การให้คำปรึกษา (Conseling)

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564
image

การให้คำปรึกษา (Conseling)


          การปฏิบัติงานโดยปกติทั่วไปอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมงาน  ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือปัญหาระหว่างหน่วยงาน ซึ่งปัญหา เหล่านี้อาจนำมาซึ่งความเครียด ความวิตกกังวลกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น การให้คำปรึกษาหารือ Counseling เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสบายใจขึ้น ประโยชน์ของการให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้มารับคำปรึกษาเกิดการปรับตน เพราะในการปรับตนหรือปรับพฤติกรรม ถ้าบุคคลนั้นไม่ให้ความร่วมมือก็จะเป็นไปได้ยาก

          การให้คำปรึกษามีประโยชน์ดังนี้

          1. ช่วยให้ผู้มารับคำปรึกษาได้มีโอกาสระบายความในใจ

          2. ช่วยให้ผูัรับคำปรึกษาได้รู้จักตนเอง

          3. ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษารู้จักรวบรวมข้อมูล

          4. ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดการตัดสินใจด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น

          5. ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาการปรับตน เพราะในการปรับตนหรือปรับพฤติกรรม ถ้าบุคคลนั้นไม่ให้ความร่วมมือก็จะเป็นไปได้ยากไปจากที่เคยเป็น เมื่อพิจารณาที่ตนเหตุที่แท้จริงแล้ว เราอาจจะพบว่าสาเหตุของพฤติกรรมนั้น อาจเกิดจากภาวะร่างกายที่เจ็บป่วย อาจมีปีญหาการ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมไม่ได้ หรืออาจมีปัญหาเกี่ยวกับจิตใจ เช่น อกหักหรือมีปัญหากับคนรัก หรือ มีญาติที่รักเสียชีวิต เป็นตน ซึ่งสาเหตุจากร่างกาย จิตใจ และสังคมนี้ก็มีความสัมพันธ์และส่งผลซึ่งกันและกันได้

Cr. ข้อมูลโดยกลุ่มงานบริหารค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิต
ส่วนพัฒนาระบบบริหาร กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงาน ก.ก.