การศึกษาดูงานต่างจังหวัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรบริหารการพยายาลด้านบริหารอนามัยรุ่นที่ 22 วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เข้าศึกษาดูงาน ณ ณ โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
17 กรกฎาคม 2567
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร นำทีมโดยแพทย์หญิงดวงพร ปิณจีเสคิกุล รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผอ.มนภรณ์ วิทยาวงศรุจิ
ผู้อำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข และทีมดำเนินงานจากกองการพยาบาลสาธารณสุข นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล
(ด้านบริหารอนามัย) รุ่นที่ 22 เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้มาตรฐานแบบครบวงจร”
ได้รับเกียรติจากคณะตอนรับโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฏร์ธานี
นำโดยแพทย์หญิงฟ้าใส ภักดิกมล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์
นางเปรมฤดี ทิพย์ชิต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล
นางนภาภรณ์ ศรีสิทธิพรหม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล
และทีมหัวหน้ากลุ่มงานให้การตอนรับอย่างอบอุ่น
มีการนำเสนอนโยบายและโครงสร้างโรงพยาบาลในภาพรวม เน้นการให้บริการ Colposcopy one stop service การบริการ DMS Telemedicineและให้การบริการ
ในเชิง Primary prevention โดยการส่งตรวจยีน BRCA1 & BRCA2 ในกุลุ่มผู้หญิงอายุ25 ปีขึ้นไปเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม การบริการในเชิง Secondary
prevention : ให้บริการOne-Day-Sergery (ODS)for colonoscopy ในเชิง Tertiary prevention treatment มีการรักษาในหลายวิธี เช่น รังสีรักษา รังสีร่วมรักษา
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น และงานPallative Care ในส่วนบทบาทการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย แบบ Pallative Care ได้มีการดูแลเพื่อประคับประครอง
ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีการทำ Advance Care Plan(ACP) ร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว มีการดูงาน
ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต(Intergrative Cancer Care Unit) เน้นให้ผู้ป่วยเป็นคนเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการดูแลตนเองมากที่สุด มีการบริการ Telemedicine
หรือ Telenurse
เพื่อเป็นทางเลือกตามความสะดวกของผู้ป่วย มีบ้านเปี่ยมสุขให้บริการสำหรับผู้ป่วยนอนบ้านไกล มาลำบากเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและการรักษาที่ต่อเนื่อง
ดูงานระบบศูนย์ส่งต่อ ในการรับและประสานงานเครือข่ายเพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง ครั้งนี้เพื่อให้คณะผู้เข้าอบรมมีความรู้ความสามารถและการทำงานแบบใช้องค์รวม
ที่จะสามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการศึกษาดูงานครั้งนี้
ผู้เข้ารับสามารถเพื่อนำความรู้เรื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้มาตรฐานแบบครบวงจร โดยเฉพาะบทบาทการดูและผู้ป่วย Palitive careแบบองค์รวม
สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป