการค้าบริเวณนี้จึงเป็นที่เรียกติดปากว่า “ตลาดสะพานเหล็ก” แต่เมื่อหมดสัญญาพ่อค้าแม่ค้าก็ยังคงทำมาค้าขายอยู่ในพื้นที่มาโดยตลอด ไม่ได้ย้ายออกไปด้วย
ก่อนปรับปุรงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะจัดระเบียบผู้ค้าสะพานเหล็ก โดยได้มีจดหมายไปถึงกลุ่มผู้ค้าสะพานเหล็กให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออก แต่ก็ติดขัดด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการ รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และร้านค้าที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่างทั้งหมด ตามมติคณะคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และย่านเมืองเก่า โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ คืนพื้นที่คลองประวัติศาสตร์และพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน รวมไปถึงพัฒนาระบบการระบายน้ำให้ดีขึ้น ซึ่งร้านค้าต่างๆ ที่รื้อย้ายออกไปนั้น ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเช่าพื้นที่ห้างเมก้า พลาซ่า (Mega Plaza) ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลองโอ่งอ่าง ถนนมหาไชย เพื่อทำการค้าต่อไป
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
ภาพการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2558
สำนักการระบายน้ำดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสภาพแวดล้อม บริเวณคลองโอ่งอ่าง
ตั้งแต่สะพานดำรงสถิตถึงสะพานโอสถานนท์ ความยาว 750 ม. รวม 2 ฝั่ง ความยาว 1,500 ม. ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2562
ภาพคลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2563 – 2564
ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา คลองโอ่งอ่างได้มีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับปรุงทางเท้าในปี พ.ศ. 2562 ที่มีการติดตั้ง “ฝาท่อลายศิลป์” ช่วงสะพานดำรงสถิตถึงสะพานโอสถานนท์
ฝาท่อลายศิลป์ ทั้ง 2 ฝั่งริมคลองโอ่งอ่าง จำนวน 5 ฝา
ฝั่งเขตพระนคร ฝาท่อลาย 1.คลองโอ่งอ่าง 2.พาหุรัด 3.พระนคร
ฝั่งเขตสัมพันธวงศ์ ฝาท่อลาย 1.สวัสดี 2.สัมพันธวงศ์
และในปี พ.ศ. 2563 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ บริษัทอุไรพาณิชย์ และ ATM Spray จัดทำโครงการ "ATM SPRAY X โอ่งอ่าง STREET ART" สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ริมคลองโอ่งอ่างด้วยการวาดภาพสตรีทอาร์ทบริเวณกำแพงทางเดินริมคลอง ช่วงสะพานภานุพันธ์ถึงสะพานดำรงสถิตย์ ให้ชุมชนย่านคลองโอ่งอ่างให้สวยงามขึ้นด้วยผลงานศิลปะโดยสะท้อนอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน โดยมีศิลปินร่วมสมัย ศิลปินกราฟิตี้ และศิลปินสตรีทอาร์ตระดับแนวหน้าของเมืองไทย อาทิ ALEX FACE/ BIGDEL/ PAKORN & ASIN/BONUS TMC/ MAUY & MSV/ อะไหล่/JOKER EB และศิลปินกลุ่ม Happening ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนกำแพง ทั้ง 2 ฝั่งคลองโอ่งอ่าง
สตรีทอาร์ต
ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีความสวยงาม เปิดโล่งจนสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลองที่เรียงกัน 5 สะพาน คือ สะพานดำรงสถิต สะพานภาณุพันธุ์ สะพานหัน สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนนท์ ได้อย่างชัดเจน และทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 16.00-22.00 น. กรุงเทพมหานครได้จัดให้มีกิจกรรม “ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง” ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานบพิตรพิมุข ซึ่งมีร้านขายของมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้มาเลือกซื้อของกิน ของใช้ ของเล่นต่างๆ รวมทั้งรับชมการแสดงที่มีให้ชมตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ประจำคลองโอ่งอ่าง นั่นก็คือการพายเรือคายัค ล่องชมความงดงามของคลองโอ่งอ่าง โดยกรุงเทพมหานครได้จัดหาเรือคายัคไว้บริการ รอบละ 30 นาที สามารถรับบัตรคิวที่ท่าน้ำหน้าร้านสะพานเหล็กสแควร์ (สตรีทอาร์ต เหล่ากองทัพการ์ตูน) ฝั่งพระนคร ใกล้สะพานดำรงสถิต รับคิวสุดท้ายที่เวลา 20.00 น. ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นอีกแหล่ง
ท่องเที่ยวที่หลายๆ คนต้องมาเช็กอิน
ภาพคลองโอ่งอ่าง ปี พ.ศ. 2563 - 2564
สถานที่ใกล้เคียงที่น่าสนใจ
หากจะหาที่เย็นๆ ดับร้อน หลังจากเดินคลองโอ่งอ่างกันจนอิ่มหนำแล้ว ก็สามารถมานั่งดื่มกาแฟ พร้อมชมภาพวาดสวยๆ ได้ที่ ร้าน KAJA GALLERY CAFE “คช แกลลอรี่ คาเฟ่” คาเฟ่เปิดใหม่ ในตึกเก่าสไตล์วิคตอเรียน อายุกว่าร้อยปี ตกแต่งเน้นโทนสีส้มอิฐ ตัดด้วยสีเทาให้ดูโดดเด่นมากขึ้น บรรยากาศโคซี่ สบายๆ หลบหลีกความวุ่นวายจากด้านนอก https://www.facebook.com/kajagallerycafe
ร้าน KAJA GALLERY CAFE “คช แกลลอรี่ คาเฟ่”
ร้านอาหารอินเดีย “MAMA Restaurant” เปิดมานานกว่า 20 ปี
ร้านอาหาร
ตลอดแนวคลองโอ่งอ่าง ฝั่งเขตพระนคร ตั้งแต่ช่วงสะพานหัน ถึง สะพานบพิตรพิมุข จะมีร้านอาหารอยู่หลายร้านเลยทีเดียว อาทิ ร้านก๋วยเตี๋ยว ต.โชคชัย ร้านมาม่า เรสเตอรองท์ ร้านลิตเติ้ล ภูฎาน ร้านรอยัลอินเดีย และร้านโทนี่
การเดินทาง
1. การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว สามารถจอดรถได้ที่
- ศูนย์การค้า ดิ โอลด์ สยาม ในอัตราชั่วโมงละ 10 บาท (ตั้งแต่เวลา 18.00 น. - 24.00น.) และเดินจากศูนย์การค้าฯ ฝั่งถนนบูรพามายังถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างได้ในระยะทางประมาณ 300 เมตร
- โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ ในอัตราชั่วโมงละ 40 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081 207 7552
2. การเดินทางโดยรถประจำทางสาธารณะ สาย 1, 21, 82, 53, 43 ฯลฯ
3. การเดินทางโดย MRT ลงสถานีสามยอด เดินต่อมาอีกประมาณ 100 เมตร
--------------------------------------
แบบสอบถามความพึงพอใจของการใช้งานเว็บไซต์ Insight Pranakorn