วิสัยทัศน์
สภาพแวดล้อมสดใส  บุคลกรเต็มใจให้บริการ
ทุกภาคส่วนร่วมพัฒนา  นำประชาสู่ความเข้มแข็ง


คำขวัญประจำเขต
วัดหลักสี่งามวิจิตร  แหล่งผลิตว่าวไทย
เลื่องลือไกลหัวโขน  งามน่ายล เขตหลักสี่


ตราสัญลักษณ์ประจำสำนักงานเขตหลักสี่

 

ดาวโหลดตราสัญลักษณ์



เป้าประสงค์การพัฒนา
1. ประชาชนมีวินัยจราจร มีทางเชื่อม ตรอก ซอย และเส้นทางลัดที่เดินทางสะดวก ไม่แออัด
2. มีสภาพแวดล้อมที่ดีปริมาณมลพิษลดลง ประชาชนร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาภาคบังคับได้ทั่วถึงและได้มาตรฐาน
4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีจิตสำนึกในการรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. มีสภาพภูมิทัศน์เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปตามผังเมือง
6. การบริหารจัดการโปร่งใสมีประสิทธิภาพให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วม
7. ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัย สะดวก และรวดเร็ว
8. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


ประวัติความเป็นมา
         เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของ สานักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของ สานักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและ จัดตั้งเขตหลักสี่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต
          ที่มาของชื่อเขต ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่าง ๆที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกาหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้นได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอาเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “บ้านหลักสี่” ซึ่งชื่อหลักสี่นี้ ได้นามาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่สถานีรถไฟหลักสี่ และ สี่แยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตและถนนแจ้งวัฒนะ)


ที่ตั้งอาคารสำนักงาน
เลขที่ 999 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210


พื้นที่อาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฝั่งพระนคร
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากร และคลองวัดหลักสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตจตุจักร มีคลองบางเขนและคลองลาดยาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองนนทบุรี และ นครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต 


การแบ่งเขตการปกครอง                  
เขตหลักสี่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. แขวงทุ่งสองห้อง (Thung Song Hong)
2. แขวงตลาดบางเขน (Talat Bang Khen)
                โดยแบ่งตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน    เขตหลักสี่ ได้ใช้ คลองเปรมประชากร ฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวงดังกล่าว 


ข้อมูลพื้นที่/ประชากร (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2565)

พื้นที่ชายหญิงรวม
ยอดรวมทั้งหมด47,74152,619100,360
แขวงทุ่งสองห้อง35,37937,96273,341
แขวงตลาดบางเขน12,36214,65727,019




ถนนในพื้นที่
ถนนสายหลัก มีจำนวน  3 สาย ได้แก่
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31)
- ถนนงามวงศ์วาน (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)
- ถนนแจ้งวัฒนะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304)
ถนนสายรองและถนนเส้นทางลัด มีจำนวน  8 สาย ได้แก่
- ถนนกำแพงเพชร 6  - ถนนโกสุมรวมใจ
- ถนนพิงคนคร   - ถนนชินเขต 
- ถนนแสนหวี   -   ถนนชิดชน
- ถนนน่านเจ้าพิงคนคร   - ถนนซอยบางบัว


ศาสนสถานในพื้นที่เขตหลักสี่
      วัด  จำนวน  1  แห่ง  คือ วัดหลักสี่พระอารามหลวง


สถานพยาบาล
   สถานพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง
- โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 


ห้างสรรพสินค้า และ ตลาด
ห้างสรรพสินค้า จำนวน  4 แห่ง ได้แก่
  - เทสโก้ โลตัส แจ้งวัฒนะ
  - บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ
  - ไอที สแควร์
  - ดิ อเวนิว แจ้งวัฒนะ
ตลาด จำนวนรวม  4  แห่ง ได้แก่
  - ตลาดเมืองทอง
  - ตลาดพงษ์เพชร
  - ตลาดเคหะทุ่งสองห้อง
  - ตลาดชินมณี